WHO จับตาใกล้ชิด 'โรคเอ็กซ์' กำลังระบาด

27 ม.ค. 2566 – ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) กำลังเฝ้าติดตามการระบาดของ “โรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงในหมู่บ้าน “ปามีร์ คาลัน (Pamir Kalan) ในจังหวัดบาดัคชาน (Badakhshan) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน โดย WHO ได้กำหนดให้มีการรับมือภายใต้โค้ดเนม “โรคเอ็กซ์”

WHO ระบุว่าขณะนี้มีผู้ติดเชื้อโดยไม่ทราบสาเหตุว่าเป็นจุลชีพหรือไวรัสประเภทใดจำนวน 97 ราย ในหมู่บ้านปามีร์ คาลัน เสียชีวิตแล้ว 17 ราย

WHO ได้ประสานให้ความช่วยเหลือครอบครัวที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็กในหมู่บ้านดังกล่าวที่เข้าถึงลำบากเนื่องจากสภาพอากาศที่เลวร้าย หิมะตกหนักทำให้ “ทีมเผชิญเหตุ” ยังไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ แต่ยาและเวชภัณฑ์ได้ถูกส่งไปยังพื้นที่ระบาดล่วงหน้าแล้ว

WHO ได้เตรียมแผนรับมือโรคเอ็กซ์ (disease X) เป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 “โรคเอ็กซ์” หมายถึงโรคติดเชื้อจากบรรดาจุลชีพหรือไวรัสก่อโรคที่เราไม่รู้จัก หรือยังรู้จักไม่เพียงพอซึ่งมีศักยภาพในการก่อให้เกิดโรคระบาดร้ายแรงระหว่างประเทศได้ โดย WHO เร่งอัปเดตรายชื่อเชื้อโรคที่สำคัญที่สามารถทำให้เกิดการระบาดและโรคระบาดทั่วโลก และประเทศต่างๆ ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดย WHO ได้รวม “โรคเอ็กซ์” ไว้ในรายการด้วย

รายการนี้เผยแพร่ครั้งแรกในปี 2560 และจัดลำดับความสำคัญครั้งสุดท้ายในปี 2561 รายชื่อปัจจุบันประกอบด้วย

โควิด-19, ไข้เลือดออกไครเมียคอง, โรคไวรัสอีโบลาและโรคไวรัสมาร์บวร์ก, ไข้ลาสซา, โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS) และ โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS), โรคนิปาห์และโรคเฮนิปาไวรัส, ไข้ริฟต์วัลเลย์, ซิกา และ “โรค X”

WHO กำลังเร่งปรับปรุงรายชื่อเพื่อเป็นแนวทางให้ทั่วโลกทั้งภาครัฐ เอกชน และ NGO ร่วมกันลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ล่วงหน้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวัคซีน การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ และการรักษา เพื่อจะผลิตภัณฑ์ใช้ได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดการระบาด

กระบวนการอัปเดตเริ่มต้นเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2565 โดยอาศัยนักวิทยาศาสตร์กว่า 300 คนทั่วโลกมาร่วมกันวิเคราะห์หลักฐานเกี่ยวกับตระกูลไวรัสและแบคทีเรียมากกว่า 24 ตระกูล มุ่งเน้นไปที่สายพันธุ์ที่ยังไม่มียารักษา ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกัน เป็นอันดับแรก

รายการเชื้อโรคที่สำคัญนี้ได้กลายเป็นจุดอ้างอิงสำหรับนักวิจัยทั่วโลกว่าควรมุ่งเน้นสรรพกำลังเพื่อจัดการกับภัยคุกคามต่อประชาชนในระดับพื้นที่

ปัจจุบันมีไวรัสไม่น้อยกว่า 320,000 ชนิดที่แพร่ติดต่ออยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่ไวรัสที่พบติดต่อและก่อโรคในมนุษย์มีเพียง “219 ชนิด” หรือเป็นเพียง “ร้อยละ 0.06” อันหมายถึงยังมีไวรัสอีกมากจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พร้อมจะแพร่ติดต่อข้ามมาสู่คนหากมีโอกาสเหมาะ

ในส่วนของศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี ได้เตรียมพร้อมถอดรหัสพันธุ์จาก ทั้งดีเอ็นเอ และ อาร์เอ็นเอ ที่สกัดได้จากสิ่งส่งตรวจประเภทต่างๆ จากผู้ติดเชื้อที่คาดว่าเป็น “โรคเอ็กซ์” รวมทั้งจากสิ่งแวดล้อม จากนั้นนำมาวิเคราะห์เพื่อหาว่าเป็นจุลชีพหรือไวรัสสายพันธุ์ใดจากสิ่งส่งตรวจให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งสัปดาห์ เพื่อตอบโจทย์ของ “โรคเอ็กซ์”

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม โรคเอ็กซ์ (disease X) คืออะไร และเหตุใดองค์การอนามัยโลกจึงเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด?
https://www.facebook.com/CMGrama/posts/pfbid0FN32964s9hrSWouew2F3mEDMN6qr2wHGHp2ivA6B5AkgJ3kW84wwgKVYHnoJ7fN6l

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน

การร่วมต่อสู้กับการกดขี่สตรีเพศชาวอัฟกานิสถานของ ‘เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์’

ไปไม่ถึงการศึกษาระดับสูง ไม่มีสิทธิออกเสียง - กลุ่มตอลิบานจงใจจำกัดชีวิตของสตรีในอัฟกานิสถาน ด้วยภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ‘

'นีลา อิบราฮิมิ' นักเคลื่อนไหวชาวอัฟกานิสถานได้รับรางวัล Children‘s Peace Prize

นีลา อิบราฮิมิ นักเคลื่อนไหวชาวอัฟกานิสถานวัย 17 ปี ซึ่งเป็นที่รู้จักจากผลงานของเธอในการต่อต้านการกดขี่สตรีโดย