'หมอยง' สรุป 2 ปี การให้วัคซีนโควิดของไทย

26 ธ.ค. 2565 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 เราให้วัคซีน เกือบ 2 ปีแล้ว

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ชัดเจนอย่างยิ่ง วัคซีนสามารถลดความรุนแรงของโรค ลดการป่วยตายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้

ประสิทธิภาพของวัคซีนจะเกิดขึ้น จะต้องได้วัคซีนอย่างน้อย 3 เข็มขึ้นไป และเมื่อกาลเวลายิ่งห่าง เข็มที่ 4 จึงมีความจำเป็น เพราะระดับภูมิต้านทานลดต่ำตามกาลเวลา

ขณะนี้เราให้วัคซีนไปประมาณ 150 กว่าล้านโดส และยังมีจำนวนมาก ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบ 3 เข็ม

ในทางปฏิบัติไม่ต้องคำนึงถึงผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่ ขอให้ทุกคนควรได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม

ในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอเปราะบาง เช่น นอนติดเตียง สูงอายุมากๆ มีโรคประจำตัวเรื้อรัง โรคไต โรคมะเร็ง โรคปอดโรคหัวใจ หรือกินยากดภูมิต้านทาน ควรได้รับวัคซีนต่อไป จะเป็นเข็ม 4 หรือเข็ม 5 ก็ได้ เพื่อรักษาระดับภูมิต้านทานที่ลดลง ป้องกันความรุนแรงของโรค

ในคนที่แข็งแรงดีเช่นเด็กหนุ่มสาว จะฉีด 3 เข็มก็ไม่ว่ากัน

จากการศึกษาในสถานการณ์จริงที่เชียงใหม่ และหลายสถานที่ มีข้อมูลชัดเจนอัตราการเสียชีวิตขึ้นอยู่กับจำนวนเข็มของวัคซีนที่ฉีด ในผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 4 เข็ม แทบจะไม่มีผู้ที่เสียชีวิตเลย ตรงข้ามผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ หรือมีอาการหนัก จะเป็นผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับวัคซีนไม่ครบ 3 เข็ม

ในกรณีที่ร่างกายอ่อนแอมากๆ และหรือกินยากดภูมิต้านทาน ภูมิต้านทานสำเร็จรูป LABB ก็มีให้ใช้ในการใช้ป้องกันโรคหรือรักษา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งที่ค่ายาแพงมาก ขวดละประมาณ 30,000 บาท ถ้าใช้รักษาต้องใช้ถึง 2 ขวด ทางกระทรวงสาธารณสุขจัดให้ฟรีอยู่แล้วในผู้มีข้อบ่งชี้ดังกล่าว

ชีวิตที่ต้องเดินหน้าไปกับโรคโควิด ก็ต้องรู้จักปกป้องตนเองไม่ให้เกิดอันตรายร้ายแรง และเป็นภาระกับระบบสาธารณสุข.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน

ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า