ปลดล็อกเที่ยวแปลงผักปลอดสารพิษของม.มหิดล

วิกฤติ COVID-19 ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ได้อยู่ติดบ้าน และได้ริเริ่มลองทำอะไรหลายอย่างที่ไม่เคยคิดว่าจะมีเวลาได้ทำเช่น ออกกำลังกาย ทำอาหารคลีน หรืออาหารเพื่อสุขภาพไว้รับประทานเอง เพื่อการดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ จะได้มีภูมิคุ้มกันต่อโรค ไม่ติดเชื้อและป่วยง่าย

ชีวิตที่ติดออนไลน์ ต้อง Work From Home กันมาเป็นเวลายาวนาน จะดีแค่ไหน หากได้ปลดล็อกตัวเองวางแผนเที่ยวสำหรับใครที่อยู่ไม่ไกลจากศาลายา จังหวัดนครปฐม หากชอบเที่ยวแนวเพื่อสุขภาวะ อาจเริ่มจากไปเที่ยวแปลงผักปลอดสารพิษ (Organic Farm) ที่อยู่ข้างอาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดลที่แห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยวัตถุดิบที่สามารถนำไปใช้ประกอบอาหารคลีน จากนานาพืชผักอินทรีย์บนแปลงเกษตรซึ่งเปรียบเหมือน "ครัวธรรมชาติ" ของประชาคมมหาวิทยาลัยมหิดล และชาวชุมชนศาลายา ซึ่งสามารถตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ(SDGs) ข้อที่ 15 ที่ว่าด้วยการพัฒนาชีวิตบนบกให้สมบูรณ์และยั่งยืน (Live On Land) ได้เป็นอย่างดี

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ เพียงกว่า 20 กิโลเมตร หากใช้ถนนบรมราชชนนีเป็นเส้นทางหลักจะใช้เวลาประมาณ 30 - 45 นาที ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจรรถประจำทางสายที่วิ่งผ่าน เมื่อเข้ามาในรั้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา แล้ว สามารถจอดรถได้ที่อาคารจอดรถศูนย์ประชุมมหิดลสิทธาคาร เพื่อแวะจิบกาแฟ หรือเลือกจอดรถฟรีได้ตาม Park ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จากนั้นสามารถรอขึ้นรถรางฟรีได้ตามจุดต่างๆ ที่กำหนด ซึ่งรถรางสายที่ผ่านร้านผักปลอดสารพิษ ได้แก่ สายสีแดง และสายสีน้ำเงิน

จากพื้นที่ว่างอาณาเขต 4 ไร่ ที่มีผืนดินซึ่งเต็มไปด้วยเศษวัสดุก่อสร้าง เมื่อประมาณปี 2551 หรือเมื่อ 13 ปีที่แล้ว ในยุคแรกเริ่มของการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยมหิดล สู่การเป็น"มหาวิทยาลัยสีเขียว" เช่นในปัจจุบัน ด้วยการริเริ่มปลูกผักปลอดสารพิษ โดยใช้ปุ๋ยและสารสกัดจากธรรมชาติปราบศัตรูพืช ได้ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นที่พึ่งพิงและเพื่อสุขภาวะของชาวมหาวิทยาลัยมหิดล และชาวชุมชนศาลายาอย่างแท้จริงถึงปัจจุบัน

การส่งเสริมปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์ นอกจากไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อสุขภาพทั้งผู้ปลูกและผู้กินแล้ว รวมทั้งยังทำให้ช่วงเวลาที่ต้องอยู่บ้านในช่วงสถานการณ์ COVID-19ได้กลายเป็นเป็นช่วงเวลาดีๆ ของครอบครัว ที่ให้สมาชิกในครอบครัวได้มีโอกาสร่วมด้วยช่วยกันปลูกผัก และหากบ้านใดที่มีเด็กเล็กๆ การให้เด็กได้มีส่วนช่วยครอบครัวปลูกและดูแลผัก ตลอดจนได้ร่วมลองทำเมนูใหม่ๆ จากผักด้วยตัวเองจะเป็นการปลูกฝังให้เด็กชอบกินผัก ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพของเด็กได้ต่อไปในระยะยาว ถือเป็น "ของขวัญ" จากพ่อแม่ที่ประเมินค่าไม่ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ในผู้สูงวัยที่พบปัญหากระดูกเปราะบาง แตกหักง่าย จากการขาดวิตามิน และแคลเซียม การกินผักซึ่งอุดมไปด้วยวิตามิน และแคลเซียม ร่วมกับการออกกำลังกายโดยพอประมาณ และการได้รับแสงแดดอย่างสม่ำเสมอในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกตลอดจนช่วยชะลอการเสื่อมของกระดูกได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ไอซ์-โอม-เล้ง' รวมพลังช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาส เนื่องในวันมหิดล

แฟนๆห้ามพลาด ไอซ์-ศรัณยู วินัยพานิช ศิลปินจีเอ็มเอ็ม มิวสิค โอม-ภวัต จิตต์สว่างดี และ เล้ง-ธนพล อู่สินทรัพย์ นักแสดงจีเอ็มเอ็มทีวี ชวนมาร่วมทำบุญ ในงานแถลงข่าว 24 กันยายน “วันมหิดล” ศิลปินรวมใจช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาส รพ.ศิริราช

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ แท็กทีม ศิลปิน-ดีเจ. ชวนคนไทยสมองดีด้วยการออกกำลังกาย

พลพล-ทชภณ พลกองเส็ง แท็กทีมศิลปินจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ไอซ์-ศรัณยู วินัยพานิช, จา สิงห์ชัย และ ไตเติ้ล-ธนธัช ทิพย์จักษุ พร้อมด้วย มิ้ลค์-พรรษา วอสเบียน, เลิฟ-ภัทรานิษฐ์ ลิ้มปติยากร นักแสดงจาก จีเอ็มเอ็มทีวี และ ดีเจ.เคเบิ้ล-ติณณภพ ผดุงธรรม, ดีเจ.เอไทม์ มีเดีย ร่วมใจชวนคนไทยใส่ใจสุขภาพสมองผ่านกิจกรรม “เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10

คอแจ๊สเตรียมเจอกัน! TIJC 2024 งานแจ๊สเพียวๆ ที่มีอัตลักษณ์แบบ Real Jazz

นับตั้งแต่ปี 2009 ที่งาน เทศกาลดนตรีแจ๊สนานาชาติ เพื่อการเรียนรู้ Thailand International Jazz Conference- TIJC2024 ได้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนวงการดนตรีแจ๊สในประเทศไทย