โอมิครอนลูกผสม 'XBB.1.5' สายพันธุ์ที่ทั่วโลกกังวลมากสุด!

19 ธ.ค. 2565 – ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ว่า โควิด-19 สายพันธุ์อุบัติใหม่ที่ “น่ากังวลมากสุด” ในปัจจุบันคือโอมิครอนลูกผสม “XBB.1.5”

นิวยอร์กกำลังกลายเป็น ‘ฮอตสปอตใหม่’ ของโควิดตระกูล XBB ที่พบแพร่ระบาดใหญ่ในสิงคโปร์เมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีตัวเลขผู้ติดเชื้อที่นิวยอร์กรายวันตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคมจนถึงปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

5.5%

5.7%

5.7%

5.3%

9.0%

13.8%

12.6%

13.7%

16.5%

18.6%

เมื่อเทียบกับโควิดสายพันธุ์อื่นที่ระบาดในนิวยอร์ก (ภาพ 1)

โดยมีระบาดเข้ามาแทนที่โอมิครอน BQ.1 อย่างรวดเร็วโดยพบ

-มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ที่นิวยอร์กสูงกว่า BQ.1 ถึง 144%

-มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดสูงกว่า BQ.1 ทั่วสหรัฐ 122%

-มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด สูงกว่า BQ.1 ทั่วโลกประมาณ 94%

จากฐานข้อมูลเก็บรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบแล้วทั้งสิ้น 288 ตัวอย่าง ยังตรวจไม่พบในประเทศไทย
(ภาพ 2-4)

คาดว่า XBB.1.5 ได้กลายพันธุ์มาจาก XBB* ที่นิวยอร์ก โดยมีอัตราการเพิ่มจำนวนประมาณถึง 100% ในแต่ละสัปดาห์ (ภาพ 5)

โดยอาศัยเทคโนโลยีด้าน “ชีวสารสนเทศ” ที่ก้าวหน้าไปอย่างมากมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมโควิดทั้งจีโนม (whole SARS-CoV-2 genome sequencing) ตลอด 3 ปี จำนวนกว่า “14.2 ล้านตัวอย่าง” ช่วยให้เราสามารถทำนายรูปลักษณ์ของโปรตีนหนามที่แตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ของโควิด-19 เพื่อบ่งชี้

-ความสามารถของ “โปรตีนหนาม” ในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน(immune escape) เนื่องจากรูปร่างโปรตีนหนามที่เปลี่ยนไปอันมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์

-ความสามารถของโปรตีนหนามในการยึดจับตัวรับ “ACE-2” บนผิวเซลล์ผู้ติดเชื้อ เพื่อแทรกเข้าไปภายในเซลล์ (ACE-2 binding score) เนื่องจากรูปร่างโปรตีนหนามที่เปลี่ยนไปอันมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์

โดยพบว่า XBB.1.5 เป็นโควิด-19 ที่มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) สูงที่สุด และมีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและการเข้ากับผิวเซลล์ เพื่อทะลุผ่านเข้าไปภายในเซลล์ได้ดีที่สุดในโลก ณ ขณะนี้ อันเป็นสาเหตุที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกกำลังจับตามองด้วยความกังวล (ภาพ 6).

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอาแน่ 'คมนาคม' เร่งศึกษาค่าธรรมเนียมรถติด

“คมนาคม” เดินเครื่องศึกษามาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด เปิดโมเดล 4 ประเทศ “อังกฤษ-สิงคโปร์-สวีเดน-อิตาลี” พบช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดอย่างเป็นรูปธรรม ด้าน สนข. เร่งศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบ ชี้ช่วยดึงดูดประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เชื่อมระบบฟีดเดอร์-ขนส่งหลัก หนุนนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย