ผักผลไม้ต้องมาที่หนึ่ง-งดของทอด สูตรห่างไกลมะเร็ง-โรคหลอดเลือด

สูตรอาหารเพื่ออายุยืนมาบอกกัน จากการวิจัยล่าสุดนักวิจัยในประเทศจีนระบุว่า การกินผลไม้เป็นอาหารกลางวัน ผักเป็นอาหารเย็น และไม่กินของทอดกรอบ เป็นกุญแจสำคัญในการปัดเป่ามะเร็งและโรคหัวใจ
    นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยการแพทย์ฮาร์บินของจีน ได้ทำการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างนิสัยการกินกับสุขภาพของวัยผู้ใหญ่ชาวอเมริกันมากกว่า 21,500 คน ซึ่งพวกเขาพบว่าการกินขนมกรุบกรอบทำจากแป้งและนำไปทอดกรอบ (เฟรนช์ฟราย, โดนัท, มันฝรั่งทอดกรอบ, เค้กกล้วยหอม, ขนมปัง) เป็นอาหารว่างระหว่างมื้อ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตคิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ และการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจคิดเป็นร้อยละ 44-57 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามการบริโภคผลไม้ ผัก และผลิตภัณฑ์จากนมในมื้ออาหารบางมื้อ พบว่าช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากภาวะต่างๆ
    การศึกษานี้ดำเนินการโดยนักโภชนาการ “ศาสตราจารย์หยิง หลี่” และเพื่อนร่วมงานจากมหาวิทยาลัยฮาร์บิน (Harbin Medical University) ในมณฑลเหยหลงเจียง ทางตอนเหนือสุดของจีน เนื่องจากเธอและทีมวิจัยของเธอพบว่า ผู้คนกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขากิน และเมื่อพวกเขากินอาหาร ทั้งนี้ทีมวิจัยของเธอก็ได้พยายามที่จะทำความเข้าใจถึงผลกระทบของอาหารที่แตกต่างกันเมื่อบริโภคในบางมื้อ
    โดยทีมงานได้วิเคราะห์อาหารของผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาที่อายุ 30 ปีขึ้นไป จำนวน 21,503 คน ซึ่งเข้าร่วมการสำรวจสุขภาพและโภชนาการแห่งชาติระหว่างปี พ.ศ.2546-2557 (ปี 2003-2014) และทีมวิจัยข้างต้นได้อ้างอิงนี้ โดยโยงข้อมูลนี้กับดัชนีการเสียชีวิตจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา โดยสังเกตจากอาสาสมัครที่เสียชีวิตในช่วงตั้งแต่ปี 2003 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2015 ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม แต่จะมีโรคมะเร็งหรือโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมอยู่ด้วย 
    ทั้งนี้ รูปแบบการบริโภคอาหารของอาสาสมัครแต่ละคนถูกจัดประเภทตามอาหารที่พวกเขากินในช่วงเวลาอาหาร รวมถึงของว่างระหว่างมื้อ ตัวอย่างเช่น มื้อเช้าจะมีผลไม้ที่กินร่วมกับอาหารเช้าแบบตะวันตกที่ปรุงจากแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก ส่วนอาหารเที่ยงแบ่งออกเป็นผลไม้ ผัก และอาหารกลางวันแบบตะวันตก ขณะที่อาหารเย็นแบ่งออกเป็นผลไม้ ผัก และอาหารเย็นแบบตะวันตก ในขณะที่ของว่างจัดประเภทเป็นธัญพืช แป้ง ผลไม้หรือผลิตภัณฑ์นมในธรรมชาติ
    อาหารเช้าแบบตะวันตกมีลักษณะเป็นธัญพืชขัดสี (ธัญพืชที่ขัดสีเอาเปลือกหุ้มเมล็ดและจมูกข้าวออกไป กระทั่งเหลือแต่แป้ง) พืชตระกูลถั่ว น้ำตาลที่เติมเข้าไปในอาหาร ไขมันทรานส์ที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเข้าไป และเนื้อแดง ในขณะที่อาหารกลางวันแบบตะวันตกมีธัญพืชขัดสี ชีส และเนื้อสัตว์ที่บ่มแล้ว และอาหารเย็นแบบตะวันตก ได้แก่ ธัญพืชขัดสี ชีส ไขมันแข็ง น้ำตาล และไข่ โดยนักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า รูปแบบอาหารตะวันตกมีแนวโน้มที่จะมีสัดส่วนของไขมันและโปรตีนที่สูงขึ้น
    นักวิจัยพบว่า การรับประทานอาหารกลางวันที่มีผลไม้เป็นส่วนประกอบ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้ร้อยละ 34 ในทางตรงกันข้าม อาหารกลางวันแบบตะวันตกซึ่งปกติแล้วประกอบด้วยธัญพืชขัดสี ชีส และเนื้อสัตว์ที่บ่มแล้ว เชื่อมโยงกับอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 44% ส่วนการรับประทานอาหารเย็น ทีมงานพบว่าอาหารเย็นที่อุดมไปด้วยผักนั้น เชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ลดลง 23% จากการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ และ 31% ของการเสียชีวิตจากอาการอื่นๆ ทั้งนี้ขนมขบเคี้ยวประเภทแป้ง เช่น มันฝรั่งทอด พบว่ามีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในการเสียชีวิตโดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 50-52 และการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ คิดเป็นร้อยละ 44-57 ตามลำดับ
    โดยสรุปแล้ว ไม่ว่าจะกินอาหารมื้อไหนการเพิ่มผักและผลไม้เข้าไปทุกมื้อ รวมถึงการลดอาหารทอดที่ปรุงจากแป้งให้ลดน้อยลง หมั่นออกกำลังกาย ถือเป็นสูตรสำเร็จในการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘NCDs’ ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคล แต่เกี่ยวโยง ‘สภาพแวดล้อมทุกมิติ’ ปรับ Ecosystem สร้างสุขภาพดีคือทางออก

การขับเคลื่อนเพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ของประเทศไทยก่อนหน้านี้ โดยมีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นแม่งานหลัก ดูเหมือนว่

‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ

น้ำมันหอมระเหยทำสมองดีขึ้น แต่ต้องไม่ลืมอาหารมีประโยชน์-ออกกำลังกาย

วารสาร frontiers Neuroscience กรกฎาคม 2023 คนอายุ 60 ถึง 85 สุขภาพดี ทางร่างกายและการประเมินความจำ โดยได้กลิ่นเครื่องหอมระเหย (odorant diffuser) คืนละ 2 ชั่วโมง

สร้างภูมิคุ้มกัน 'พลัดตกหกล้ม' 10-11 ก.ย.นี้ เชิญชมนิทรรศการ 7 นวัตกรรมธรรมศาสตร์ เพื่อสังคมสูงวัย

เพราะทุกห้วงยามแห่งการร่วงหล่น มีหลายชีวิตพลัดหลงในกาลเวลา โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete

ถอดความสำเร็จ รพ.สต.ถ่ายโอนฯ อภิบาลระบบด้วย 'สมัชชาฯจังหวัด' เพื่อนร่วมทางที่ไม่ปล่อยให้ อบจ. เดินลำพัง

ถือเป็น ‘เรื่องใหม่’ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เมื่อต้องจัด ‘ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ’ ให้กับประชาชนในพื้นที่ หลังจากรับการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ‘ล็อตใหญ่’ เข้ามาบริหารจัดการ ตั้งแต่ปี 2565