'หมอยง' เชื่อเดือนกุมภาฯปีหน้า ความจำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัยจะน้อยลง

17 ธ.ค.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า มีการตั้งคำถามว่า เราจะใส่หน้ากากอนามัยไปนานแค่ไหน ขอช่วยกันตัดสินใจเอง

ในยามปกติ หน้ากากอนามัยจะมีไว้สำหรับให้ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเป็นผู้ใส่ เพื่อป้องกันการกระจายของโรค คนปกติไม่มีความจำเป็นต้องใส่ ทุกคนต้องมีความรับผิดชอบ ถ้ารู้ว่าป่วยควรจะใส่ และมีระเบียบวินัย

การใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโรค covid-19

การใส่หน้ากากอนามัย ถ้าใสไม่ถูกวิธี หรือไม่ดูแลเรื่องสุขอนามัย ประสิทธิภาพในการป้องกันจะลดน้อยลงอย่างมากๆ มีการศึกษามาสนับสนุนชัดเจน เช่นใส่ไม่ถูกวิธี การจัดต้องหน้ากากหลังใส่แล้วโดยไม่ได้ล้างมือ มีการศึกษาว่าในแต่ละชั่วโมงจะมีการจัดหน้ากากเป็นจำนวนมากหลายครั้ง ทำให้ประสิทธิภาพลดลงอย่างมากเนื่องจากการ ปนเปื้อน

การศึกษาที่น่าสนใจ โรงพิมพ์ในวารสาร PNAS ศึกษาคนที่ใส่หน้ากากอนามัยและไม่ใส่หน้ากากอนามัยแข่งขันหมากรุก จะพบว่าการใส่หน้ากากอนามัยจะมีผลต่อ ความนึกคิด (cognitive) ในช่วงแรกของการแข่งขัน และถ้าใส่ไปนานๆก็จะมีการปรับตัว หน้ากากอนามัยอาจมีผล ต่อการ นึกคิดคำนวณระดับสูง แต่ในภาวะปกติคงไม่เห็นความแตกต่าง

ในเด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กอนุบาล การเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษา จะมีทั้งภาษาพูด (verbal) และภาษาท่าทาง (non verbal) เช่นการสังเกตจากริมฝีปาก ดังนั้นในเด็กเล็ก การใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกต้องก็ทำได้ยากอยู่แล้ว และยังมีผลต่อการเรียนรู้สำหรับเด็ก ดังนั้นจึงมีความเห็นว่าในชั้นเรียนของเด็กเล็ก การใส่หน้ากากอนามัยจะขัดขวางต่อการเรียนรู้ และการปฏิบัติตัวของเด็กในการดูแลหน้ากากอนามัยก็ทำได้ยากที่จะให้มีประสิทธิภาพ ความจำเป็นในการใส่หน้ากากอนามัยจึงน้อยลง ในภาวะที่ความรุนแรงของโรคลดน้อยลง เด็กก็มีการเรียนรู้จากครูด้วย

นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่ง คือการกำจัดขยะหน้ากากอนามัย เพราะการใช้หน้ากากอนามัยจำนวนมากที่เป็นหน้ากากอนามัยสังเคราะห์ จะทำให้เกิด micro plastic เพิ่มขึ้น ในสิ่งแวดล้อม

ในขณะนี้ ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง เช่นชายทะเล สวนสาธารณะ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่หน้ากากอนามัย

หวังว่า หลังเดือนกุมภาพันธ์ไปแล้ว ส่วนใหญ่จะมีภูมิต้านทานจากการฉีดวัคซีนหรือติดเชื้อแล้ว โรคจะลดน้อยลง และมีการปรับตัวได้มากขึ้น ความจำเป็นที่จะต้องใส่หน้ากากอนามัย ก็จะน้อยลง จะใส่เมื่ออยู่ในกลุ่มคนหมู่มาก เช่นในรถประจำทาง เครื่องบิน รถไฟฟ้า และผู้ที่ต้องใส่ ก็น่าจะอยู่ในกลุ่มของ ผู้ป่วยหรือมีอาการทางโรคทางเดินหายใจ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน

ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า

‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'

หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform

'หมอยง' ชวนฉีดวัคซีน ปีนี้ไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไข้หวัดใหญ่ปีนี้ระบาดมาก

'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ

'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ