20ปี สสส. ความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพดีขึ้น

สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยภาพรวมยังน่าวิตก จากการศึกษาของมูลนิธินโยบายสุขภาวะสะท้อนภาพชัดเจนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยนั้นมีภาระค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้ในแต่ละเดือน  อีกทั้งครอบครัวคนจนมีลูกหลานและผู้สูงวัยที่ต้องเลี้ยงดูมากกว่าคนวัยทำงานต่างจากกลุ่มคนรวยในสังคม  4 เท่า ขณะที่ในอนาคตเด็กไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในครอบครัวที่ยากไร้  แน่นอนว่า ความยากจนเป็นเหตุให้ขาดโอกาสหลายด้าน โดยเฉพาะการสร้างเสริมสุขภาพ

เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรม “20 ปี ภาคีสร้างสุข นวัตกรรมความสุขที่ยั่งยืน” ในงานล้อมวงเสวนาประเด็นความเป็นธรรมทางสังคมและสุขภาพ สะท้อนถึงสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในสังคม จนนำมาสู่ความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพในภาพรวม ขณะที่โครงการที่ สสส. มีส่วนร่วมสนับสนุนสามารถเข้าไปเพิ่มโอกาสและลดความต่างได้อย่างมาก

ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการมูลนิธินโยบายสุขภาวะ เผยภาพรวมปัจจัยที่ส่งผลต่อความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพในสังคมไทยว่า   ความเหลื่อมล้ำในสังคมทำให้เกิดความแตกต่าง สร้างความไม่เสมอภาพทางด้านสุขภาวะ ที่เห็นเด่นชัด ประกอบด้วยความเหลื่อมล้ำทางรายได้ เมื่อพิจารณาการแบ่งครัวเรือนตามระดับรายได้ออกเป็น 10 กลุ่มตั้งแต่กลุ่มจนสุดถึงรวยสุด  ทั้งนี้ กลุ่มจนสุดเป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท /ครัวเรือน/เดือน และเป็นกลุ่มที่มีรายได้เพียงครึ่งหนึ่งของรายจ่าย มีอัตราการพึ่งพิงของเด็กต่ำกว่า15  ปี และผู้สูงอายุของครัวเรือนกลุ่มจนสุดจะสูงกว่าผู้มีงานทำ โดยมีอัตราพึ่งพิงถึง 107 % ส่วนกลุ่มรวยสุดมีอัตราพึ่งพิง 37.7%  โดยกลุ่มจนสุดมีจำนวนสมาชิกที่ต้องพึ่งพิงสูงกว่ากลุ่มรวยสุดเกือบ 4 เท่า

นอกจากนี้ ครัวเรือนจนที่สุดมีอัตราการมีงานทำน้อยอยู่ที่ 45.2%  ส่วนใหญ่เป็นงานนอกระบบที่ไม่มีความมั่นคง กลุ่มจนสุดมีภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อรายได้สูงมาก โดยเป็นค่าอาหาร/เครื่องดื่ม/ยาสูบ 66.2% ค่าเดินทาง 13.9% และค่าที่พัก 16.3 %  ในช่วง 15 ปีหลัง (2548-2563) ดัชนีราคาหมวดอาหารเพิ่มเร็วกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวม  ซึ่งราคาผักและผลไม้ที่ผู้บริโภคจ่ายแพงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้คนจนไม่สามารถเข้าถึงได้ ทั้งที่เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างเสริมสุขภาพ ขณะที่สวัสดิการรักษาพยาบาลของสมาชิกในกลุ่มจนสุดเกือบทั้งหมด คือ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า  และราคาที่อยู่อาศัยแพงขึ้นกว่าค่าจ้างแรงงาน ทำให้มีบ้านยากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนจนสุดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องบ้านทั้งมีบ้านเองและเช่าจะสูงมาก

“ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลอย่างมากต่อการมีสุขภาพที่ดี ความเหลื่อมล้ำทำให้ความพยายามพัฒนาสร้างเสริมสุขภาพอาจจะไม่สามารถเข้าถึงคนทุกกลุ่มได้ นำสู่ความแตกต่างด้านสุขภาพ  ฉะนั้น การมีสวัสดิการช่วยเหลือและการให้โอกาสเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพให้กับทุกกลุ่มประชากร เช่น โอกาสที่จะได้ปลดหนี้สิน โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาของลูกหลาน โอกาสมีบ้าน เป็นต้น  เมื่อมีความมั่นคงจะสามารถวางแผนอนาคตได้ แต่ถ้าไม่มีความมั่นคง การวางแผนในชีวิตจะยาก รวมถึงเรื่องสุขภาพด้วย ” ดร.เดชรัต กล่าว

เวทีนี้หยิบยกตัวอย่างโครงการที่ สสส.สนับสนุนสร้างโอกาสการเข้าถึงและความเป็นธรรมทางสุขภาพ เช่น นโยบายสวนผักคนเมือง   เมื่อผักราคาแพง ทำให้คนจนเข้าไม่ถึง แต่โครงการผักคนเมืองส่งเสริมให้ชุมชนปลูกผักเองในพื้นที่ว่าง ทำให้เข้าถึงผักได้มากขึ้นตามมาตรฐานบริโภคผัก 240 กรัมต่อคนต่อวัน หรือ 7.2 กิโลกรัมต่อเดือน

ขณะที่ชุมชนบูรพา 7 ใช้พื้นที่ 1 งานปลูกผัก สามารถเลี้ยงคนได้ถึง 22 คน เพื่อให้แต่ละคนได้ 240 กรัม/คน/วัน เป็นอีกงาน สสส. ช่วยเพิ่มความเข้มแข็งของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือโครงการนำพืชผักที่ผลิตได้จากท้องถิ่นเชื่อมโยงเข้าสู่เมนูอาหารในโรงเรียนประถมศึกษา ที่ อ.จอมพระ จ.สุรินทร์  ช่วยสร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่น ปี 2563 ท้องถิ่นมีรายได้กว่า 1 ล้านบาท  ซึ่งควรผลักดันเป็นนโยบายระดับประเทศ ทั้งยังลดช่องว่างระหว่างราคาที่ผู้บริโภคจ่ายกับราคาที่เกษตรกรได้รับ

นอกจากนี้ เดินหน้าโครงการบ้านมั่นคงเพื่อการเข้าถึงที่อยู่อาศัยของคนจนเมือง  ส่งผลคนจนมีรายได้ต่อเดือนเพิ่มขึ้น หนี้สินลดลง  ความเป็นธรรมทางสุขภาพยังครอบคลุมถึงกลุ่มผู้ต้องขังผ่านโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน(ผู้ต้องขัง) กลุ่มแกนนำและกลุ่มขยายผลให้มีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก สนับสนุนการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ สร้างโอกาสให้กับกลุ่มประชากรเฉพาะ

ศิริรัตน์ ปัจฉิมกุล เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำนาญงาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า  เรือนจำเป็นพื้นที่ปิด ซึ่งพื้นที่เฉพาะการดูแลสุขภาพร่างกายและช่องปากเป็นสิ่งจำเป็น ที่ผ่านมา การแปรงฟันของผู้ต้องขังถูกละเลย โครงการในเรือนจำกลางฉะเชิงเทรามีผู้ต้องขัง 3,891 คน และมีผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน 91 คน มีการคัดเลือกเหลือ 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มแกนนำ 40 คน และกลุ่มขยายผล  20 คน  พัฒนาศักยภาพให้มีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก มีทักษะการแปรงฟัน ดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้อย่างเหมาะสม และสามารถถ่ายทอดทักษะการแปรงฟันได้ ผ่านกระบวนการบอกให้รู้ ทำให้ดู ฝึกให้ทำ  และนำไปทำต่อ หลังผ่านไป 6 เดือน พบว่า ผู้ต้องขังมีองค์ความรู้มากขึ้น ดัชนีเหงือกอักเสบลดลง ค่าจุลินทรีย์ลดลงสะท้อนการแปรงฟันได้สะอาด นอกจากนี้ เกิดผลที่มากกว่าการดูแลช่องปาก คือ ผู้ต้องขังเห็นคุณค่าตนเอง มีความหวัง พลังใจ ฝึกจิตใจให้อ่อนโยน และเตรียมตัวกลับสู่สังคม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง

โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด

เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน

'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน

‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ

จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง

รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น