มธ. ชี้ 'สุขภาพ' คือขุมทรัพย์ประเทศไทย เปิดโอกาสบุคลากรด้านสุขภาพและกีฬา ก้าวสู่เจ้าของธุรกิจ

คณบดีสหเวชศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ชี้ ‘การดูแลสุขภาพ’ คือเทรนด์ ‘อนาคตของโลก’ ถือเป็นโอกาสทองบุคลากรด้านสุขภาพ ต่อยอดสู่การเป็นผู้ประกอบการ-เจ้าของธุรกิจ ย้ำ งานของ ‘วิชาชีพด้านสุขภาพ’ ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ ‘บุคลากรในโรงพยาบาล’ อีกแล้ว

5 พ.ย.2565 - รศ.ดร.ไพลวรรณ สัทธานนท์ คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันบุคลากรในวิชาชีพด้านสุขภาพ ไม่ได้ถูกจำกัดให้ประกอบอาชีพในโรงพยาบาลอย่างเดียวเท่านั้น เพราะทุกวันนี้ ‘การดูแลสุขภาพ’ เป็นกระแสทั้งในสังคมไทยและในระดับโลก โดยเฉพาะหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 ที่ภาคธุรกิจก็เห็นตรงกันว่าโอกาสของประเทศไทยคือ Wellness Tourism รวมถึงธุรกิจการให้บริการระดับ Medical Wellness ด้วยต้นทุนขุมทรัพย์ของประเทศไทย ทั้งศักยภาพด้านทรัพยากร การท่องเที่ยว และที่สำคัญคือ ศักยภาพด้านบุคลากรและการให้บริการด้านสุขภาพ รวมถึงนโยบายระดับประเทศที่ส่งเสริมธุรกิจดังกล่าว นำไปสู่การเติบโตของโอกาสที่บุคลากรวิชาชีพด้านสุขภาพจะสามารถก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้ประกอบการ หรือเจ้าของธุรกิจ ตั้งแต่ขนาดย่อมไปจนถึงขนาดใหญ่ได้ด้วยตนเอง หรือแม้กระทั่งปฏิบัติหน้าที่ภายในองค์กรของภาครัฐหรือภาคเอกชนที่จะมีการขยายตัวรองรับความต้องการด้านการบริการสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ ขณะที่ค่านิยมของการมีบุตรของคนรุ่นใหม่ลดลง ตรงนี้สะท้อนว่าในอนาคตอันใกล้ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริการสุขภาพจะเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดและเริ่มมีมากขึ้นก็คือการเกิดธุรกิจใหม่ๆ ของภาคเอกชนที่ช่วยสนับสนุนระบบสุขภาพและหน่วยบริการของรัฐ ทั้งการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รวมถึงบริการที่ครอบคลุมการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วย ตัวอย่างเช่นการเปิดห้องปฏิบัติการ (Lab) ทางเทคนิคการแพทย์ การเปิดคลินิกส่งเสริมสุขภาพของทางกายภาพบำบัด ศูนย์สุขภาพ (Wellness Center) ของทางวิทยาศาสตร์การกีฬา ศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง และการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัวที่มุ่งเน้นลดความทุกข์ทรมานด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เช่นศูนย์ดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) เป็นต้น ฯลฯ

ยิ่งไปกว่านั้น ในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะเมื่อระบบด้านการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ สื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าถึงคนกลุ่มใหญ่ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด การให้บริการด้านสุขภาพจึงไม่ได้จำกัดแค่เพียงในสถานที่หรือที่ต้องใช้ระบบที่ซับซ้อนเท่านั้น ในทางกลับกันคนรุ่นใหม่มองเห็นถึงโอกาสการสร้างอาชีพและธุรกิจทางสุขภาพในรูปแบบออนไลน์ เช่น การให้คำแนะนำ หรือเป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพ หรือการออกกำลังกาย ฉะนั้นการมีพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพจะยิ่งถือเป็นข้อได้เปรียบในอนาคต

คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ มธ. กล่าวว่า ทางคณะสหเวชฯ ได้มีการติดตามกระแสของสังคมและโลกอยู่เสมอ รวมถึงร่วมมือทั้งกับภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน จึงเห็นถึงแนวโน้มความต้องการทางด้านสุขภาพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในหลายประเทศทั่วโลก การพัฒนาด้านจีโนมส์ทางการแพทย์ (Medical genomics) การแพทย์แม่นยำ (Precision medicine) และการแพทย์เฉพาะบุคคล (Personalized medicine) รวมถึงการส่งเสริมและดูแลสุขภาพตั้งแต่ยังไม่ป่วย โดยวิสัยทัศน์เหล่านี้ถือเป็นการเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพให้กับบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากแต่ละหลักสูตรของคณะสหเวชศาสตร์ทั้งสิ้น

รศ.ดร.ไพลวรรณ กล่าวต่อไปว่า หลักสูตรของคณะสหเวชศาสตร์ถูกพัฒนาโดยตั้งอยู่บนฐานของการตอบโจทย์ความต้องการให้กับสังคมไทย รวมทั้งปรับให้สอดคล้องกับกระแสของโลกในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะช่วยให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละหลักสูตรมีทางเลือกที่จะประกอบอาชีพได้หลากหลาย เพื่อรองรับความต้องการทั้งจากภาครัฐ และภาคธุรกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทิศทางปัจจุบันที่เปิดกว้างมากกว่าการทำงานเป็นบุคลากรทางการแพทย์ของภาครัฐ

คณะสหเวชศาสตร์ มธ. มีจุดแข็งอยู่ที่ความหลากหลายของหลักสูตรระดับปริญญาตรีซึ่งมีถึง 6 สาขา ได้แก่ เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย การจัดการกีฬา การฝึกสอนกีฬา และรังสีเทคนิค รวมทั้งหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่มุ่งเน้นการวิจัยขั้นแนวหน้าแล้ว อีกทั้งยังมีกิจกรรมทั้งภายในหลักสูตรและภายนอกหลักสูตรซึ่งผ่านหน่วยงานความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศ รวมถึงเรามีเวทีการเรียนรู้ฝึกปฏิบัติจริง ผ่านศูนย์บริการสุขภาพคณะสหเวชศาสตร์ ซึ่งได้ดำเนินกิจกรรมทั้งในรูปแบบธุรกิจเพื่อหารายได้ และรูปแบบกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate social responsibility) จึงเป็นการผสมผสานทั้งความสามารถในเชิงการบริหารจัดการธุรกิจ ควบคู่ไปกับการมีจิตสาธารณะที่ทำเพื่อสังคมด้วยเช่นกัน

“เราส่งเสริมทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในปัจจุบันซึ่งมีความแตกต่างจากเมื่อก่อน เราพยายามให้นักศึกษาของเรามีทางเลือก มีทักษะที่หลากหลาย รวมถึงมี soft skills ที่สำคัญ มีความพร้อมและสามารถคว้าโอกาสที่จะมีเข้ามาได้ จึงทำให้หลักสูตรของเรามีความเข้มแข็ง และบัณฑิตที่จบออกไปมีความพร้อมเท่าทันความเปลี่ยนแปลงทั้งในปัจจุบันและอนาคต” คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ มธ. ระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

70 ยัน 90 ปี เพียงเดินเพิ่ม 500 ก้าว ลดเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจ-สมองตีบ

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 70 ยัน 90 ขวบ เพียงเดินเพิ่มแค่ 500 ก้าว

'แต๊งค์ พงศกร' หุ่นพัง-งานหาย! ตัดสินใจแปลงร่างเพื่อครอบครัว

แต๊งค์-พงศกร มหาเปารยะ รับเคยปาร์ตี้หนักจนลงพุง หนักถึง 80 กิโลกรัม แม้แต่เพื่อนในวงการยังจำหน้าไม่ได้ ทำให้งานจ้างหาย สุขภาพย่ำแย่ สู่การตัดสินใจแปลงร่างพลิกชีวิต มุ่งมั่นลดน้ำหนักได้ถึงเดือนละ 10 กิโล จนทวงคืนร่างทองภายใน 4 เดือนได้สำเร็จ โดยเจ้าตัวเปิดใจผ่านรายการ "คนแปลงร่าง"

‘NCDs’ ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคล แต่เกี่ยวโยง ‘สภาพแวดล้อมทุกมิติ’ ปรับ Ecosystem สร้างสุขภาพดีคือทางออก

การขับเคลื่อนเพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ของประเทศไทยก่อนหน้านี้ โดยมีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นแม่งานหลัก ดูเหมือนว่

‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ