แพลตฟอร์ม T2DMinsulin.com แอนิเมชั่นเพื่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน

สถานการณ์เบาหวานทั่วโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร, สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร, กระทรวงสาธารณสุข, สมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน, ชมรมเบาหวาน, ภาคีเครือข่ายต่างๆ และโรงพยาบาลราชวิถี

จึงได้จัดงาน ‘สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างเครือข่าย และชมรมเบาหวานของประเทศไทยให้เข้มแข็งและยั่งยืน’  พร้อมแนะนำแพลตฟอร์ม T2DMinsulin.com แหล่งรวมความรู้เรื่องการรักษาโรคเบาหวาน และการใช้อินซูลิน เข้าใจง่ายผ่านการ์ตูนแอนิเมชั่น

ศ. เกียรติคุณ พญ. วรรณี นิธิยานันท์  นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวว่า สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ได้พยายามขับเคลื่อนให้มีการดูแลอย่างครบถ้วน เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้อย่างทั่วถึงและใกล้ชิดกับผู้ให้บริการมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไว้รัสโควิด-19 ได้มีการใช้เทคโนโลยีร่วมด้วย อาทิ การดูแลผู้ป่วยผ่าน Telemedicine รวมถึงมีสื่อการเรียนรู้บนดิจิทัลต่างๆ”

รศ. นพ. เพชร รอดอารีย์  เลขาธิการสมาคมโรคเบาหวานฯ กล่าวว่า “สถานการณ์จริงในปัจจุบัน ปี 2563 มีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 9.5% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งอัตราผู้ป่วยเบาหวานสูงกว่าจากที่ได้คาดการณ์ไว้ อีกทั้งยังมีผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนเพิ่มขึ้นถึง 40% ด้วย โดยในกลุ่มดังกล่าวนี้ มีผู้ที่ไม่ทราบว่าตนป่วยเป็นเบาหวานถึง 31% ทราบว่าเป็นเบาหวานแต่ไม่ได้รักษา 14% และ 29% รักษาแต่ควบคุมไม่ได้ ในขณะที่มีเพียง 26% ที่รักษาและสามารถควบคุมได้ ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมายอยู่มาก

จากอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยเบาหวาน เกือบ 2 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตัวแปรสำคัญคือการทำงานของตับอ่อน มักพบว่าในวันที่วินิจฉัยได้ว่าป่วยเป็นเบาหวาน การทำงานของตับอ่อนลดลงถึง 50% แล้ว ประกอบกับภาวะดื้อต่ออินซูลินจากความอ้วน ดังนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านสาธารณสุข จึงจำเป็นต้องดำเนินการเชิงรุกเพื่อตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ก่อนที่จะเป็นเบาหวาน ประมาณ 5-10 ปี ก่อนที่การทำงานของตับอ่อน จะลดประสิทธิภาพลงจนไม่สามารถฟื้นสภาพได้

ด้าน “ศ. คลินิก นพ. วีระศักดิ์ ศรินนภากร” นายแพทย์ทรงคุณวุฒิด้านอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี และนายกสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน กล่าวว่า “ด้วยจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างแพทย์ที่ดูแลรักษาและจำนวนผู้ป่วย อีกทั้งแพทย์ยังมีเวลาจำกัด ทำให้บางครั้งผู้ป่วยไม่เข้าใจโรคและไม่เข้าใจการใช้ยาฉีดอินซูลิน อาทิ ควรฉีดอย่างไร การปรับยาฉีด รวมถึงการแก้ไขปัญหาภาวะน้ำตาล เป็นต้น ซึ่งการจัดทำแพลตฟอร์มการเรียนรู้บนเว็บไซต์ www.t2dminsulin.com สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ต้องใช้อินซูลิน ที่ได้รับการสนับสนุนโดย บริษัท ซาโนฟี่-อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด ได้เข้ามาเติมเต็มช่องว่างที่กล่าวข้างต้น และสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับอินซูลิน และสามารถนำไปปรับใช้ดูแลตนเองได้ เทคโนโลยีสื่อการเรียนรู้ www.t2dminsulin.com ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล ผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้บนทุกแพลตฟอร์ม อำนวยความสะดวกให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา โดยข้อมูลที่ถ่ายทอดอยู่ในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชั่นที่เข้าใจง่าย

โดยปรับศัพท์เชิงวิชาการให้ง่ายต่อการเข้าใจ โดยเนื้อหาได้รับการตรวจสอบความถูกต้องจากทีมแพทย์ชำนาญการด้านโรคเบาหวาน จากโรงพยาบาลระดับประเทศหลายแห่ง เพื่อมุ่งให้เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ อีกทั้งได้สอดแทรกสาระผ่านเกม ประกอบด้วย 8 บทเรียน อาทิ ความสำคัญของอินซูลิน, ความเข้าใจผิดและความจริงเกี่ยวกับอินซูลิน, การเริ่มใช้อินซูลินในการรักษาเบาหวาน, อาหารและการออกกำลังกายสำหรับผู้เป็นเบาหวาน, การจัดการเมื่อเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ, ชนิดของอินซูลิน, การเก็บและการพกพาอินซูลิน และการใช้เครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้วและความจำเป็นในการปรับขนาดยา เป็นต้น และจะมีการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับอินซูลินบนเว็บไซต์ www.t2dminsulin.com เพิ่มเป็น 12 บทเรียน ในช่วงต้นปี 2565 อีกด้วย”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สร้างภูมิคุ้มกัน 'พลัดตกหกล้ม' 10-11 ก.ย.นี้ เชิญชมนิทรรศการ 7 นวัตกรรมธรรมศาสตร์ เพื่อสังคมสูงวัย

เพราะทุกห้วงยามแห่งการร่วงหล่น มีหลายชีวิตพลัดหลงในกาลเวลา โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete

ถอดความสำเร็จ รพ.สต.ถ่ายโอนฯ อภิบาลระบบด้วย 'สมัชชาฯจังหวัด' เพื่อนร่วมทางที่ไม่ปล่อยให้ อบจ. เดินลำพัง

ถือเป็น ‘เรื่องใหม่’ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เมื่อต้องจัด ‘ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ’ ให้กับประชาชนในพื้นที่ หลังจากรับการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ‘ล็อตใหญ่’ เข้ามาบริหารจัดการ ตั้งแต่ปี 2565