เปิดทิศทาง’ภาคีสร้างสุข’สู่ทศวรรษที่ 3

 ความสำเร็จจากการร่วมมือขับคลื่อนงานสร้างเสริมในประเทศไทยที่ผลักดัน โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภาคีเครือข่ายและภาคียุทธศาสตร์ ทั้งการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ดึงดูดให้คนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่เสี่ยงเจ็บป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อ หรือ NCDs  เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม วิถีชีวิต และปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี   การเติบโตของภาคีสร้างเสริมสุขภาวะที่ขยายครอบคลุมทั่วประเทศไทย การปรับกลยุทธ์การทำงานเพื่อรับมือโรคระบาดโควิด-19 และทิศทางทำงานในระยะ 10 ปี ได้รับการนำเสนอผ่านงานใหญ่ “20 ปี ภาคีสร้างสุข : นวัตกรรมความสุขที่ยั่งยืน” เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบไฮบริด เมื่อวันก่อน ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์  โดย ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนที่ 1 เป็นประธาน

ดร.สาธิต ปิตุเตชะ  กล่าวว่า การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในระยะต่อไปต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยให้ยกระดับการทำงาน ลดขีดจำกัดในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ หาต้นเหตุของปัญหา คิดใหม่ ทำใหม่ อย่างสร้างสรรค์ เริ่มจากต้นทุนเครือข่ายที่มี พัฒนาศักยภาพของคน ขยายผล ขยายประโยชน์ สู่สังคมวงกว้าง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมสุขภาวะ ต้องทำงานบูรณาการสานพลังทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น วิชาการ และภาคประชาชน ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้ สสส. และภาคีเครือข่ายที่ร่วมกันขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะมา  20  ปี มีการผสานความร่วมมือวางแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพในอนาคต เพื่อให้สังคมไทยเห็นคุณค่าของงานสร้างสังคมสุขภาวะร่วมกัน นำไปสู่การพัฒนาสังคมสุขภาวะอย่างยั่งยืน

ตลอดระยเวลาสองทศวรรษ สสส. เป็นแกนกลางขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ร่วมกับ 2,000 ภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ทั้งในและนอกระบบสุขภาพ

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า  ความร่วมมือช่วยสร้างนวัตกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนไทย ลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และส่งเสริมการมีวิถีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน โดยใช้ยุทธศาสตร์ “ไตรพลัง ขับเคลื่อนสังคม” สสส. สร้างการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในประเด็นสุขภาพอย่างน้อย 20 การเปลี่ยนแปลง

ในทศวรรษหน้า  ดร.สุปรีดา ระบุ สสส. และภาคีเครือข่ายเน้นการทำงานสุขภาพที่มีความสำคัญอย่างต่อเนื่อง แต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับสภาวะปัญหาหรือสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป รับมือโจทย์ใหม่ๆ ที่มีความท้าทาย มุ่งสร้างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของตนเอง และลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่ประเทศ

ภายในงาน นายสุริยา ยีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปริก อ.สะเดา จ.สงขลา เป็นตัวแทนภาคีสร้างเสริมสุขภาวะจากทุกภาคส่วนกล่าวปฏิญญาภาคีสร้างเสริมสุขภาวะ ประกาศเจตนารมณ์ ‘ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี โดยมิได้ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ 10 ข้อ ได้แก่  1.มุ่งสู่การบรรลุทิศทางและเป้าหมายทศวรรษที่ 3 (พ.ศ. 2565-2574) โดยขจัดปัจจัยเสี่ยงหลักและพัฒนาปัจจัยเสริมสุขภาพ 2.ขยายและผนึกแนวร่วมเพื่อสร้างกลไก ขยายโอกาส สร้างความเป็นธรรมในสังคม 3.พัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีและสังคมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ 4.ขยายภาคีสร้างเสริมสุขภาวะที่มีความหลากหลายและครอบคลุม พัฒนาศักยภาพ เปิดพื้นที่ทางความคิดและทางกายภาพในการทำงานร่วมกันมากขึ้น 5.ร่วมสานพลังสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

6.สร้างเสริมสุขภาวะสำหรับทุกช่วงวัย 7.ร่วมขับเคลื่อนเพื่อให้คนในสังคมไทยสามารถใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนวิถีชีวิตสุขภาวะ 8.มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและความเป็นพลเมืองของเด็กและเยาวชน 9.มุ่งสานพลังภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการรองรับสังคมสูงวัย และ 10.ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนพร้อมที่จะดูแล ร่วมมือ และปกป้อง สสส. ให้เป็นองค์กรของสังคมที่มั่นคง บริหารงานอย่างโปร่งใสภายใต้หลักธรรมาภิบาล ปราศจากการแทรกแซง

ด้าน พญ.พูนาม เคตราปาล ซิงห์  ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก (WHO-SEARO) กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับ สสส. ในโอกาสครบรอบ 20 ปี และการได้รับรางวัลเนลสัน แมนเดลา ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2564 ซึ่ง สสส. สมควรได้รับเป็นอย่างยิ่ง  ผลงานตลอด 20 ปี ได้พิสูจน์ว่าขบวนการสร้างเสริมสุขภาพในประเทศไทยที่ผลักดันโดย สสส. และภาคีเครือข่ายเป็นต้นแบบที่โดดเด่นของภูมิภาค โดยเฉพาะในการสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของการขับเคลื่อนความร่วมมือโดยทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อการพัฒนาสุขภาวะ นับเป็นหัวใจสำคัญในการจัดการกับความท้าทายด้านสุขภาพของโลกยุคปัจจุบัน ทั้งเรื่องการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด แนวทางนี้นำไปสู่การยกระดับผลลัพธ์ทางสุขภาพของประชาชน การเพิ่มความเป็นธรรมทางสุขภาพ ตลอดจนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ตลอด 3 วันของงานยังมีไฮไลท์“กิจกรรม Active Learning” ผ่านนิทรรศการ 20 ปี ภาคีสร้างสุข ทั้งในสถานที่จริง และในรูปแบบนิทรรศการเสมือนโชว์ผลงานนวัตกรรมสุขภาพ อาทิ โต๊ะประชุมยืน ช้อนปรุงลด เครื่องวัดความเค็ม Salt Meter เสาหลักนำทางจากยางพารา ฯลฯ ผลงานที่จดสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ อาทิ อุปกรณ์รองนั่งสำหรับขับถ่าย ผลิตภัณฑ์ลูกอมสมุนไพรหญ้าหมอน้อยที่มีสรรพคุณช่วยลดการสูบบุหรี่ ผลงานโชว์เคส 16 บูธ อาทิ ฉลากทางเลือกสุขภาพ กิจกรรมเล่นตามวัย โดยประชาชนสามารถมีส่วนร่วมสร้างสุขภาวะที่ดีและติดตามความเคลื่อนไหวผ่านทางเว็บไซต์ https://20th.thaihealth.or.th

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ลดเค็ม ลดโรค" เปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยงโรค NCDs

"เค็มน้อย ก็อร่อยได้" วลีสั้นๆ แต่เต็มไปด้วยพลังในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนไทย ให้หันมาลดการบริโภคโซเดียม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

สสส. จัดใหญ่ ใส่สุด สานพลัง สื่อโทรทัศน์คับคั่ง พัฒนา 7 รายการน้ำดี ผลิตคอนเทนต์สร้างสุข ร่วมสื่อสารสร้างความเข้าใจ-เข้าถึง

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 4 ก.พ. 2568 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในงานแถลงข่าวเปิดโครงการ คอนเทนต์สร้างสุข ว่า สสส. มุ่งสร้างความตระหนักรู้เพื่อให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพ

ภาคประชาสังคมผนึกกำลังกู้วิกฤตโลกร้อน ชี้กลุ่มเปราะบางเสี่ยงรับผลกระทบมากสุด

ในโอกาสวันสิทธิมนุษยชนสากล ปี 2567 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมมือกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และภาคีเครือข่าย

PMAC 2025: สสส. ผนึกกำลัง ภาคีเครือข่าย ยกระดับสุขภาวะทางปัญญา รับมือวิกฤตโลก ภัยเงียบจากความเหงา-โดดเดี่ยว เทียบเท่าสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน ดื่มเหล้า 6 แก้ว

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับศูนย์ความรู้และประสานงานสุขภาวะทางปัญญา ภาคีเครือข่ายยุทธศาสตร์สุขภาวะทางปัญญา ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล และ 7 องค์กร คือ

วุุฒิสภา สานพลัง สสส.-ภาคี 15 องค์กร จัดงาน “Sang Sook - Happiness is All Around Festival” หนุนองค์ความรู้ สว.-ข้าราชการ-ลูกจ้าง ใช้วางแผนดูแลสุขภาพกาย-ใจ หลังพบ ปี 67 บุคลากรเสี่ยงป่วยโรค NCDs พุ่ง 64.98%

ที่อาคารรัฐสภา กรุงเทพฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลัง สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และภาคีเครือข่าย 15 องค์กร จัดงาน “Sang Sook - Happiness is All Around Festival” ภายใต้โครงการรัฐสภาร่วมใจรวมพลังสร้างสุข : การเสริมสร้างศักยภาพเพื่อมุ่งสู่การเป็นรัฐสภาองค์กรแห่งความสุข เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรวุฒิสภา มีองค์ความรู้

ผกก.ดัง 'หวอ วรวิทย์' ร่วมเปิดมุมมอง ตั้งคำถามเกี่ยวกับ 'สิทธิการตายดี'

ช่องวัน31 ร่วมกับ Peaceful Death, สสส. และ คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร จัดงานสัมมนา “การุณยฆาตกับการสร้างเสริมสุขภาวะ ในระยะสุดท้ายของชีวิต” จากวรรณกรรม สู่ซีรีส์ "การุณยฆาต" Spare Me Your Mercy