เปิดตัวเว็บ"ธนาคารหนังสือ" สร้างสมรรถนะเด็กปฐมวัย

การอ่านเป็นการเตรียมตัวสู่การเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ในอนาคต ทั้งยังมีความสำคัญต่อทักษะการสื่อสาร พัฒนาการด้านภาษา เป็นสื่อและกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถวางรากฐานเบื้องต้น เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงร่วมกับมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และภาคีเครือข่าย จัดงานเสวนา “สร้างสมรรถนะเด็กปฐมวัยออนไลน์” พร้อมเปิดตัว “เว็บไซต์ธนาคารหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัยออนไลน์”

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์  ผจก.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเปิดงานว่า ในศตวรรษที่ 21 คนไทยใช้สื่อผ่านออนไลน์ในปี 2556 จำนวน 26 ล้านคน,  ปี 2563 จำนวน 50 ล้านคน ใช้เวลากับสื่อออนไลน์เฉลี่ย 11.25 ชั่วโมง  แม้แต่เด็กอายุ 2 ขวบก็ใช้สื่อออนไลน์   เด็กที่อายุน้อย Gen Z หรือ Digital Natives ที่เกิดและเติบโตมาพร้อมกับสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยดิจิทัลมีเดียทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน ยิ่งในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 สร้างผลกระทบโดยตรงกับเด็กไทยอย่างรุนแรง เนื่องจากโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีมาตรการเลื่อนการเปิดภาคเรียน อาจทำให้การเรียนรู้ของเด็กถดถอย สื่อออนไลน์จึงเป็นเครื่องมือเข้ามาช่วยลดช่องว่างในการสื่อสารและเป็นช่องทางเสริมสร้างการเรียนรู้และเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ สื่อออนไลน์จึงควรเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้กับพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กเล็ก เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้และเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบตัว และชะลอความรุนแรงของปัญหาการถดถอยในการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต

“เด็กๆ เรียนทางออนไลน์ ผู้ใหญ่ทำงานทางออนไลน์ที่บ้าน รับชมสื่อบันเทิง การเชื่อมสังคมซึ่งกันและกัน เด็กและเยาวชนเรียนรู้พัฒนาเติบโตอย่างมีสุขภาวะ สุขทุกข์สัมพันธ์กับโลก Digital เรื่อยๆ เด็กทุกวันนี้เจอความทุกข์จากปัญหา Cyber Bullying สื่อนำพาไปในทิศทางที่ผิด หลอกลวงด้วยข้อมูลที่ผิด สสส.ทำงานมาแล้ว 20ปี สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพโดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ที่จะต้องถูกขีดเส้นใต้เน้นเป็นพิเศษในการสร้าง Digital Platform เด็ก เยาวชน ครูให้ปรากฏชัดเจนขึ้น ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการอ่าน ซึ่งเป็นโอกาสทองของชีวิตและในอนาคต” ดร.สุปรีดากล่าว 

ผู้จัดการ สสส.กล่าวย้ำว่า สสส.เห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเร่งสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายพัฒนา “เว็บไซต์ธนาคารหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัยออนไลน์” ถือเป็นนวัตกรรมเครื่องมือการเรียนรู้ โดยมีการคัดกรองหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัย 464 เล่ม บทความ 121 เรื่อง สามารถดาวน์โหลดอ่านฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย รวมถึงกิจกรรมอีกกว่า 70 กิจกรรม เพื่อช่วยให้พ่อ แม่ และผู้ดูแลเด็กเล็ก โดยเฉพาะผู้ที่ต้องดูแลเด็กปฐมวัย ใช้เป็นเครื่องมือสร้างกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และการสร้างเสริมศักยภาพที่จำเป็นในวัยเด็ก มุ่งให้เกิดกระบวนการสร้างทักษะฉลาดรู้ด้านสื่อดิจิทัล  (Digital Intelligence Quotient : DQ) และการอ่าน (Reading Literacy : RD) ที่สามารถวางรากฐานทักษะการเรียนรู้ของเด็กรอบด้าน ทั้งทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และทักษะป้องกันตนเองจากโควิด-19 ทำให้เด็กมีการพัฒนาศักยภาพนำไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่ใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล

กษมา กองสมัคร  ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ ด้านนโยบายและความมั่นคง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า)

นางสาวกษมา กองสมัคร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ ด้านนโยบายและความมั่นคง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวว่า ดีป้า ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เห็นความสำคัญของการใช้สื่อดิจิทัลอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ตลอดจนตระหนักถึงพลังของการใช้สื่อดิจิทัลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่ผ่านมา ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพกำลังคนและบุคลากรด้านดิจิทัล “วิทยากรตัวคูณ สูงวัย สร้างสรรค์ รู้เท่าทันสื่อดิจิทัล” กิจกรรมพัฒนาทักษะยูทูบเบอร์ผู้พิการทางสายตา การร่วมมือกับ สสส. และภาคีเครือข่าย จัดทำเว็บไซต์ธนาคารหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัยออนไลน์ เพื่อเป็นหนึ่งในสื่อที่ให้ความสำคัญในการวางรากฐานทักษะการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและสื่อดิจิทัล หรือ Media Information and Digital Literacy (MIDL) ตั้งแต่ปฐมวัยซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย

พฤติกรรมการอ่านเป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องสอนตั้งแต่เด็ก ๆ ด้วยการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง การสร้างวินัยการอ่าน ปลูกฝังที่จะให้เด็กอ่านหนังสือเพื่อจะได้มีความรู้รอบด้านคิดวิเคราะห์ คนระดับกลางๆ จนถึงขั้นเทพมาจากนิสัยรักการอ่าน การใช้สื่ออย่างปลอดภัย พร้อมกันนี้ยังเปิดวีดิทัศน์เด็กเล็กๆ เข้าถึงเทคโนโลยีออนไลน์ได้ง่าย การที่พ่อแม่ ครูปล่อยให้เด็กเล็กอยู่กับเทคโนโลยีโดยไม่ใส่ใจที่จะให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเด็กจะกลายเป็นปัญหาได้ พ่อแม่ส่งเสริมพลังในการอ่าน เสริมสุขภาวะสร้างกระบวนการเรียนรู้เด็กเล็ก การมีธนาคารหนังสือชุดความรู้พัฒนาในยุค IT ก่อนที่จะจูงลูกสู่โลกออนไลน์ ด้วยพลังการอ่านสร้างศักยภาพการเรียนรู้ออนไลน์ในยุคโควิด ข้อมูลทั้งหมดนี้ดาวน์โหลดบทความพัฒนาสมอง กิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมสนุก การสร้างกิจกรรมในครอบครัว

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม  ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในขณะที่เราเว้นระยะห่าง  เทคโนโลยีเข้าถึงได้ง่าย ในฐานะที่เราเป็นผู้ผลิตสื่อ เสพสื่อ ย่อมมีทั้งข้อดีข้อเสียในการเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย  จากการสำรวจการเข้าถึงสื่ออินเทอร์เน็ตเติบโตมากขึ้นกว่า 100%  เรามีคนใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 50 ล้านคน ชั่วโมงที่ใช้ 5-10 ชั่วโมงขึ้นไป ขณะเดียวกันมีทั้งประโยชน์และโทษ  เกิดภาวะแทรกซ้อนชักจูงในทางที่ไม่ดี มีข้อมูลที่หลอกลวงทางสุขภาพมากถึง 1 ใน 3 โดยเฉพาะยาลดน้ำหนัก ยาสมุนไพร ทำให้เราขาดโอกาสในการรักษาอย่างถูกต้อง

หนังสือนิทานควรอ่าน

ในช่วงโควิด-19 เด็กเรียนทางออนไลน์ แม้จะเรียนรู้ไม่ได้อย่างเต็มที่ แต่บางส่วนก็เติมเต็มความรู้ได้ ฝากถึงผู้ปกครองครูบาอาจารย์ ทำอย่างไรให้เกิดความสมดุลในการเรียนทางออนไลน์ การส่งเสริมกิจกรรมในการเล่น ให้เด็กไทยเล่นได้อย่างอิสระวันละ 60 นาที  เด็กส่วนหนึ่งทำได้เพียง 20% เด็กเล่นตามที่ควรจะเล่นมีส่วนพัฒนาการทางสมอง การเรียนรู้ มิฉะนั้นจะส่งผลระยะยาว 20-30 ปีข้างหน้าเมื่อเติบโตขึ้นปัญหาไขมันพอกพูน ทำอย่างไรให้ชีวิตประจำวันไม่ติดเกม กับสิ่งเร้ารอบตัว ติดการพนัน พ่อแม่มีบทบาทอ่านนิทานให้ลูกฟัง พาไปเที่ยว ทำกิจกรรมวาดรูป เที่ยวพิพิธภัณฑ์ เล่นดนตรี ออกกำลังกาย การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น

นางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. กล่าวว่า เว็บไซต์ธนาคารหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัยออนไลน์ เกิดขึ้นเพื่อจะนำไปสู่คำตอบสำคัญของการร่วมแก้ไขปัญหาวิกฤต พัฒนาเด็กปฐมวัยที่กำลังเผชิญภาวะพัฒนาการถดถอย ขณะเดียวกัน ได้ใช้พลังของการอ่านในการพัฒนาเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 อย่างเต็มศักยภาพให้เกิดความสมดุล ทั้งโลกดิจิทัลด้วยการวางฐานการสร้างสมรรถนะ  สร้างทักษะชีวิต และทักษะเท่าทันสื่อ สร้างปรากฏการณ์ “มหัศจรรย์แห่งการอ่าน” ในการขยายพื้นที่เรียนรู้อย่างกว้างขวาง เพื่อร่วมสร้างสังคมสุขภาวะที่ปรารถนาให้เป็นจริง

ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย กล่าวว่า อินเทอร์เน็ตเริ่มใช้เมื่อปี 2535 ในช่วงแรกเป็นการโปรโมตให้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา แสวงหาความรู้ ติดต่อสื่อสาร การทำธุรกิจ การดึงเด็กมาหาจอเป็นเรื่องใหม่สำหรับเมืองไทย แต่ปัจจุบันกลายเป็นสังคมก้มหน้า เราต้องดึงเด็กออกห่างจากจอ จากเทคโนโลยี ส่งเสริมเทคโนโลยีในการอ่านอย่างถูกต้อง ทุกที่ ทุกเวลา

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม Zoom

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตัดวงจรความรุนแรง เลิกให้โอกาสที่ 2

เรื่องราวของจีจี้ - นางสาวสุพิชชา ปรีดาเจริญ เนตไอดอลชื่อดัง ซึ่งถูกคู่รักทำร้ายหลายครั้ง แต่จีจี้ยื่นโอกาสให้กับฝ่ายชาย สุดท้ายเธอต้องจากไปด้วยน้ำมือของคนที่รัก ก่อนแฟนหนุ่มจบชีวิตตัวเองตาม  ถูกหยิบยกนำมาเป็นบทเรียนราคาแพงเตือนสติคนในสังคมออกจากความสัมพันธ์

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน