สมัชชาสาธารณะหยุดฝุ่นจิ๋วพีเอ็ม2.5 ไทยถือธงผู้นำอาเซียน'ลมหายใจสะอาด'

ลมหายใจสะอาดเกิดขึ้นได้ต้องได้รับความร่วมมือ สสส.-สช.-ทส.เปิดเวทีสมัชชาสุขภาพ เสนอแนวทางแก้ปัญหาฝุ่นจิ๋วพีเอ็ม 2.5 สานพลังดึงภาครัฐ-เอกชน-ประชาสังคมมีส่วนร่วมเป็นวาระแห่งชาติ ชงร่างมติสมัชชาสาธารณะ ผลักดันนโยบายบังคับใช้กฎหมาย-เสริมแนวคิดลดเผา-การจัดการเชิงพื้นที่-ส่งต่อองค์ความรู้-พัฒนานวัตกรรม มุ่งลดผลกระทบสุขภาพประชาชน กำจัดฝุ่นละอองควันทุกรูปแบบ

ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงงาน ไอเสียจากยานพาหนะ การเผาขยะ หมอกควันข้ามแดนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตเป็นอันดับ 5 ของโลก ทั้งนี้ จากสถิติเมื่อปี 2558 นอกจากนั้นยังกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ สังคมเศรษฐกิจ ภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ

นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวเปิดงาน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จัดงาน “สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ” เมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคราชการ ภาคการเมือง ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคมและภาคเอกชน เข้าร่วมงานกว่า 400 คน ในระบบ Zoom

นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการ สช. กล่าวว่า มลพิษทางอากาศจากฝุ่นพีเอ็ม 2.5 เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยที่สะสมมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี จากข้อมูลการตรวจสอบคุณภาพอากาศ โดยศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ เมื่อเดือนมีนาคม 2564 พบว่า ทุกภูมิภาคมีปริมาณฝุ่นพีเอ็ม 2.5 เกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยภาคเหนือตรวจวัดได้สูงสุดอยู่ที่ 166 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือว่าเกินค่ามาตรฐานที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกว่า 5 เท่า

ชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

การจัดงานสมัชชาสุขภาพครั้งนี้จึงเน้นการจัดทำนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม โดยเปิดพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วมงานทุกคนเป็นกำลังสำคัญในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ สวมบทบาทเป็นทั้งผู้สร้าง ผู้กำหนด และผู้รับประโยชน์จากนโยบายสาธารณะ โดยร่วมพิจารณาร่างมติสมัชชาต่อประเด็นมลพิษทางอากาศจากฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพร่วมกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางการรับมือกับปัญหามลพิษทางอากาศที่จะเกิดขึ้นในปี 2565

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ของ ทส. กล่าวว่า ปัญหาฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ เกิดจากสาเหตุสำคัญ 5 ข้อดังนี้ 1.แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่ระบายมลพิษเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ 2.การเผาในที่โล่งจากการเกษตร 3.การบริหารจัดการเชื้อเพลิงที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนงานและทันต่อสถานการณ์ 4.ข้อจำกัดด้านข้อมูลวิชาการเพื่อการบริหารจัดการ และ 5.ประชาชน รวมถึงภาคส่วนต่างๆ ยังไม่มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา จึงต้องเร่งบูรณาการแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดข้อเสนอทางนโยบายที่มีความสอดคล้องกับบริบทและเงื่อนไขเฉพาะแต่ละพื้นที่

อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)

ปี 2565 ภายใต้ Road Map มีประเด็นการระมัดระวังการเพิ่มฝุ่นละอองจากจำนวนรถเก่าที่มีจำนวนมาก ส่งเสริมมาตรการ Work From Home การใช้ระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าให้มากขึ้น จัดระเบียบการเผาไร่ข้าวโพด มีการใช้ดาวเทียมแบบจำลองซูเปอร์คอมพิวเตอร์ด้วยการพยากรณ์ล่วงหน้า Air for Thai ปัจจุบันมีผู้ใช้ 7 ล้านคน

"ต่อไปทุกคนจะทราบว่าในสถานการณ์ฤดูฝุ่นจะป้องกันและช่วยเหลือกันได้อย่างไร แหล่งกำเนิดฝุ่นอยู่ที่ไหน ถือเป็นความท้าทาย ซึ่งการประชุมคณะทำงานที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ให้ใช้เครื่องจักรจัดเก็บบดอัดป้อนโรงไฟฟ้าชุมชนภาคเอกชน โรงไฟฟ้าชีวมวลแปรรูปเป็นอย่างอื่น การลงทุนภาคการเงินของธนาคารเกิดวงจรนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดรายได้ควบคู่กัน การปฏิรูปที่ดินโดยไม่ใช้ไฟฟ้า ส่งเสริมใช้ประโยชน์ที่ดินเกษตรผสมผสาน เกิดผลตอบแทนระยะยาว มีผลต่อสุขภาวะอนามัยเป็นการช่วยกันอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำ"

ส่วนปัญหาหมอกควันข้ามแดนมีข้อตกลงความร่วมมือกัน แจ้งเตือนประเทศเพื่อนบ้านในการถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้ให้กับประเทศเพื่อนบ้าน สื่อสารกันอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ประเทศไทยพร้อมที่จะเป็นผู้นำในอาเซียนเพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยกันสร้างลมหายใจสะอาดเป็นมติ ครม.ในปี 2565

ผู้เข้าร่วมเสวนาผ่านทาง Zoom

นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ จาก สสส. กล่าวปิดการประชุมว่า ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 กลายเป็นต้นเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนไทย โดยเฉพาะเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจต่างๆ  สสส.ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างยิ่งยวด จึงมุ่งสานพลังทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการทำงานตั้งแต่ระดับพื้นที่ไปจนถึงระดับนโยบาย

ที่ผ่านมา สสส.ร่วมกับสภาลมหายใจ 8 จังหวัดภาคเหนือ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมทำงานอย่างทุ่มเท แก้ปัญหาวิกฤตฝุ่นพีเอ็ม 2.5 อย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในระดับภูมิภาค เช่น ลดการเผาภาคเกษตร จัดทำแนวกันไฟชุมชน สานพลังประเทศเพื่อนบ้านลดปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน ดังนั้น การร่วมกันกำหนดทิศทางนโยบายเพื่อผลักดันการจัดการปัญหาพีเอ็ม 2.5 โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมีเป้าหมายที่จะหายใจด้วยอากาศสะอาดอย่างเท่าเทียมกัน จะสามารถสะท้อนปัญหา ความต้องการ วิธีแก้ไขที่มาจากความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอทางนโยบายระดับท้องถิ่นและระดับชาติด้วยมาตรการและแนวทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

“สมัชชาสุขภาพเห็นชอบรับรองร่างมติสมัชชาเฉพาะประเด็นมลพิษทางอากาศจากฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ มุ่งสร้างพื้นที่กลางของทุกภาคส่วนในสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมและขับเคลื่อนการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศในทุกมิติครอบคลุมประเด็นด้านกฎหมายและนโยบาย ด้านการจัดการป้องกันและลดปัญหาจากต้นเหตุที่สำคัญ ด้านการขับเคลื่อนบริหารจัดการเชิงพื้นที่และชุมชนเป็นฐาน ด้านวิชาการพัฒนาองค์ความรู้ ข้อมูล และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยข้อตกลงร่วมหรือพันธสัญญานี้ใช้เป็นแนวทางดำเนินการและติดตามอย่างต่อเนื่อง ของหน่วยงานสุขภาพทุกภาคส่วนและภาคีเครือข่ายสมัชชาทุกภาคส่วน รวมทั้งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนงานของ สสส. เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป”นายชาติวุฒิกล่าวสรุป.

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567

ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์

ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง