สสส. ผนึกภาคีฯ เสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ทางรอด ‘แรงงานข้ามชาติ’ ฝ่าโควิด-19

ทุกคนที่พักอาศัยในประเทศไทยจะได้รับการดูแลและการคัดกรองโรคเป็นอย่างดี ทั้งก่อนและหลังฉีดวัคซีนอย่างปลอดภัย โดยบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ  สสส.จัดกิจกรรมลงพื้นที่ ชุมชนแรงงานข้ามชาติ ชุมชนเทียนทะเล26ซอย9 เขตบางขุนเทียน รับชุด Isolationเพื่อนกันวันติดโควิด  ส่งต่อความห่วงใย ให้กำลังใจ จากเพื่อนถึงเพื่อน เพื่อให้คนไทยผ่านช่วงสถานการณ์โควิด-19ไปได้อย่างปลอดภัย ท่ามกลางบรรยากาศแรงงานข้ามชาติอุ้มลูกจูงหลานยืนและนั่งกลางลานพื้นที่โล่งระหว่างอาคารคอนกรีต5ชั้นล้อมรอบ  มีช่องลูกกรงที่เจ้าของโผล่หน้าสังเกตการณ์ดูจากมุมสูงและตามระเบียงอาคาร

ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการ สำนัก9 สสส.ที่หน้าแฟลตชุมชนเทียนทะเล

คุณภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ(สำนัก9) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วย ภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์กิจการสร้างสุข สสส. ลงพื้นที่มอบชุด Home Isolation เพื่อนกันวันติดโควิด 850 ชุด ให้แก่ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท (มยช.) เพื่อนำไปส่งต่อกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ขาดโอกาสเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันจำเป็นในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ชุมชนแรงงานข้ามชาติเทียนทะเล ซอย 26 เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯเมื่อเร็วๆ นี้

ในโอกาสนี้ คุณภรณีได้กล่าวทักทายว่า “มิงกาลาบา” และเปิดเผยว่า แรงงานข้ามชาติในประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่มประชากรกลุ่มเปราะบางที่ต้องได้รับการดูแลด้านสุขภาวะเทียบเท่ากับคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากการสำรวจของ สสส. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับ "สถานการณ์ทางสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ" โดยวัดจากเครื่องมือวัดระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3อ2ส. พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 92.71 และเข้าไม่ถึงการรักษาในโรงพยาบาล ส่วนใหญ่แรงงานข้ามชาติเจ็บป่วยจะซื้อยามารับประทานเอง

ภรณี ภู่ประเสริฐ  ภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์  เพ็ญศิริ บุญปิยะวงศ์  ประธานชุมชนวงแหวนแสงประทีป  ลัดดาวัลย์ หลักแก้ว  มูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท(มยช.) สำเริง สิงห์ผงาด  เจ้าหน้าที่ภาคสนาม มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.)

"จะเห็นได้ว่าในย่านนี้จะมีร้านขายยาเป็นจำนวนมาก ก่อนหน้านี้สสส.และภาคีเครือข่ายมูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท(มยช.)มูลนิธิศุภนิมิตฯเข้ามาในพื้นที่เพื่อช่วยเหลือการสร้างโอกาสทางด้านการศึกษาให้กับลูกๆของแรงงานข้ามชาติ เพราะเด็กไม่ได้เข้าโรงเรียน อ่านและเขียนหนังสือไม่ได้" ผอ.ภรณีกล่าวและว่า

สสส. เห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงสานพลังกับ มยช. มูลนิธิศุภนิมิตฯ และภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมกว่า 20 องค์กร พัฒนากลไกระบบบริการสุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามในสถานประกอบการกว่า 170 แห่ง และชุมชนแรงงานข้ามชาติใน 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสาคร ราชบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง กาญจนบุรี ตาก ระนอง ตราด ชุมพร และเชียงราย มุ่งเป้าให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและเท่าเทียม ในกรณีที่ป่วยโควิด-19มาแล้วต้องระวังไม่ให้ป่วยซ้ำสองอีก

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2563 สำหรับชุมชนเทียนทะเล ซอย 26 เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ มีแรงงานข้ามชาติอาศัยอยู่กว่า 5,000 คน จากการตรวจสองรอบ พบผู้ติดเชื้อในเดือนสิงหาคม686คน โดยขณะนี้ยังมีผู้ติดเชื้ออีก41คน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นสสส.จึงร่วมกับมยช. มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่าย เข้ามาจัดกระบวนการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการป้องกันโรคโควิด-19 โดยจัดทำสื่อรณรงค์ให้ความรู้ 10 ภาษา แบ่งเป็นภาษาแรงงานข้ามชาติ 4 ภาษา ได้แก่ เมียนมา ลาว กัมพูชา อังกฤษ และภาษาชาติพันธุ์ 6 ภาษา ได้แก่ ปกาเกอะญอ ม้ง อูรักลาโว้ย ลาหู่ อาข่า ไทใหญ่ พร้อมพัฒนามาตรการการดูแลผู้ป่วย ทั้งในชุมชนและสถานประกอบการ

แผ่นปลิวความรู้ภาษาต่างๆ

“มาตรการการดูแลผู้ป่วยในชุมชนและสถานประกอบการ สสส. ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย เสริมศักยภาพแกนนำแรงงานข้ามชาติ หรืออาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) 99 คน ให้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องมาตรการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยระบบกักตัวที่บ้านและชุมชน (Home-Community Isolation) พร้อมวิธีการตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 เชิงรุก เพื่อให้ผู้ติดเชื้อเข้าถึงการรักษาเร็วที่สุด ลดการแพร่ระบาดในชุมชมแรงงานข้ามชาติวงกว้าง โดยชุมชนเทียนทะเล ซอย 26 ถือเป็นพื้นที่ต้นแบบที่มีมาตรการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ โดย สสส. เตรียมถอดบทเรียนเพื่อนำไปสู่การปรับใช้เป็นมาตรการเฝ้าระวังในชุมชนอื่นๆ ในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ ให้ครอบคลุมแรงงานข้ามชาติและครอบครัว 30,000คนขณะเดียวกันยังจัดทำแผ่นปลิวเอกสารให้ความรู้188รายการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพ  เขายังรับประทานอาหารรสจัดใส่ผงชูรส ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ” คุณภรณีกล่าว

ภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์กิจการสร้างสุข สสส.

คุณภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์กิจการสร้างสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)กล่าวว่า ศูนย์กิจการสร้างสุข หรือ SOOK Enterprise สสส. จัดทำชุด Home Isolation เพื่อนกันวันติดโควิด โดยคัดเลือกอุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรคที่มีคุณภาพได้มาตรฐานจากความร่วมมือของภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ รวม12ชิ้น อาทิ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ปรอทวัดไข้ดิจิทัล หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ น้ำยาทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค ถุงขยะสีแดงสำหรับใส่ขยะติดเชื้อ ทั้งนี้สสส.เตรียมชุด Home Isolation เพื่อนกันวันติดโควิด 3,700 ชุด ให้ภาคีเครือข่ายนำไปกระจายให้ประชากร กลุ่มเฉพาะที่มีความต้องการ อาทิ กลุ่มคนไร้บ้าน กลุ่มคนพิการ

แรงงานต่างด้าวพร้อมเด็กๆหน้าบริเวณที่พักชุมชนเทียนทะเล26

เด็กๆลูกแรงงานพม่า

สื่อสารทำความเข้าใจกับแรงงานต่างด้าวถึงการดูแลตัวเอง

 

 

หนังสือนิทานเรายังรักกันทุกวันจ้ะ

คู่มือดูแลสุขภาพในรูปแบบหนังสือนิทานเรื่อง "เรายังรักกันทุกวันจ้ะ"

เรื่อง:ระพีพรรณ พัฒนาเวช  

ภาพ:วชิราวรรณ ทับเสือ  กฤษณะ กาญจนาภา 

แปล:องมาอู

คุณยายไปเล่นทรายกัน อ๊ะ อ๊ะ ช่วงนี้สนามเด็กเล่นปิดจ้ะ อ๊ะอ๊ะ ยังเล่นด้วยกันไม่ได้จ้ะ  พ่อหมีกลับมาแล้วจ้ะ  อ๊ะอ๊ะอย่าเพิ่งกอดกันนะ แง แง เล่นก็ไม่ได้ แง แง กอดก็ไม่ได้ ทำไม ทำไมทำไมกอดด้วยไม่ได้ล่ะ  โอ๋โอ๋ มานี่มา พ่อหมีมีหนังสือมาฝาก คุณยายอ่านนิทานให้ฟังนะจ๊ะ หมีเล็กรู้ไหม ตอนนี้มีโรคระบาด ชื่อโรคโควิด-19 เด็กๆต้องระวังมากๆ  ถึงแม้จะกอดชื่นใจไม่ได้ แต่ลูกหมียังเตรียมขนมชื่นใจให้พ่อหมีได้ แล้วยังเตรียมบอกรักพ่อหมี แบบไม่ต้องกอดกันได้ด้วยนะ  พ่อหมีกลับมาแล้วจ้ะ  เมื่อโรคโควิด-19หายไป พ่อหมีไม่ต้องทำงานหนัก ไม่ต้องกลัวติดเชื้อโรค และจะได้กอดลูกหมีเล็กแน่นๆเหมือนเดิม เมื่อโรคโควิด-19หายไป หมีเล็กจะได้เล่นกับกระต่ายน้อย เล่นด้วยกันทุกๆวันเหมือนเดิม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567

ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์

ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)