ออกพรรษาลาเหล้า ปลุก'ชุมชน'สู้-รู้ทันกลยุทธ์น้ำเมา

หลังจากวันที่ 1 พ.ย. ไทยเริ่มเปิดประเทศ  ศบค.ประกาศให้พื้นที่สีฟ้า 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพ กระบี่ พังงา ภูเก็ต เป็นพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวสามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้แล้ว โดยให้ลูกค้านั่งดื่มในร้านได้จนถึงเวลา 21.00 น. นอกจากนี้ ยังมีงานออกพรรษาที่จัดขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ เสี่ยงต่อการรวมกลุ่มตั้งวงดื่มเหล้า หากประมาทการ์ดตกอาจเกิดคลัสเตอร์โควิดใหม่ได้  

เพื่อกระตุ้นให้คนไทยใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังและเปลี่ยนพฤติกรรมลด ละ เลิก น้ำเมา สร้างสุขภาวะที่ดี  ส่วนคนที่งดเหล้าเข้าพรรษาได้แล้ว ให้ใช้โอกาสออกพรรษาลาขาดจากแอลกอฮออล์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับเครือข่ายองค์กรงดเหล้า จัดเสวนาออนไลน์ “ออกพรรษาลาเหล้า..เข้าสู่ชีวิตใหม่”   เมื่อวานนี้ ซึ่งตลอดปี 2564 ที่ผ่านมา ขับเคลื่อนรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาเข้มข้น ลุยสร้างชุมชนคนสู้เหล้าไม่หยุดใน 9 ภูมิภาค ด้วยโมเดล 3 ช. คือ ชวน ช่วย เชียร์  ผ่านนักรณรงค์ในพื้นที่ และสร้างความร่วมมือต่างๆ กับภาคีเครือข่าย

นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า เครือข่ายงดเหล้าและ สสส. ทำงานในพื้นที่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสถานศึกษา และกลุ่มชุมชน ภายใต้แนวคิด “สื่อรักให้พักเหล้า” มีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการ 2,000 แห่ง   และในชุมชนกว่า 513 แห่ง เป็นระดับหมู่บ้าน ทำงานร่วมกับนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม  รัฐวิสาหกิจ เช่น  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยหรือ (อสค.) อย่างต่อเนื่อง

“ เข้าพรรษามีคนปฏิญญาณตนร่วมงดเหล้าครบ 3 เดือน จำนวน 16,651 คน ประหยัดเงินได้ 56 ล้านบาท ถ้าทำทั้งประเทศประหยัดได้ 3 หมื่นล้าน  เราอยากขยายแกนนำชมรมคนหัวใจเพชร คนหัวใจหิน คนหัวใจเหล็ก ให้มากขึ้น ผลลัพธ์มากกว่าจำนวนคน ตัวเงิน  แต่คือ ความสุขของครอบครัวและความปลอดภัยจากโควิด ในช่วงโรคระบาดยังปรับแผนนอกจากชวนงดเหล้าแล้ว สร้างความรู้ความเข้าใจโควิด รวมถึงวิธีเบื้องต้นในการดูแลผู้ป่วยโควิดที่กักตัวบ้าน  รวมทั้งส่งเสริมอาชีพ ทำเกษตรให้พึ่งพาตนเองได้  ส่วนผลสำรวจความสำเร็จภาพรวมระดับประเทศโครงการงดเหล้าเข้าพรรษา ปี 64 จากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) กำลังรวบรวมข้อมูลและสรุปสถิติ คาดว่า เดือน ก.พ.ปีหน้า จะแล้วเสร็จ เข้าพรรษาเปลี่ยนแปลงชีวิตของคน ออกพรรษาแล้วจะมาลาเหล้าเข้าสู่ชีวิตใหม่กัน “ นายธีระให้ภาพชัดเจน

ด้าน นายวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการกำกับทิศทางแผนงานรณรงค์เพื่อควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สสส. กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 สังคมต้องปรับการดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ สสส. เปิดกว้างและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนให้เป็นพื้นที่ปฏิบัติการ  เน้นพัฒนาศักยภาพชุมชน และขยายผลการทำงานลดปัจจัยเสี่ยงจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านโครงการ “ชุมชนคนสู้เหล้า” จนเกิดเป็นรูปธรรม ต่อยอดเป็นกลุ่มชมรมคนหัวใจเพชรที่เลิกดื่มเหล้าสำเร็จมาช่วยรณรงค์ต่อในชุมชนได้ ในสถานการณ์โควิดชุมชนปลอดเหล้ามีส่วนแบ่งเบาภาระบุคลากรทางการแพทย์ เพราะไม่มีความเสี่ยงติดเชื้อจากการตั้งวงดื่มหรือดื่มแก้วเดียวกัน ขณะที่ธุรกิจแอลกอฮอล์ก็ปรับตัว ยอดขายแต่ละค่ายยังดี ช่วงที่มีมาตรการห้ามดื่มในร้าน ผับ บาร์ ธุรกิจหันไปเจาะลูกค้าผ่านระบบออนไลน์ ดื่มที่บ้าน

“ ธุรกิจน้ำเมากลยุทธ์เน้นร้านค้าปลีกในหมู่บ้านและท้องถิ่น รวมถึงนำเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพการขาย แต่รัฐออกกฎห้ามค้าขายแอลกอฮอล์ผ่านออนไลน์ ปรับตัวขยายเครื่องดื่มสุขภาพมากขึ้น ซึ่งตอกย้ำแบรนด์สินค้าได้ดี ทั้งยังเสริมความแข็งแกร่งทีมงานพร้อมรับ New Normal และ Next Normal ฉะนั้น เครือข่ายงดเหล้าและชุมชนต้องถอดบทเรียน เพิ่มความเข้มแข็ง และรู้เท่าทันกลยุทธ์ เพื่อเกิดประโยชน์กับการทำงานในพื้นที่    ทำให้ผู้ที่ร่วมโครงการงดเหล้าเข้าพรรษามากขึ้น  ชุมชนปลอดเหล้าเพิ่มขึ้น และดึงร้านค้าชุมชนร่วมขับเคลื่อน อีกทั้งจำเป็นต้องเพิ่มเทคโนโลยีดิจิทัลในการทำงานรณรงค์มากขึ้นกับแกนนำในทำงานชุมชนสู้เหล้า เพื่อให้การทำงานตลอดปีเข้มแข็งยิ่งขึ้น   “ กรรมการกำกับทิศทางฯ แนะแนวทางสู้ศึกธุรกิจแอลกอฮอล์  

เวทีออนไลน์ครั้งนี้ชวน”คนหัวใจหิน”แชร์ประสบการณ์เลิกเหล้าเด็ดขาดตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา หลังออกพรรษาแล้วเขาและเธอยังไม่ขอข้องเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ เพราะเข้าใจแล้ว ยิ่งดื่มยิ่งจน ยิ่งดื่มสุขภาพยิ่งทรุดโทรม ชีวิตมืดมนไร้หนทางถ้าหลงในวังวนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

นายผจญ แก้วเพชร วัย  45 ปี เครือข่ายนักบิดจิตอาสา จ.สงขลา เล่าว่า ดื่มครั้งแรกอายุ 16 ปี เพราะอยากได้รับการยอมรับจากรุ่นพี่ แต่กลับเกิดผลเสียในครอบครัวมากกว่า พ่อก็เสียชีวิตเพราะเมาสุรา ต้องเสียเพื่อนเพราะเมาเหล้า เกือบ 30 ปีที่เมาหัวราน้ำ แต่รอดชีวิตมาได้ มองย้อนกลับไปใช้ชีวิตอย่างประมาท ตัดสินใจหยุดดื่มตั้งแต่มีโควิดระบาด และทำสิ่งที่เกิดประโยชน์กับตัวเอง   ตนใช้เวลาว่างขับขี่มอเตอร์ไซค์ท่องเที่ยว และมีโอกาสรู้จักกับเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนล่าง และ สสส. เรียนรู้โครงการงดเหล้าเข้าพรรษา รับรู้กรณีเหยื่อเมาแล้วขับ   ตนไม่อยากมีส่วนในการทำลายอนาคตของใคร จากหยุดตั้งเป้าจะเลิกเหล้าให้ได้  เพราะนอกจากสุขภาพดี ยังมีเงินเหลือใช้จ่ายในครอบครัว

ด้านนางสาวศิริลักษณ์ ภูลิ้นลาย ชาวกาฬสินธุ์ วัย 34 ปี อดีตสาวนักดื่มเข้าสังคม ตัดสินใจหันหลังให้ขวดเหล้าแม้ดื่มมา 20 ปีแล้ว บอกว่า  สุขภาพร่างกายได้รับผลกระทบจากการดื่ม   ครอบครัวไม่มีความสุข  เงินก็ไม่มี ทะเลาะกันบ่อย เพราะสามีดื่มเหล้าเหมือนกันแต่คนละวง ลูกก็ขอให้พ่อแม่เลิก  สามีเลิกเหล้าก่อนและชวนให้ตนเลิกก็ตัดสินใจใช้โอกาสช่วงงดเหล้าเข้าพรรษาเข้าร่วมกับเครือข่ายองค์กรงดเหล้า จะมีคนมาเยี่ยม ให้กำลังใจ ให้เมล็ดพันธุ์ผักมาให้ปลูกเพื่อสร้างกิจกรรมในครอบครัวช่วงเข้าพรรษา  ชีวิตหลังงดดื่มเหล้าเปลี่ยนแปลงดีขึ้น ไม่เจ็บป่วย เงินพอใช้ แทนที่จะไปซื้อเหล้าก็เก็บไว้ให้ลูก  ลูกภูมิใจที่แม่เลิกเหล้าได้ สำหรับนักดื่มอยากให้คิดถึงสุขภาพและ คิดย้อนไปเงินค่าเหล้าก็เป็นค่าบ้าน ค่าเล่าเรียนได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเครียด..ภัยเงียบของสังคมไทย! ห้ามไม่ได้..แต่รู้เท่าทันอยู่ให้เป็นได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

ครั้งแรก!! สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย สร้าง“สังคมปลอดคุกคามทางเพศ”

ปัญหาสังคมในสถานที่ทำงาน อย่างการคุกคามทางเพศ ไปจนถึงการบูลลี่ด้วยสายตาและวาจา เป็นเรื่องจริงที่หลายคนเลือกที่จะนิ่งเฉย และมองข้าม

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาฯ ร่วมกับสสส. ระดมสมองกว่า 20 ภาคี ร่วมจัดทำแผนจัดการความปลอดภัยทางถนนปี 2568

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม เดินหน้าขับเคลื่อนสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ปอด..คนไทยไม่ปลอดภัย "PM2.5-บุหรี่ไฟฟ้า"ตัวร้าย!!

อันตรายที่มองไม่เห็นอย่างฝุ่น PM2.5 กำลังคร่าชีวิตและบ่อนทำลายสุขภาพของคนในสังคมไทยอย่างเงียบเชียบ ด้วยตัวเลขที่มีการยืนยันว่า คนไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5

ต้อนรับเทศกาลPride Month รู้ให้จริง..กม.รับรองเพศสภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศถอนภาวะการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในบัญชีจำแนกโรคสากลฉบับที่ 10 (ICD-10)

โพลชี้เกือบ 1 ใน 4 เคยพบ/เห็นการคุกคามทางเพศในที่ทำงานอีก 126 คน เจอกับตัว กอด-จูบ-ลูบ-คลำ มีครบ ม

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลัง ภาคีเครือข่าย ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันการคุกคามทางเพศ โ