1 ส.ค. 2565 – ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เราสามารถติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงจากที่นั่งส้วมในห้องน้ำได้หรือไม่
คำถามนี้กระตุ้นให้มีการทบทวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีการแพร่เชื้อของไวรัสฝีดาษลิงระหว่างคนสู่คน (ภาพ1)
ผิวหนังปรกติของคนเราจะเป็นปราการด่านแรกและด่านสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อจากบรรดาจุลชีพ รวมทั้งไวรัสฝีดาษลิงจากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ สังเกตจากการปลูกฝีในอดีตที่ใช้เชื้อไวรัสฝีดาษม้า “ vaccinia virus” (ซึ่งเดิมเราเข้าใจกันว่าเป็นเชื้อไวรัสฝีดาษวัว) มาปลูกฝี ต้องใช้วัตถุมีคม เช่น มีดปลายแหลม หรือ เข็ม มากรีด หรือขีดข่วนผิวหนังบริเวณต้นแขนให้เกิดแผล(เลือดไหลซิบ) ก่อนหยดหนองฝีจากสัตว์ลงไปเพื่อช่วยให้ไวรัสเชื้อเป็นในหนองฝีเข้าสู่ผิวหนังและเพิ่มจำนวนกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้
จากประสบการณ์ตรงในอดีตที่เคยถูกปลูกฝีร่วมกับเพื่อนในชั้น เพื่อนหลายคนปลูกฝีไม่ขึ้น (ไม่เกิดแผลเป็น) ต้องมาปลูกฝีซ้ำกันอีกรอบ อันแสดงให้เห็นว่าการติดเชื้อไวรัสฝีดาษผ่านทางผิวหนังไม่ได้เกิดขึ้นได้โดยง่าย เว้นแต่ผิวหนังบริเวณนั้นมีรอยถลอกหรือเป็นแผลสด ขนาดผิวหนังมีรอยถลอกหรือแผลไม่ลึกมากพอเชื้อไวรัสก็ไม่สามารถมาติดเราได้ จึงอาจพอตอบคำถามได้ว่าเป็นการ “ยากมาก” ที่เราจะติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงจากที่นั่งส้วม เว้นแต่เรามีแผลสดที่ก้น
โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อเข้าสู่ร่างกายผ่านผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือบาดแผลสด รวมทั้งสามารถเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุต่างๆ เช่นเยื่อบุในปาก เยื่อบุโพรงจมูก เยื่อบุดวงตา เยื่อบุช่องคลอด เยื่อบุทวารหนัก ฯลฯ โดยผ่านทางนิ้วมือ อวัยวะเพศ หรือ วัตถุที่เป็นพาหะนำโรค (fomite) เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว เซ็กซ์ทอย (ที่กับช่องคลอดหรือกับรูทวาร) ที่ใช้ร่วมกันโดยยังมิได้ชำระฆ่าเชื้อ
ในปี ค.ศ. 1798 หรือประมาณ “224 ปี” ที่ผ่านมา นพ.เอดเวิร์ด เจนเนอร์ ชาวอังกฤษได้เผยแพร่วิธีปลูกฝี โดยผู้ที่เข้ารับการปลูกฝี จะถูกกรีดบริเวณต้นแขนให้เกิดแผลสดก่อนการหยดหนองฝีจากสัตว์ลงไป (vaccination) (ภาพ2) พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษ (smallpox) ได้ตลอดชีวิต
ในปี ค.ศ. 1720 หรือประมาณ “302 ปี” ที่ผ่านมา ในประเทศจีนและอินเดีย ได้มีการใช้หนองฝีของคนที่เป็นฝีดาษทำให้แห้ง บดเป็นผง และเป่าผ่านเข้าทางรูจมูก (mucosal vaccination) ของผู้คนที่ต้องการจะป้องกันตนเองจากการติดเชื้อฝีดาษในสมัยนั้น เรียกวิธีนี้ว่า “Variolation” (ภาพ2) ไวรัสจะเข้าไปในเยื่อบุทางเดินหายใจเพิ่มจำนวนในวงจำกัดและเกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องกันต่อการติดเชื้อไวรัสฝีดาษ
ในทั้งสองกรณีที่กล่าวพิสูจน์ว่ามนุษย์เราสามารถติดเชื้อฝีดาษผ่าน รอยถลอก บาดแผลสด และเยื่อบุ (mucosal tissue) ในร่างกาย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สัญญาณอันตราย!สหรัฐพบไวรัสไข้หวัดนกในหมูเสี่ยงระบาดครั้งใหม่
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ศูนย์สนับสนุนพันธกิจ
มาอีกแล้ว! ไวรัสตัวใหม่ 'มาร์บูร์ก' น้องๆอีโบลา
เพจศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ศูนย์สนับสนุนพันธกิจ
ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
คู่มือฉบับเร่งด่วนที่เจ้าของควรรู้ 'ไข้หวัดนก' ในแมว-สุนัข
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "31 รัฐในสหรัฐ เผชิญไข้หวัดนกในแมวและสุนัข
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ