แนะวิธีเสริมระบบภูมิคุ้มกันสู้ 'โควิด' แบบง่ายๆ รวดเร็ว

29 ก.ค. 2565 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ตากแดด เดินหมื่น อบร้อน เข้าใกล้มังสวิรัติ… ไม่เสียเงิน กลับแข็งแรง

การติดโควิดหลายครั้ง จะเพิ่มผลกระทบมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งปอด หัวใจ สมอง และส่วนอื่นๆ

การติดเชื้อไป และการฉีดวัคซีน เป็นการเสริมภูมิที่เจาะจง (adaptive immunity) เฉพาะกับโควิดก็จริง แต่โควิด ปัจจุบัน หนีห่างออกไปเรื่อยๆ เช่น โอมิครอน BA.4/5 จนวัคซีนไล่จับไม่ทัน ถ้าจะผลิตให้เจาะจงกับ โอมิครอน BA 4/5 กลับป้องกันได้ไม่ดีเท่ากับสายอื่นที่ผ่านมา แม้จะลดอาการหนักได้ ซี่งเป็นผลรวมจากวัคซีน และการติดเชื้อเก่าก่อนที่ผ่านมาด้วย

การลดอาการหนัก และตาย เป็นส่วนที่ได้ประโยชน์จากติดเชื้อเดิม และวัคซีน แต่ทั้งนี้ อาจอธิบายผ่านทาง อีกกลไกของ innate immunity ทั้งความฉับพลัน ของกลไกเซลล์นักฆ่า (NK natural killer cell) อินเตอร์เฟียรอน ระบบcomplement และ IP-10 เป็นต้น

ทางเสริมหรือทางที่ทำให้เราแข็งแรงขึ้น คือเรากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน แบบรวดเร็วฉับพลัน ไม่เจาะจง ศัตรูหน้าไหนมา สู้หมด (innate immunity) ด้วย

เช่น ให้ถูกแดดเช้า หรือ บ่าย เย็น และอากาศร้อน อาบน้ำร้อน มีหลักฐานแล้ว ลด mitochondrial stress ลดอนุมูลอิสระ จนเพิ่ม innate immunity เดินวันละ 10,000 ก้าว

เราเดินทางตามหลังไวรัสมาตลอด ที่เพิ่ม adaptive อย่างเดียว ถึงเวลาสร้างความแข็งแกร่ง ทั้งทุกระบบของภูมิคุ้มกันแล้วครับ

ขยัน ไม่เสียสตางค์ กินผักผลไม้กากไยให้มาก เท่านี้เอง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน

บิดสะบัดคอระวังอัมพฤกษ์! ‘หมอธีระวัฒน์’ แนะวิธีแก้เมื่อยคอด้วยตัวเองที่ถูกต้อง

เรื่องใกล้ตัวที่เป็นท่าบริหารประจำหรือที่ทำ เวลาเมื่อย หรือเป็นกระบวนการในการนวดคลายเมื่อย ดัดเส้น รวมทั้ง เป็นกรรมวิธีในการบำบัดทางกายภาพและจัดกระดูก

‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'

หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform