พลังรุ่นใหม่ค้านบุหรี่ไฟฟ้าถูก กม. ล้มกระดานดีอีเอส

หลังจากนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Des) พยายามผลักดันให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย จนเกิดกระแสสังคมไม่พอใจและไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวอย่างร้อนแรงกว้างขวาง มีกลุ่มเยาวชนที่ได้ออกมาแสดงพลัง ย้ำพิษภัยและอันตรายจากการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงเรียกร้องให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ มีมาตรการเด็ดขาดกับ รมว.ดีอีเอสลูกพรรคที่ไอเดียกระฉูดเรื่องนี้

รวมพลังคนเจนใหม่ค้านบุหรี่ไฟฟ้าจากวงเสวนา ”Gen Z GenZa ท้าคุย”

 

ล่าสุด เสียงจากวงเสวนาคนรุ่นใหม่ ”Gen Z GenZa ท้าคุย” เรื่องทำไมบุหรี่ไฟฟ้าจึงไม่ควรถูกกฎหมายในประเทศไทย  จัดโดยสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายเยาวชน เวทีนี้ขอให้หยุดการสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าถูกกฎหมาย โดยตั้งอยู่บน 2 เหตุผลสำคัญที่ว่า บุหรี่ไฟฟ้าทำลายสุขภาพและการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้คนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยสูบบุหรี่กลายเป็นนักสูบหน้าใหม่

นายพชรพรรษ์ ประจวบลาภ เลขาธิการสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) กล่าวว่า สถาบันยุวทัศน์ฯ ขับเคลื่อนเรื่องภัยจากบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนมาต่อเนื่องและยากลำบาก   วันนี้ต้องยอมรับความจริงบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าทำลายสุขภาพ และที่มีความเห็นว่า อันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ ฉะนั้น ไม่ควรกลายเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกสำหรับคนทุกกลุ่ม  มีคำถามไปถึง รมว.ดีอีเอส กรณีการทุจริตคอร์รัปชั่นไม่ว่าจะโกงเท่าไหร่ก็ไม่ยอมรับ ทำไมบุหรี่ไฟฟ้าจึงไม่ใช้หลักคิดเดียวกัน คำตอบของเรื่องนี้ คือ การเลิกสูบบุหรี่ เป็นทางเลือกเพื่อสร้างสุขภาพที่แข็งแรงมากกว่าหาผลิตภัณฑ์ใดๆ มาทดแทน   

“ รมว.ดีอีเอสควรสนับสนุนการปราบปรามและจับกุมผู้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าซึ่งผิดกฎหมายผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากกว่าผลักดันให้ยกเลิกแบนบุหรี่ไฟฟ้า นอกจากนี้ กระทรวงฯ แก้ปัญหาพนันออนไลน์ได้ดีแล้วหรือยัง ไม่รวมอาวุธปืนเถื่อนที่ขายบนออนไลน์ เราไม่เห็นบทบาทขับเคลื่อนเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจัง นายชัยวุฒิ บอกทั่วโลกยอมรับบุหรี่ไฟฟ้า แต่ถ้าดูข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2564 พบว่า ปัจจุบันมีถึง 32 ประเทศทั่วโลกที่ห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า และอีก 79 ประเทศ มีกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ปกป้องบุหรี่ไฟฟ้าไม่ให้เข้าประเทศ อยากให้ศึกษาข้อมูลจริงจัง ลำพังการขับเคลื่อนรณรงค์ควบคุมบุหรี่ในประเทศไทยสู้กับอุตสาหกรรมยาสูบขนาดยักษ์มีงบโฆษณามหาศาล และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนให้เลิกบุหรี่ ถ้าเพิ่มปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าก็ยากเข้าไปอีก “ นายพชรพรรษ์เรียกร้อง

นายโยธิน ทองพะวา ประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย (สดย.ท) บอกว่า ในประเทศไทยมีการกฎหมายควบคุมยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ยังพบคดีลักลอบขายให้เยาวชน ปัญหาเดิมควบคุมไม่สำเร็จ แล้วจะเพิ่มผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าเข้ามา จะเกิดอันตรายกับเยาวชน  ขณะนี้หลายประเทศที่เคยอนุญาตจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าเริ่มกลับมาทบทวน  รมว.ดีอีเอส มีสิทธิคิดต่างและหาเหตุผลมารองรับ นี่ไม่ใช่ความขัดแย้ง แต่ควรต้องหาฉันทามติร่วมกัน ยกตัวอย่างกัญชาและกระท่อมกว่าจะปลดล็อคกฎหมายใช้เวลายาวนาน หลังยกเลิกก็มีกฎควบคุมการจำหน่าย เช่นเดียวกับบุหรี่ไฟฟ้ายังไม่ข้อมูลทางวิชาการชัดเจนว่า ช่วยให้คนเลิกบุหรี่ได้ สิ่งสำคัญ กรณีบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายหากมีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างจริงจังมากกว่านี้ก็อาจจะพูดคุยต่อได้ แต่เวลานี้ไม่เหมาะสม เด็กและเยาวชนกลายเป็นเป้าหมายหลักของธุรกิจนี้ซึ่งมีสารเสพติดทั้งที่มีกฎหมายห้ามในประเทศ  ซึ่งสภาเด็กฯ ก็พยายามรณรงค์และให้ความรู้ผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารเสพติด

ด้าน นายณัฐพงศ์ สำเภาแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง กล่าวว่า ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการหยิบยกธุรกิจสีเทาให้ถูกกฎหมาย เราไม่ได้คัดค้านแต่ถามว่า การส่งเสริมบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายผ่านการศึกษารอบด้านหรือยัง  การพบขายบุหรี่ไฟฟ้าในโลกออนไลน์แนวโน้มสูงขึ้น แล้วแก้ปัญหาด้วยนำของใต้ดินขึ้นบนดิน เพื่อจัดเก็บภาษีหารายได้เข้าประเทศ   เราไม่มั่นใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ได้ไม่คุ้มเสียหรือเปล่า ปัจจุบันมีข้อมูลคนสูบบุหรี่ไฟฟ้า 8 หมื่นคน หากบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายในบ้านเรา จะเพิ่มความถี่ในการเสพบุหรี่ต่อวันมากขึ้น ด้วยความสะดวก เท่ากับสนับสนุนการตายให้คน แนวคิดกระทรวงดีอีเอสย้อนแย้งระบบสาธารณสุขที่ขับเคลื่อนส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี    ตกลงนโยบายรัฐบาลจะไปทิศทางใด บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสารเสพติด สารเคมีบางชนิดเข้มข้นมากกว่าบุหรี่มวน เป็นสินค้าที่ทำลายสุขภาพแน่นอน เราจะสูบเงินคนในประเทศด้วยผลิตภัณฑ์นี้เหรอ เครือข่ายฯ ไม่เห็นด้วย

พชรพรรษ์ ประจวบลาภ เลขาธิการ ยท.

 

“ ปัญหาใหญ่ที่สุดของบุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้เด็กและเยาวชนที่ไม่เคยสูบบุหรี่เข้ามาสูบและเสพติดบุหรี่ไฟฟ้า เด็กและเยาวชนที่เริ่มต้นด้วยการสูบบุหรี่ไฟฟ้าจะมีความเสี่ยงที่จะสูบบุหรี่ธรรมดามากกว่าเด็กที่ไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้า 2 - 4 เท่า รวมทั้งคนที่เลิกสูบบุหรี่ธรรมดาไปแล้วกลับมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าอีกด้วย ”นายณัฐพงศ์ สะท้อนปัญหา

การคัดค้านบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้จำกัดอยู่แค่กลุ่มคนรุ่นใหม่ในกรุงเทพฯ นายอนวัฒน์ แจ่มจันทร์ ประธานกลุ่มเด็กและเยาวชนUGZ อุบลราชธานี แสดงทัศนะผ่านเวทีนี้ว่า รมว.ดีอีเอสมีหน้าที่สร้างความรู้ความเข้าใจกับเยาวชน ในพื้นที่อุบลราชธานี พบเด็กและเยาวชนสูบบุหรี่ ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงเข้าสู่วงการบุหรี่ โดยมีแรงผลักดันจากคนรอบตัวสูบบุหรี่ เกิดความอยากรู้อยากลอง เริ่มจากบุหรี่ มาสู่บุหรี่ไฟฟ้า พบมีพฤติกรรมรวมเงินเพื่อซื้อบุหรี่ไฟฟ้า สูบด้วยกัน น้ำยาหมดระดมเงินซื้อมาเติม มีโอกาสทำกิจกรรมกับน้องๆ กลุ่มนี้ ส่งผลให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สูบลดลง และมีแนวทางเลิกบุหรี่  มีการขับเคลื่อนปกป้องนักสูบหน้าใหม่และสร้างแกนนำทำกิจกรรมในกลุ่มคนเจนเดียวกัน ได้ผลลัพธ์ดีกว่า ปัจจุบันมีเครือข่าย 25 อำเภอในอุบลฯ และผลิตสื่อปกป้องนักสูบหน่าใหม่าภัยอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้า สร้างพลังนักศึกษาขับเคลื่อนเพื่อสร้างองค์ความรู้เรื่องพิษภัยและอันตรายจากการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งสร้างภูมิคุ้มกัน สกัด 'บุหรี่ไฟฟ้า' รุกคืบสถานศึกษา

สสส. สัญจรสถานศึกษาต้นแบบ วิทยาลัยการอาชีพกระบุรี ระนอง ลดปัจจัยเสี่ยง เพิ่มปัจจัยบวก ดึง “แดเนียล” ศิลปิน ร่วมบอกเล่าประสบการณ์ช่วงวัยรุ่น ผ่าน “ดนตรีเล่าเรื่อง” สร้างภูมิคุ้มกัน ห่วงเด็กขาดความอบอุ่น-เอาใจใส่จากครอบครัว สาเหตุสำคัญทำเด็กเดินหลงทาง

ดีเดย์ ส.ค. นี้ ลุยปูพรมสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 7 รามาฯ - สธ. – สวรส. - สสส. สานพลัง มหาวิทยาลัย 4 ภาค ลงพื้นที่ประเมินสุขภาพกาย-ใจ

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2567 ที่โรงแรม แกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่นโฮเทล จ.นนทบุรี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

'ดีป้า' เดินหน้า โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย

'รัดเกล้า'เผย ดีป้า ดศ. ขับเคลื่อนโมเดลพัฒนากำลังคนดิจิทัลของประเทศ แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างยั่งยืนผ่าน 'โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย'

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1