สัญญาณเตือน”ใช้ยาเสี่ยง-สินค้าสุขภาพหลอกลวง” สร้างความรู้ชุมชน สานพลังเฝ้าระวัง

แต่ละปีมีคนไทยตกเป็นเหยื่อยาเถื่อนและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย เกิดผลกระทบทางสุขภาพ สร้างความเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาล โดยเฉพาะช่วงโควิดระบาด มียาและสินค้าสมุนไพรจำนวนมากอวดอ้างสรรพคุณป้องกันโควิดหลอกขายผู้บริโภคผ่านร้านค้าออนไลน์ ร้านชำ ขายตรง ร้านสะดวกซื้อ จนกระทั่งร้านขายยาในชุมชน โดยเฉพาะกรุงเทพฯ เผชิญปัญหาหนัก  ในบทบาทศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา ภาคกลาง (กพย.ภาคกลาง ) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีการทำงานเฝ้าระวังปัญหาการใช้ยา ตรวจสอบ และดูแลผู้บริโภคเชิงรุก เพื่อร่วมปกป้องสุขภาวะของคนไทย

รศ. ภญ. ดร.สุญาณี พงษ์ธนานิกร หัวหน้าศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา ภาคกลาง (กพย.ภาคกลาง) กล่าวในวงเสวนา “ การจัดการความเสี่ยงจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ภาคกลาง “ ว่า โควิด-19 ทำให้มีการใช้ยาและสมุนไพรที่ไม่เหมาะสมมากขึ้น ในชุมชนมีกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทั้งเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคทางจิตเวช  ผู้ป่วยมีความกังวลเรื่องสุขภาพจัดซื้อยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพมาใช้  ทั้งยังพบการขายยาผิดกฎหมาย ในชุมชน  ทั้งยาชุด ยาต้านแบคทีเรีย ยาปฎิชีวนะ  ฯลฯ 

“ ปัจจุบันช่องทางจัดจำหน่ายมากขึ้น ประชาชนเข้าถึงยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ง่าย มีการโฆษณาเกินจริง หลอกลวงทางโทรทัศน์   เครือข่ายในพื้นที่ต้องทำงานเพื่อสร้างความเข้มแข็งในชุมชนตนเอง  สื่อสาร เฝ้าระวัง จัดการปัญหาการใช้ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในชุมชน รวมถึงส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในชุมชน และจัดการยาเหลือใช้ในชุมชน สามารถนำไปใช้ หรือไปบริจาคยัง รพ.ต่างๆ แล้วก็มียาที่ต้องทำลาย สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง แนะนำให้นำยาเหลือใช้ไปพบแพทย์ครั้งถัดไป  ซึ่งเภสัชกรจะมีบทบาทสำคัญให้ความรู้ความเข้าใจการเลือกใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างเหมาะสม  รวมถึงพัฒนาเครื่องมือส่งเสริมการร่วมมือใช้ยาอย่างปลอดภัยทุกกลุ่มวัย ” รศ. ภญ. ดร.สุญาณี กล่าว

ประเด็นการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยภายใต้สถานการณ์โรคระบาด   ภก.สันติ โฉมยงค์  เภสัชกรชำนาญการกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุข จ.พระนครศรีอยุธยา ให้ข้อมูลว่า การทำงานในขอบข่ายพื้นที่ภาคกลาง ทั้งอยุธยา ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท และกาญจนบุรี พบการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพแตกต่างกัน อย่าง อำเภอสังขละบุรี กาญจนบุรี เป็นพื้นที่ชายแดน  มีการนำยาจากประเทศเพื่อนบ้านมาใช้ รวมถึงการสั่งยาผ่านระบบออนไลน์ เครือข่ายภาคประชาสังคมต้องเฝ้าระวัง และทำความเข้าใจกับชาวบ้าน  ขณะที่ จ.ชัยนาท คนนิยมใช้สมุนไพร ฟ้าทะลายโจร และกระชายขาว จะปลูกไว้กินและขาย เพราะขาดแคลนยาสมุนไพร 2 ชนิดนี้ ต้องพึ่งพาตนเอง

ส่วนพื้นที่สีแดงเข้ม อย่างอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรี  มีทั้งกลุ่มผู้ป่วยกักตัวที่บ้านและกักตัวในชุมชน  พบการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรและกระชายขาวจำนวนมาก สุ่มตัวอย่างพบยาฟ้าทะลายโจรบางผลิตภัณฑ์ฉลากไม่ตรง บางผลิตภัณฑ์ปลอมแปลง

“ กรณี จ.สิงห์บุรี มีล็อกดาวน์ เดินทางไปสถานพยาบาลลำบาก เกิดปรากฏการณ์ซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสกัดจากละอองเกสรดอกไม้มาใช้  บอกกันปากต่อปาก เป็นธุรกิจขายตรง และขายในวัดซึ่งเป็นสถานที่กักตัวในชุมชน มูลค่าการซื้อขายหลายแสนบาท ขณะนี้ยังไม่มีผู้ได้รับความเสียหายไม่สามารถเอาผิดได้ เบื้องต้นก็ทำความเข้าใจกับผู้นำชุมชน ส่วนลพบุรีพบกระแสสมุนไพรกระท่อมมาแรง เด็กนำมาใช้ในทางที่ผิด ” ภก.สันติ ฉายภาพปัญหา

เภสัชกรคนเดิมระบุขณะนี้เครือข่ายภาคประชาสังคมเฝ้าระวังและเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนให้มีความเข้าใจในการใช้ยาและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ทั้งยังส่งข้อมูลไปที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อตรวจสอบยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เข้าข่ายไม่ถูกกฎหมาย  นอกจากนี้ การขับเคลื่อนโครงการจะส่งเสริมให้เครือข่ายภาคประชาชน เครือข่ายผู้ป่วย และเครือข่ายผู้บริโภค สามารถดำเนินงานร่วมกันเพื่อสร้างพลัง

การใช้ยาในบ้านพักคนชราเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจผ่านเวทีเดียวกัน ภญ.ดร. กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม  บอกว่า การศึกษาความชุกของการใช้ยาที่มีความเสี่ยงในผู้สูงอายุที่ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ สนับสนุนโดย กพย.ภาคกลาง สสส. และกรมกิจการผู้สูงอายุ ผลการศึกษาผู้สูงอายุ 100 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวนรายการยาของผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด  671 รายการ พบมีรายการยาที่ไม่เหมาะสมตาม เกณฑ์ List of risk drugss for Thai Eld  จำนวน  149 รายการ ความชุกต่อรายการยาทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 22.20 ความชุกต่อผู้สูงอายุทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 78.60

ความชุกของรายการยาที่อาจไม่เหมาะสมแต่ละรายการที่สำรวจได้ในผู้สูงอายุ 5 อันดับแรก  ได้แก่ dimenhydrinate , tramadol, amitriptyline,lorazepam,trihexyphenidyl อย่างไรก็ตาม การศึกษาภายใต้ข้อจำกัดด้านเวลา และสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด  ผลศึกษานี้เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่พักอาศัยในชุมชนเมือง ไม่สามารถเป็นภาพแทนกลุ่มผู้สูงอายุทั่วประเทศได้ อีกทั้งไม่ได้ลงลึกปัจจัยที่ทำให้ได้รับยาที่อาจมีความเสี่ยง หรือผลกระทบจากการใช้ยาเหล่านั้น ต้องมีการศึกษาในระยะต่อไป

“ โครงการนำร่องนี้เป็นความพยายามสร้างองค์ความรู้ ถ่ายทอดความเข้าใจในการใช้ยาให้ปลอดภัยในผู้สูงอายุ ซึ่งต้องสร้างความตระหนักการใช้ยาให้ปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่ผู้ดูแลคนสูงวัยที่ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจ ผู้สูงอายุซึ่งใช้ยาเองก็ต้องเข้าใจด้วย ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีปัญหาพฤติกรรม ปัญหาทางสายตาและคุณภาพการได้ยินของผู้สูงอายุที่ลดลงร่วมด้วย “ภญ.ดร. กมลวรรณ  กล่าว

สำหรับโครงการเฝ้าระวังการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย โดย กพย.ภาคกลาง จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ประสานพลังร่วมกัน แผนระยะถัดไปมุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกให้ยั่งยืน เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในวัยรุ่น ยาชายแดนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในสื่อออนไลน์ช่วยให้รู้เท่าทันโฆษณาที่อวดอ้างเกินจริงยุคโควิด-19

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เด็กไทยป่วยซึมเศร้าทะลุ 2,200 คน ต่อประชากรแสนคน เสี่ยงทำร้ายตัวเอง 17.4% ซ้ำเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพจิต

ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน จัดกิจกรรม “ดูแลวัยเด็กด้วยศิลปะด้านใน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568” ภายใต้โครงการโมเดลวิทยากรต้นแบบศิลปะด้านในเชิงลึกเพื่อขยายชุมชนการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะเด็กก่อนวัยรุ่น เปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่

กรมกิจการเด็กและเยาวชน จับมือ มูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว-สสส. จัดเสวนาสะท้อนปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 68 เสริมแกร่งความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิเด็ก

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 8 ม.ค. 2568 ที่โรงแรมแมนดาริน กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยมูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ชี้คนไทย"พร่อง"กิจกรรมทางกาย สสส.รณรงค์สร้างสุขกระฉับกระเฉง

โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 เฉลี่ย 3 แสนคนต่อปี คิดเป็น 75% ของสาเหตุการตายทั้งหมด ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูง

รัฐบาลชวนวัยรุ่นเปลี่ยนเงินซื้อบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเงินออม

ปีใหม่แล้ว...วัยรุ่น รัฐบาลชวนเปลี่ยนเงินซื้อบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเงินออม สร้างรากฐานที่มั่นคงของครอบครัวในอนาคต ระบุสูญเสียเงินซื้อสูงปีละ 26,944 บาท เฉลี่ยเดือนละ 2,245 บาท

รณรงค์ "กินให้หมดจาน" 50ร้านต้นแบบช่วยลดขยะ

รู้หรือไม่?!?..... มีสถิติระบุว่า ขยะอาหารโลกพุ่งกว่า 1 พันล้านตัน ภาพขยะกองสูงเป็นภูเขาที่รอฝังกลบ กว่าครึ่งคือขยะอาหาร คนไทยเพียงคนเดียวผลิตขยะสูงลิ่ว 146 กก./คน/ปี

“รองนายกฯ ประเสริฐ” สั่งเดินหน้าคุมเข้มลดเจ็บ-ตายปีใหม่ เฝ้าระวัง “นักซิ่งเยาวชน” หลังพบดื่มแล้วขับ “เจ็บ-ตาย” เฉลี่ยชั่วโมงละ 3 คน เล็งเชื่อมข้อมูลทำระบบ “ใบสั่งออนไลน์”

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ