ท่ามกลางปัญหาโรคระบาดอย่างโควิด-19 รวมถึงปัญหามลภาวะต่างๆ เช่น ฝุ่นมลพิษ ที่กำลังจะมาพร้อมหน้าหนาว หรือสารเคมีที่มาจากเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานต่างๆ ปัจจัยเหล่านี้ย่อมสร้างผลกระทบให้กับสุขภาพ นั่นจึงทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้เราอายุยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี ภายใต้ปัจจัยก่อโรคเหล่านี้ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยอยู่บ่อยครั้ง เพราะการที่เราอายุยืน แต่สุขภาพไม่แข็งแรง อาจสร้างปัญหามากกว่าผลดี อาทิ คนแก่อายุ 90 ปี แต่ไม่สามารถเดินเหินไปไหนมาไหนได้ และกิจกรรมที่ทำเป็นประจำคือการนั่งดูทีวีและมองออกไปนอกหน้าต่างเท่านั้น
ผศ.สาวิตรี สิงหาด อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อุบลราชธานี ให้ข้อมูลว่า “หลักสำคัญในการมีอายุยืนยาวที่แข็งแรงนั้น จะต้องประกอบไปด้วยการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งการดูแลด้านร่างกาย, จิตใจ, จิตสังคม และจิตวิญญาณ เริ่มจาก “การดูแลด้านร่างกาย” โดยรวม แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ คือตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น ไปจนกระทั่งถึงวัยสูงอายุ ที่อาจจะเป็นการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ผ้าขาวม้า หากอยู่ในชนบท หรือเต้นแอโรบิกเบาๆ กระทั่งการเดินออกกำลังกาย ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่เหมาะกับผู้สูงวัย
ส่วนคนหนุ่มสาวก็สามารถเลือกการออกกำลังกายที่ชื่นชอบ ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เลือกหลากหลาย ทั้งในฟิตเนส หรือการออกกำลังกายกลางแจ้งอย่าง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน แตะตะกร้อ เล่นฟุตบอล ฯลฯ ขึ้นอยู่กับความชอบ และต้องไม่กระทบกับร่างกายหรือโรคประจำตัวที่เราเป็นอยู่ นอกจากนี้การกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ก็เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างให้สุขภาพแข็งแรงได้เช่นกัน โดยให้ยึดหลักที่ว่า กินผักให้เกินครึ่งหนึ่งของจานอาหาร ที่ลืมไม่ได้ต้องมีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ 6-12 ชั่วโมง
ส่วนการดูแลสุขภาพองค์รวมด้าน “จิตใจ” นั้น สิ่งที่ดีที่สุดคือการหาเวลาว่างเพื่อไปพักผ่อน หรือเลือกทำกิจกรรมนันทนาการที่เราชอบ เช่น ช่วงนี้ที่โควิดกำลังระบาด ก็ขอให้คิดว่ามันเป็นช่วงเวลาที่ดีอย่างหนึ่งที่ลูกหลานจะได้ทำกิจกรรมร่วมกับบุคคลอันเป็นที่รัก ไล่มาถึงการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้าน “จิตสังคม” หมายถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือคนรอบข้าง เช่น ในช่วงที่โควิดกำลังระบาด ก็สามารถคุยกันผ่านทางออนไลน์ เช่น การวิดีโอคอลหากัน หรือการพูดคุยผ่านโปรแกรมซูม โดยที่ไม่ต้องออกไปเจอกัน ซึ่งเป็นการเว้นระยะห่างทางสังคมที่ดี
ส่วนการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมอันสุดท้ายคือ “จิตวิญญาณ” ซึ่งหมายถึงการดูแลจิตใจหรือจิตวิญญาณของเรา ซึ่งนอกจากการหมั่นทำสมาธิ ทำบุญตักบาตรแล้ว ส่วนตัวอาจารย์ก็ได้สวดมนต์ก่อนเข้านอน ซึ่งทำให้เราสงบมากขึ้น และเป็นการดูจิตวิญญาณของเราที่สามารถทำได้ง่ายๆ หากเราตั้งใจที่จะลงมือปฏิบัติให้ได้อย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่พยายามสวดมนต์ไหว้พระแล้ว หากจิตใจของเรายังไม่สงบนั้น สิ่งที่ดีที่สุดคือการหันกลับมาฝึกจิตให้เข้มแข็ง ซึ่งในที่นี้คือการปล่อยวาง เช่น บางคนมีปัญหาเรื่องธุรกิจปิดกะทันหันในช่วงที่โควิดระบาดที่ผ่านมา ดังนั้นถ้าเรารู้จักการปล่อยวาง ประกอบกับการที่เรามีประสบการณ์ในการใช้ชีวิตอยู่แล้ว วิธีนี้จะยิ่งเป็นการฝึกจิตของเราให้เข้มแข็ง และเอาชนะปัญหาที่เกิดขึ้น กระทั่งหาทางออกเจอ หรือรู้จักการปรับแผนการดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ที่ดีกว่าเดิมได้.
ผศ.สาวิตรี สิงหาด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สร้างภูมิคุ้มกัน 'พลัดตกหกล้ม' 10-11 ก.ย.นี้ เชิญชมนิทรรศการ 7 นวัตกรรมธรรมศาสตร์ เพื่อสังคมสูงวัย
เพราะทุกห้วงยามแห่งการร่วงหล่น มีหลายชีวิตพลัดหลงในกาลเวลา โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete
ถอดความสำเร็จ รพ.สต.ถ่ายโอนฯ อภิบาลระบบด้วย 'สมัชชาฯจังหวัด' เพื่อนร่วมทางที่ไม่ปล่อยให้ อบจ. เดินลำพัง
ถือเป็น ‘เรื่องใหม่’ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เมื่อต้องจัด ‘ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ’ ให้กับประชาชนในพื้นที่ หลังจากรับการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ‘ล็อตใหญ่’ เข้ามาบริหารจัดการ ตั้งแต่ปี 2565
สปส. แจงกรณี รพ.มงกุฎวัฒนะ เตรียมยกเลิก รพ.ประกันสังคม
นางนิยดา เสนีย์มโนมัย โฆษกสำนักงานประกันสังคม แจงกรณีโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ มีหนังสือประกาศเตรียมขอถอนตัวออกจากการ
'คารม' เผย ศธ.ผ่อนปรนแนวปฏิบัติ การแต่งเครื่องแบบนักเรียน
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล ให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะด้านการศึกษา
'บิ๊กทิน' ให้โอวาททหารใหม่ การันตีกินดีอยู่ดี ไม่มีข้าวเน่า
'รมว.กลาโหม' ขอทหารใหม่มั่นใจไม่เอาข้าวเก่ามาให้กินแน่ อ้างแค่พูดให้สอดคล้องรัฐบาล ยันทุกคนต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี
'หมอธีระวัฒน์' ให้ข้อคิดก่อนตัดสินใจรักษาวิธีใดวิธีหนึ่ง ต้องคิดให้ดีว่าคุ้มเสียหรือไม่
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า