'ธรรมศาสตร์' ฟื้นฟูตำรายาโบราณ 300 ปี ถอดรหัส 4 ตำรับ 'พระโอสถพระนารายณ์' ยกเครื่องให้ทันสมัย ใช้ได้จริงในปัจจุบัน

สถาบันไทยคดีศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ ศึกษาวิจัยตำรายา ‘พระโอสถพระนารายณ์’ อายุกว่า 300 ปี ถอดรหัส-ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน เบื้องต้นสำเร็จแล้ว 4 ตำรับ “ยาทาพระเส้น-พระอังคบพระเส้นตึงให้หย่อน-น้ำมันมหาจักร-ยาหอมดุม” พร้อมบริการสังคม พิมพ์เป็นหนังสือรวบรวมองค์ความรู้ให้ผู้ที่สนใจ

1 เม.ย.2565 - รศ.โรจน์ คุณอเนก รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และอดีตผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา ในฐานะผู้ริเริ่มการศึกษา “ตำราโอสถพระนารายณ์” เปิดเผยว่า จากการศึกษาคัมภีร์ใบลานด้านการแพทย์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ตกทอดกันมาถึงปัจจุบัน ที่รู้จักกันในชื่อของ “ตำราพระโอสถพระนารายณ์” ซึ่งมีอายุกว่า 300 ปี ของ สถาบันไทยคดีศึกษา มธ. พบว่าตำรับยาเหล่านั้นมีสรรพคุณที่ดีและเป็นประโยชน์อย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ด้วยเป็นตำรับยาโบราณจึงทำให้คนในปัจจุบันอาจมีความเข้าใจผิดหรือมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สถาบันไทยคดีศึกษา มธ. จึงได้ทำการศึกษาและค้นคว้าสอบถามภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยด้านสมุนไพรอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ปี 2552 โดยมุ่งหวังที่จะฟื้นฟูยาตามตำราพระโอสถพระนารายณ์ที่ถูกต้อง เข้าใจง่าย และเป็นปัจจุบัน

รศ.โรจน์ กล่าวว่า จนถึงขณะนี้ สถาบันไทยคดีศึกษา มธ. สามารถฟื้นฟูตำราพระโอสถพระนารายณ์ได้แล้ว 4 ตำรับ ได้แก่ ยาทาพระเส้น พระอังคบพระเส้นตึงให้หย่อน น้ำมันมหาจักร และยาหอมดุม พร้อมกันนี้ สถาบันไทยคดีศึกษายังได้จัดพิมพ์หนังสือ “สืบสานภูมิปัญญา ตำราโอสถพระนารายณ์”ที่แสดงถึงรายละเอียดของการประกอบยาทั้งสี่ตำรับดังกล่าวให้แก่ผู้ที่สนใจด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักวิชาการ มธ. แนะมาตรการรับมือสาธารณภัยในชุมชนเมืองเก่า

นักวิชาการธรรมศาสตร์ แนะท้องถิ่น-สำนักงานเขต สำรวจข้อมูลใหม่ทุก 5 ปี “สร้างคลังข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน” เพื่อเตรียมทรัพยากร วางแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน-ภัยพิบัติ หากไม่สามารถแก้ผังเมือง-โครงสร้าง-กรรมสิทธิ์ที่ดิน

90 ปี สถาปนาธรรมศาสตร์ ก้าวสู่ 'มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบชั้นนำเพื่อสังคมแห่งอนาคต'

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบปีที่ 90 พร้อมมอบรางวัลเข็มเกียรติยศ ให้แก่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” อดีต รมว.คลัง และ อดีต รมว.คมนาคม ในฐานะผู้ประกอบคุณงามความดีต่อสังคมและประเทศชาติ ขณะที่

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ คือผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองไทยไปอีก 5 ปี

อาจารรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ ยังมีอำนาจมากเกินไป และจะเป็นผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า

มธ. จัดเสวนารุมสับระบบเลือก สว.ชุดใหม่ เป็นปัญหามากที่สุด ซับซ้อน ทำให้งงอย่างจงใจ

ศูนย์นิติศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการ “การเลือก สว. และประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กับอนาคตประชาธิปไตยไทย” เนื่องในงานรำลึก 32 ปี พฤษภาประชาธรรม 2535

'ธรรมศาสตร์' เตือน! อย่าตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) แจ้งเตือนบุคลากร นักศึกษา ศิษย์เก่า ประชาคมธรรมศาสตร์ และประชาชน ระวังตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ขณะนี้พบพฤติกรรมของมิจฉาชีพแอบอ้างว่าเป็น “เจ้าหน้าที่กอง

สำรวจบาดแผล 'เด็ก' ในยุคที่กลายมาเป็น 'คอนเทนต์' ของผู้ใหญ่

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ชวนสำรวจบาดแผล ‘เด็ก’ ในยุคที่ต้องกลายมาเป็น ‘คอนเทนต์’ เพราะความเปราะบางของเนื้อหาจะทิ้งร่องรอยความบอบช้ำไว้เสมอ