25 มี.ค. 2565 หลังจากที่นักแสดงวัยรุ่น บีม-ปภังกร ฤกษ์เฉลิมพจน์ ที่มีผลงานมากมาย อาทิ น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์, สัมผัสพิศวง ตอน โจ๋ผู้กล้า , ซีรีส์เคว้ง ที่ฉายทางเน็ตฟลิกซ์ ฯลฯ ได้เสียชีวิตอย่างกะทันหัน
โดยในเบื้องต้นทางแพทย์แจ้งว่าสาเหตุการเสียชีวิตของ บีม ปภังกร เกิดจาก “หัวใจล้มเหลว” ในขณะนอนหลับ ซึ่งจะต้องรอการวินิจฉัยให้แน่ชัดอีกครั้ง แต่ประเด็นที่คนสนใจ คือ ภาวะคล้ายๆกันนี้ เกิดขึ้นกับคนไทยปีนึงเยอะอยู่ ซึ่งเราจะเรียกอาการแบบนี้ว่า โรคใหลตาย ส่วนในทางการแพทย์จะเรียกว่า brugada syndrome บรูกาดาซินโดรม
มักพบในชาย วัยทำงาน อายุช่วง 25-55 ปี อาการคือ จู่ๆจะเกิดการเต้นของหัวใจห้องล่างแบบผิดปรกติ ซึ่งอาจเกิดจากตัวกระตุ้นบางอย่าง เช่น เป็นไข้ ไม่สบาย เกลือแร่ในร่างกายผิดปรกติ ซึ่งหากเป็นนานและไม่กลับมาเป็นการเต้นแบบปรกติ ก็จะทำให้เสียชีวิตได้
โรคนี้ พบในคนไทยเยอะมาก จากสถิติ อยู่ที่ 40 คน ต่อ แสนคนครับ ปัจจุบันกำลังมีสถาบันวิจัย ศึกษาพันธกรรมคนไทย เพื่อศึกษาโรคนี้อยู่
โดยทางการแพทย์ ระบุว่า โรคใหลตาย มีสาเหตุที่สำคัญจาก ภาวะร่างกายขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ส่งผลให้หัวใจเต้นแรงขึ้นและเสียชีวิตในที่สุด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรคมี 2 ประการด้วยกัน ได้แก่ การบริโภคอาหารที่มีสารพิษวันละเล็กน้อย จนเกิดการสะสมและเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ปัจจัยต่อมาคือการขาดสารอาหารที่เป็นวิตามินบี 1 อย่างรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้คนที่แข็งแรงอยู่ดีๆ รู้สึกอ่อนเพลียและอยากนอน เมื่อหลับแล้วก็หัวใจวายตายเกือบจะทันที โดยโรคนี้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาวะทุพโภชนาการ และสุขนิสัยการกินที่ผิด
ล่าสุด หลังจากเกิดข่าวการเสียขีวิตของนักแสดงดัง ส่งผลให้คนไทย หันมาสนใจเรื่องสาเหตุของโรคนี้มากขึ้น และยอดการค้นหาเกี่ยวกับ วิตามิน บี เพิ่มสูงขึ้นมาก
เมื่อทราบแล้วว่า วิตามิน บี ช่วยป้องกันการเกิดภาวะไหลตาย แล้ว อาหารประเภทไหนบ้างที่มี วิตามิน บี 1 บ้าง
จากข้อมูลจากเว็บไซต์ Medthai ระบุว่า วิตามินบี 1 หรือ ไทอะมีน (Thiamine) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ อยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวมซึ่งร่างกายไม่สามารถเก็บสะสมไว้ได้ หากมีอยู่ในร่างกายมากเกินไปก็จะถูกขับออกมา จึงจำเป็นที่จะได้รับทุกวัน มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม (มก. หรือ mg.)
วิตามินบี 1 มีชื่อเรียกว่า “วิตามินเสริมขวัญและกำลังใจ” เพราะช่วยบำรุงประสาท โดยวิตามินบีแต่ละตัวจะทำงานเสริมซึ่งกันและกัน ต้องรับประทานร่วมกันจึงจะมีประสิทธิภาพมากกว่าแยกรับประทาน โดยวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 ควรรับประทานในปริมาณที่เท่า ๆ กัน
สำหรับแหล่งที่พบวิตามินบี 1 ได้ตามธรรมชาติ ได้แก่ ผัก โฮลวีต ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง รำข้าว เปลือกข้าว เมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสี บริเวอร์ยีสต์ นม ไข่แดง ปลา เนื้อออร์แกนิก เนื้อหมูไม่ติดมัน เป็นต้น
ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอาการเป็นพิษ เพราะหากเรารับประทานเกินขนาดก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะและไม่มีการสะสมแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ หากมีอาการ (ซึ่งพบได้น้อยมาก ๆ หรือแทบไม่เกิดเลย) ก็คือ สั่น โรคเริมกำเริบ ตัวบวม กระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว และภูมิแพ้
ศัตรูของวิตามินบี 1 ได้แก่ วิธีการปรุงอาหาร เช่น ความร้อนจากการทำอาหาร คาเฟอีน แอลกอฮอล์ น้ำ อากาศ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ยาลดกรดในกระเพาะ ยาในกลุ่มซัลฟา เป็นต้น
คำแนะนำในการรับประทานวิตามินบี 1
วิตามินบี 1 ในรูปของอาหารเสริม มีปริมาณตั้งแต่ 25 – 500 มิลลิกรัม จะมีประสิทธิภาพดีมากหากอยู่ในรูปของวิตามินบีรวม เช่น วิตามินบี 2 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 กรดโฟลิก โดยขนาดที่แนะนำให้รับประทานคือ 100-300 มิลลิกรัม
ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันหรือที่ร่างกายต้องการต่อวันคือ 1-1.5 มิลลิกรัม สำหรับผู้ใหญ่ และ 1.5-1.6 มิลลิกรัม สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
หากคุณเป็นคนที่ชอบรับประทานอาหารหวานจัด ดื่มเหล้า สูบบุหรี่เป็นประจำ ร่างกายจะต้องการวิตามินบี 1 เพิ่มมากขึ้น
หากตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือรับประทานยาคุม คุณต้องได้รับวิตามินบี 1 มากกว่าปกติ
หากคุณรับประทานยาลดกรดในกระเพาะหลังอาหารเป็นประจำ คุณอาจไม่ได้รับวิตามินบี 1 ที่ควรจะได้จากอาหารมื้อนั้น ๆ
ในภาวะเครียด เจ็บป่วย มีอาการบาดเจ็บหลังผ่าตัด คุณควรรับประทานวิตามินบีรวมเสริมด้วย
เมื่อเจ็บป่วย มีอาการเครียด ผ่าตัด ร่างกายจะต้องการวิตามินบี 1 เพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ
ประโยชน์ของวิตามินบี 1
รักษาโรคจากการขาดวิตามินบี 1 ได้แก่โรคเหน็บชา
เสริมสร้างการเจริญเติบโต
ช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้งได้เป็นดี
ช่วยบำรุงประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจให้ทำงานเป็นปกติ
ช่วยบำรุงสมอง ความคิด สติปัญญาให้ดีขึ้น
ช่วยบรรเทาอาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
บรรเทาอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัดทำฟัน
ช่วยรักษาโรคงูสวัด
อ่านเพิ่มเติม
บรูกาดาซินโดรม ‘ไหลตาย’ ป้องกันได้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตหมั่นตรวจหัวใจ
เปิดสาเหตุ และ ความเสี่ยงของ ‘โรคใหลตาย’ ความตายที่มาโดยไม่รู้ตัว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เชน ธนา' ปล่อยโฮกลางวงสื่อ ชี้แจงหลังถูกกล่าวหาโกงเงิน 79 ล้าน!
กำลังเป็นประเด็นร้อนเลยทีเดียวเมื่อ เชน-ธนาตรัยฉัตร ภูโชคอนันต์ อดีตนักร้องนักแสดงที่ผันตัวไปทำธุรกิจ บริษัท อมาโด้ กรุ๊ป จำกัด ถูกกล่าวหาว่าโกงเงินค่าสินค้ามากถึง 79 ล้านบาท ล่าสุดเจ้าตัวพร้อมภรรยา เจมส์ กาลย์กัลยา และทนายความ ได้หอบหลักฐานเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ในช่วงบ่ายของวันนี้ (จันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2567) ที่กองบังคับการปราบปราม
'เจ'ชนาธิป ร่วมเผยประสบการณ์ค้าแข้ง ในมีตติ้งONE DAY กับ CHIM DOO แบบเต็มๆ
บริษัท ทาคาโซ่ เอสซี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมทาน CHIM DOO จัดกิจกรรมแฟนมีตติ้ง ONE DAY กับเจ ชนาธิป เสิร์ฟความสุขให้แฟนคลับแบบจัดเต็ม ณ โรงแรมโกลเดน ทิวลิป โดยมี คุณจุไรลักษณ์ นวะสุทธิ์ หัวหน้าฝ่ายบริหาร บริษัท ทาคาโซ่ เอสซี ประเทศไทย จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมทาน CHIM DOO กล่าวเปิดงานต้อนรับเหล่าแฟนคลับจำนวน 15 คน และสื่อมวลชน จากกิจกรรม ONE DAY กับเจ ชนาธิป สรงกระสินธ์
'หมอยง' ขอเคลียร์! เจออ้างชื่อหากิน ขายอาหารเสริม
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไม่เคยขายของหรือหาผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น
ศชอ. ถอดคำพูดไลฟ์เฟซบุ๊ก 'นารา เครปกะเทย' มอบหลักฐาน ปอท. ฟันคดีเพิ่ม
ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์ ศชอ. ได้ระบุว่า ทีมงาน ศปปส.ถอดเทปที่นาราพูดใน live เสร็จแล้ว วันนี้ เวลา 11.00 น. จะนำหลักฐานทั้งหมดมอบกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) เพื่อให้ตรวจสอบว่าเข้าข่ายความผิดมาตราใดได้บ้าง
เฉียบ! 'พี่คนดี' มองทะลุดราม่า 'นารา เครปกะเทย' บีบน้ำตาพาดพิงเบื้องสูง เดี๋ยวจะโดนข้อหาหมิ่นเพิ่ม
กรณี ตำรวจปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. นำกำลังเข้าตรวจค้นสถานที่ผลิต ได้คุมตัวเจ้าของบริษัทฯ ผู้ผลิต เจ้าของบัญชีรับโอนเงิน ซึ่งเป็นเครือญาติกับผู้ผลิต
'หมอยง' ว่าด้วย 'โรคใหลตาย' ในประเทศไทย
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก มีรายละเอียดดังนี้