พอพูดถึง “เขื่อน” ใคร ๆ ก็คงคิดถึงประโยชน์หลักเพื่อชลประทาน และการผลิตไฟฟ้าซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เป็นผู้ควบคุมดูแลการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ หรือพลังงานหมุนเวียนเพื่อความสุขของคนไทย แต่ใครจะไปคิดว่าการก่อเกิดของเขื่อนทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย จะช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้กับชุมชนในพื้นที่ ยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน
เขื่อนแม่ของแผ่นดิน
ฤกษ์งามยามดี 4 มีนาคม 2565 จะขอพาทุกท่านไปร่วมฉลองวันครบรอบ 45 ปี และทำความรู้จักกับเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ “เขื่อนสิริกิติ์” จ.อุตรดิตถ์ “เขื่อนแม่ของแผ่นดิน” ที่โอบล้อมไปด้วยภูเขาน้อยใหญ่ อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี เขื่อนแห่งนี้สร้างขึ้นตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน เดิมชื่อ “เขื่อนผาซ่อม” ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขนานนามว่า "เขื่อนสิริกิติ์" โดยในวันที่ 4 มีนาคม 2520 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนสิริกิติ์และโรงไฟฟ้า ร่วม 45 ปี ที่เขื่อนแห่งนี้อยู่คู่กับคนไทย
พลังน้ำ พลังชีวิต
ตลอด 45 ปีที่ผ่านมา นอกจากประโยชน์ด้านชลประทาน และการผลิตไฟฟ้าด้วย “พลังน้ำ” แล้วนั้น การก่อเกิดของเขื่อนสิริกิติ์ ยังเป็น “พลังชีวิต” ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานให้กับบ้านห้วยต้าซึ่งเป็นหมู่บ้านดั้งเดิมที่อยู่เหนือสุดของ จ.อุตรดิตถ์ ทอผ้าใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มกันมาหลายชั่วอายุคน เพราะในช่วงของการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ ชาวบ้านส่วนใหญ่อพยพออก ส่งผลให้การทอผ้าแบบดั้งเดิมเกือบสูญหายไป ต่อมาเมื่อปี 2536 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชาวห้วยต้าและพระราชทานความช่วยเหลือต่าง ๆ โดยเฉพาะการฟื้นฟูการทอผ้า โดยคัดเลือกราษฎรในหมู่บ้านเข้าไปฝึกฝนที่สวนจิตรลดา พร้อมทั้งสร้าง
โรงทอผ้าขึ้นในหมู่บ้าน โดยมีครูจากสวนจิตรลดาเป็นผู้ฝึกสอน
พระองค์ท่านพระราชทานลายผ้าทอ “ลูกแก้ว” ให้กับชาวบ้านห้วยต้า จนเมื่อชาวบ้านฝึกฝนจนชำนาญก็ได้มีการทอผ้าส่งเข้าไปในพระราชวัง และพระองค์ท่านก็พระราชทานเงินให้ มีครั้งที่ทรงเสด็จมารับซื้อผลิตภัณฑ์ด้วยพระองค์เอง ทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดี มีกิน มีกำลังใจและพลังในการดำรงชีวิต เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ก็ได้เข้ามาสนับสนุน ทำให้ผ้าทอบ้านห้วยต้ากลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยปัจจุบันชาวบ้านห้วยต้าได้สืบสานการทอผ้าอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เป็นสินค้าต่าง ๆ ได้แก่ ผ้าซิ่นลายลูกแก้ว ผ้าขาวม้าลายลูกแก้ว ผ้าคลุมไหล่ลายลูกแก้ว ถุงย่ามสะพายลายต่าง ๆ และผ้าห่มลายลูกแก้ว
คุณปภาวรินท์ อภิยะ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านห้วยต้าใต้ ซึ่งเป็นชาวบ้านห้วยต้า
มาแต่กำเนิด ได้เล่าให้เราฟังด้วยน้ำเสียงซาบซึ้งว่า “ครอบครัวของเธอได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อครั้งเสด็จมาที่หมู่บ้านอยู่หลายครั้ง ขอสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และตั้งปณิธานว่าจะสืบสานการทอผ้าให้คงอยู่ตลอดไป”
กฟผ. น้อมนำพระราชดำริฯ
กฟผ. เขื่อนสิริกิติ์ ได้น้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการสนับสนุนผ้าทอบ้านห้วยต้า โดยได้มอบเงินลงทุนหมุนเวียนเพื่อใช้ในการจัดซื้อเส้นด้าย อุปกรณ์ทอผ้า เป็นต้น ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านห้วยต้าใต้ รวมถึงช่วยจัดหาตลาดกระจายสินค้า โดยมีการนำสินค้าของกลุ่มไปวางขายในพื้นที่เขื่อนสิริกิติ์ วางขายตามงานขายสินค้าต่าง ๆ ของ กฟผ. ทางออนไลน์ เป็นต้น มีการรับซื้อผ้าทอบ้านห้วยต้ามาเป็นของระลึกของเขื่อนเพื่อมอบให้กับบุคคลภายนอกในวาระต่าง ๆ เพื่อช่วยสืบสานการทอผ้าไม่ให้สูญหายจนกลายเป็นสินค้าชุมชนที่มีชื่อเสียง สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ เขื่อนสิริกิติ์ยังประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว ด้วยวิวลำน้ำน่านและดอกไม้นานาพันธุ์ที่เขื่อนแห่งนี้ได้อนุรักษ์ไว้อย่างดี และสร้างสรรค์ขึ้นใหม่อย่างสวยงามและกลมกลืนกับธรรมชาติ ทำให้มีจุดเช็คอินภายในเขื่อนสิริกิติ์ถึง 11 จุด ไม่ว่าจะเป็นมหัศจรรย์ธารสองสี Unseen ของประเทศไทย หนึ่งปีมีครั้งเดียว ซุ้มอุโมงค์ไผ่กว่า 100 ต้น งานประติมากรรมทรงคุณค่า ณ สวนสุมาลัย และสะพานแขวนเฉลิมพระเกียรติบรมราชินีนาถที่สวยงาม ชมพระอาทิตย์ตกดิน ณ สันเขื่อน รวมถึงมีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่นอกเหนือจากผ้าทอบ้านห้วยต้าก็ถือว่าเด็ดอย่าบอกใคร โดยเฉพาะมะม่วงหิมพานต์ที่ดีที่สุดของประเทศไทย นำพาเหล่านักท่องเที่ยวมาสัมผัสบรรยากาศธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ช่วยยกระดับเศรษฐกิจชุมชนมาตลอด 45 ปี และพร้อมเคียงข้างคนไทยตลอดไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กฟผ. เตรียมจัด '70 พรรษา 7 โครงการเฉลิมพระเกียรติ' สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ในปี 2568 ถือเป็นปีมหามงคลที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2568 กฟผ. จึงจัดทำโครงการ “70 พรรษา 7 โครงการเฉลิมพระเกียรติ” เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
'โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ' แบตเตอรี่ยักษ์กักเก็บพลังงานสะอาด
ความท้าทายในการก้าวข้ามขีดจำกัดของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่กำลังมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในระบบไฟฟ้าเพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศ คือ การบริหารจัดการความผันผวนของพลังงานหมุนเวียนที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงบางช่วงเวลา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
'โรงไฟฟ้า SMR' ตัวเปลี่ยนเกมพลังงานสะอาด
ภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องและแรงกดดันจากมาตรการทางการค้าถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้ทั่วโลกพยายามดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เดินหน้าเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของ กฟผ. ในระดับสากลที่ระดับ 'BBB+'
บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ประกาศผลการทบทวนการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของ กฟผ. ในระดับสากลที่ระดับ “BBB+” ซึ่งเป็นระดับเทียบเท่ากับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย และให้มุมมองความน่าเชื่อถือ (Outlook) ของ กฟผ. อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable)
“สวนผักทางไฟ” พลิกพื้นที่แห้งแล้งใต้แนวสายส่งไฟฟ้าสู่แหล่งอาหารบ้านโนนยาง
“เคล” ราชินีแห่งผักใบเขียว หรือคะน้าใบหยิก ที่กำลังเตรียมตัดขายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เป็นภาพที่เกษตรกรบ้านโนนยาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
กฟผ. ร่วมส่งความสุขล้นใจแบบรักษ์โลก เป็นของขวัญปีใหม่ 2568 ให้คนไทยฉลองแบบแฮปปี้
กฟผ. เตรียมของขวัญปีใหม่ 2568 ให้คนไทยในรูปแบบ 3 ส่วนลดพิเศษ ส่วนลดผลิตภัณฑ์เบอร์ 5 30,000 สิทธิ์ ส่วนลดค่าชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า