สภาฯผ่านร่างกฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฉลุยทั้ง 4 ร่าง ตั้ง 49 กรรมาธิการวิสามัญฯพิจารณา ให้เวลาแปรญัตติ 15 วัน ประชุมนัดแรก 1 มี.ค.
24 ก.พ.2565 - เวลา 15.55 น. นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ส.ว. อภิปรายว่าร่างแก้ไขฉบับไหนสอดรับกับรัฐธรรมนูญที่แก้ไข และไม่ขัดแย้งกับมาตราอื่นที่ยังอยู่ แบบนี้ตนเห็นด้วย ส่วนมาตรา 90 มีประเด็นที่เป็นข้อกังวลว่าหากผ่านทั้ง 2 ร่างไปในชั้นกมธ.จะทำอย่างไร ถ้ามีความขัดแย้งกัน เนื่องจากมาตราดังกล่าว ระบุว่า พรรคใดส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตแล้ว ให้มีสิทธิส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อได้ ในข้อเท็จจริงจะทำอย่างไรถ้าจะปฏิบัติตามมาตรา 90 หรือไปทำให้มีเบอร์เดียวโดยไม่ขัดกับมาตรา 90
จากนั้น นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย อภิปรายตอนหนึ่งว่า การเลือกตั้งครั้งหน้าการแบ่งเขตเลือกตั้งมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต้องเขียนให้ชัดเจน เพราะจะเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา การแบ่งเขตเลือกตั้งมีความสับสนเป็นที่มาของบัตรเสียเพิ่มมากขึ้น ขณะที่หมายเลขระบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขต ถ้าเป็นคนละเบอร์ประชาชนจะสับสนมาก และจะทำให้ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ สอบตกเยอะ เพราะเวลาส.ส.เขตหาเสียงจะบอกเบอร์ตัวเอง ไม่บอกเบอร์พรรค เนื่องจากกลัวประชาชนสับสน ส่วนใหญ่ต้องรักตัวเองก่อน จึงอยากให้กมธ.นำเรื่องเบอร์เดียวกันไปใช้ในการพิจารณา และขอให้สมาชิกรัฐสภารับร่างของพรรคเพื่อไทยด้วย นอกจากนั้น ยังมีปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงซึ่งทำลายระบอบประชาธิปไตย เรื่องนี้กกต.ต้องเอาจริงเอาจัง ขณะที่การคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ ร่างของพรรคเพื่อไทยให้เอาคะแนนรวมทั้งประเทศหารด้วย 100 คน พรรคไหนได้คะแนนมากจะได้ส.ส.บัญชีรายชื่อมากแบบนี้ถือว่ายุติธรรม
เวลา17.05น.นายชวน หลีกภัย ประธานสภา แจ้งว่า ผู้อภิปรายได้อภิปรายครบแล้ว ทำให้การอภิปรายได้ยุติแล้ว ได้ขอให้ผู้เสนอร่างกฎหมายแต่ละฉบับของ พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. สรุป ซึ่งประกอบด้วย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว จากพรรคเพื่อไทย นายวิเชียร ชวลิต จากพรรคพลังประชารัฐ ได้กล่าวสรุป
ต่อมานายชวน หลีกภัย ประธานสภา ที่ทำหน้าที่การประชุม แจ้งต่อสมาชิกให้ลงมติร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทั้ง4ฉบับ ประกอบด้วย ร่างของคณะรัฐมนตรี มีผู้เห็นด้วย 609 ไม่เห็นด้วย 16 งดออกเสียง 10 ไม่ลงคะแนน 1 ร่างของนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและคณะ มีผู้เห็นด้วย 420 ไม่เห็นด้วย 205 งดออกเสียง 14 ไม่ลงคะแนน 1
ร่างของนายวิเชียร ชวลิต จากพรรคพลังประชารัฐ เห็นด้วย 598 ไม่เห็นด้วย26 งดออกเสียง 12 ร่างของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จากพรรคก้าวไกล มีผู้เห็นด้วย 418 ไม่เห็นด้วย 202 งดออกเสียง15
จากนั้นมีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญฯ 49 คน แบ่งเป็น สัดส่วนจาก ครม.8 คน สว.14คน สภา 27 คน พลังประชารัฐ 6 คน เพื่อไทย 8 คน ประชาธิปัตย์ 3 คน พรรคภูมิใจไทย 3 คน พรรคก้าวไกล 3 คน พรรคเศรษฐกิจไทย 1คน พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน พรรคเสรีรวมไทย 1 คน พรรคประชาชาติ 1 คน
นายชวนได้สอบถามที่ประชุมว่า จะให้ร่างพรบ.ฉบับใดเป็นหลัก โดยนายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ เสนอให้ร่างคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก ซึ่งมีผู้รับรองครบตามจำนวน และมีการ แปรญัตติ 15 วัน และนัดประชุมครั้งแรก 1 มี.ค. เวลา 10.00 น.
เมื่อการลงมติร่างพรป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.แล้วเสร็จ ได้มีการพิจารณา ร่างพรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ที่มีทั้ง 6 ฉบับที่เสนอโดยครม. พรรคร่วมรัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน ต่อเนื่องทันที
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วรชัย' พูดเต็มปาก! 'ชวน' ไม่ควรว่าทักษิณ ถ้ายังกวาดบ้านตัวเองไม่สะอาด
นายวรชัย เหมะ อดีตสส.สมุทรปราการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ทำนองว่า ตัวเองเป็นนักการเมืองรุ่นเก่าที่ไม่โกง
ดิเรกฤทธิ์ : ปัญหาประชาธิปไตยสุจริตวันนี้
ดร.ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย และ อดีตสมาชิกวุฒิสภา(สว.) โพสต์เฟซบุ๊กว่าปัญหาประชาธิปไตยสุจริตวันนี้(11 มกรา
แม่หมอ..มองทะลุ ปี 68 เปลี่ยนนายกฯ ..ยุบสภา-ลาออก!!.. I อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568
'อิ๊งค์' ยัน ทักษิณ-เพื่อไทย หาเสียงเลือกตั้งอบจ. เป็นไปตามกฎหมาย
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) น.ส. แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในฐานะหัวหน้
หนาว! คำร้องยุบพรรคเพื่อไทย อยู่ระหว่างรวบรวมข้อเท็จจริง
นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กล่าวถึงคำร้องยุบ 6 พรรคการเมืองว่
'สุริยะ' ชี้ 'วิโรจน์' พูดให้ดูดี ไม่สนนามสกุลเดียวกับ 'ธนาธร' ก็จะตรวจสอบ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม กล่าวกรณีฝ่ายค้านออกมาระบุว่าเตรียมจองคิวอภิปรายไม่ไว้วางใจกระทรวงคมนาคมว่า เป็นการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะตรวจสอบรัฐบาลถือว่าเป็นเรื่องปกติ