20 ก.พ.2565 - 'ค้ามนุษย์' กลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายในสภาฯ ระบุถึงกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี 2021 ลดระดับการค้ามนุษย์ของประเทศไทยลงไปในระดับกลุ่มที่เกือบแย่ที่สุด
และกรณีการค้ามนุษย์ยังเป็นเหตุให้ พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 เป็น หัวหน้าชุดทำคดีโรฮิงญาในช่วงปี 2558 เปิดใจผ่าน พรรคก้าวไกล อ้างว่าถูกผู้มีอำนาจข่มขู่ คุกคาม จนต้องลาออกจากราชการและหนีออกนอกประเทศขอลี้ภัยในประเทศออสเตรเลีย
นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า เคยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ "โรฮิงญา" ไว้เมื่อเดือนเมษายนปี 2561 ก่อนก่อตั้ง "พรรคอนาคตใหม่" ในเดือนถัดมา โดยเผยแพร่ไว้ในเฟซบุ๊ก Thanathorn Juangroongruangkit -ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ มีเนื้อหาดังนี้
"ผู้ลี้ภัยทางการเมือง – สิทธิมนุษยชน – และไทยในเวทีโลก"
"ผมมีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยทางการเมือง เมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว ผมมีโอกาสเยี่ยมค่ายผู้อพยพชาวภูฏานที่ประเทศเนปาล ชาวภูฏานกลุ่มนี้มีชาติพันธุ์และความเชื่อที่ต่างจากคนส่วนใหญ่ของภูฏาน เมื่อความหลากหลายไม่ได้ถูกยอมรับในกระบวนการสร้างชาติ ผลที่เกิดขึ้นคือการทำลายความแตกต่างอย่างเป็นระบบ ทั้งด้วยกฏหมายและด้วยความรุนแรง ผู้อพยพชาวภูฏานในประเทศเนปาลที่ผมพบคือผลของกระบวนการเหล่านี้
ในค่ายผู้อพยพชาวภูฏานที่ผมมีโอกาสสัมผัส มีผู้อพยพอยู่หลายหมื่นคน ครอบครัวแต่ละครอบครัวได้รับปันส่วนพื้นที่เล็กน้อยให้สร้างเป็นเพิงพักจากไม้ไผ่ พื้นที่ไม่เกิน 20 ตารางเมตร เป็น “บ้าน” สำหรับครอบครัวครอบครัวหนึ่ง ซึ่งใช้พื้นที่นั้นเป็นทั้งห้องนอน, ห้องครัว, ห้องนั่งเล่น อาหารการกินไม่เคยพอและถูกหลักสุขอนามัย การศึกษาทำผ่านอาคารเรียนขนาดเล็กซึ่งอัตคัดทั้งครูและอุปกรณ์การเรียนการสอน และที่สำคัญ ผู้อพยพเหล่านั้นไม่เคยมีสิทธิและเสรีภาพ จำนวนน้อยมากในพวกเขาเหล่านั้น ได้รับอนุญาตให้ไปหางานทำนอกค่ายผู้อพยพได้ ส่วนใหญ่จึงอยู่ได้ด้วยการบรรเทาทุกข์ขององค์กรระหว่างประเทศ พวกเขาไม่มีอนาคต โอกาสเดินทางกลับบ้านเป็นศูนย์ ลูกๆ ของพวกเขาเติบโตในค่ายผู้อพยพ หมดโอกาสได้เข้าถึงการเรียนรู้, เห็นโลกกว้าง และมีโอกาสไล่ตามความฝันอย่างที่เด็กๆ ควรจะได้รับ
สถานการณ์ของชาวโรฮิงญามีลักษณะคล้ายกัน องค์กรระดับโลกหลายองค์กรได้ยืนยันถึงการเกิดขึ้นจริงของการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮิงญาโดยกองทัพเมียนมา การใช้ความรุนแรงต่อโรฮิงญามีลักษณะตั้งแต่ข่มขู่คุกคาม, จำกัดสิทธิเสรีภาพ ไปจนถึงการข่มขืนและการทำลายชีวิต
เมื่อตั้งพรรคการเมือง หลายคนถามผมว่า หากพรรคเราได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ประเทศไทยจะอยู่ตรงไหนในเวทีโลก? คำตอบของผมคือเราต้องเป็นผู้นำในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ สร้างอาเซียนให้มีอำนาจต่อรองในเวทีโลกและเป็นต้นแบบการพัฒนาที่ยั่งยืน
ไทยสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างประชาธิปไตยในอาเซียน เพื่อนำคนอีกหลายล้านคนที่ขาดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น, สิทธิทางการเมือง, ที่ใช้ชีวิตอยู่อย่างหวาดกลัว และที่ตกอยู่ในวังวนแห่งความยากจน ให้มาสู่สังคมที่ดีกว่าได้หากผู้นำของประเทศกล้าที่จะทำ
เรามีทั้งศักยภาพและพลังทางเศรษฐกิจเพียงพอที่จะสร้างให้ไทยเป็นแรงบันดาลใจให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆ เราสามารถนำประเทศในอาเซียนได้ถ้าเราหันกลับมายึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนสากล เราสามารถแสดงให้ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เห็นได้ว่าการพัฒนาประเทศด้วยประชาธิปไตยและการยอมรับในความหลากหลายเป็นไปได้และควรจะเป็น
การผลักไสผู้อพยพโรฮิงญาเป็นการหาทางออกที่ง่ายแต่ขัดต่อหลักมนุษยธรรม และเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืน การเผชิญหน้ากับปัญหาและกล้าที่จะพูดเรื่องที่อาจไม่เป็นที่นิยมแต่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมทางการเมืองกับประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ
ถ้าพรรคเรามีโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เราจะยื่นมือของคนไทยไปให้พวกเขา และจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างกระฉับกระเฉงด้วยการเปิดการพูดคุยกับรัฐบาลเมียนมาอย่างมียุทธศาสตร์ ใช้เวทีอาเซียนเป็นตัวกลางแก้ปัญหานี้ร่วมกัน เหมือนที่มาเลเซียและอินโดนีเซีย กำลังทำอยู่ และได้ช่วยรับผู้ลี้ภัยจำนวนหนึ่งไปแล้วด้วย โดยเฉพาะมาเลเซียที่อนุญาตให้ผู้ลี้ภัยโรฮิงญาทำงานได้ กลายเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เลี้ยงตนเองและครอบครัว ไม่ใช่ภาระเรื้อรังของประเทศอื่นๆ อย่างที่หลายคนเข้าใจ
เราจะไม่ปล่อยให้พวกเขาล่องลอยอย่างเดียวดายในทะเล ถูกผลักไสอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เราจะทำให้คนไทยภูมิใจที่ได้มีโอกาสช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในยามที่พวกเขาต้องการความช่วยเหลืออย่างที่สุด"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตระบัดสัตย์ในโลกสวย! เมื่อ 'แพทองธาร' ต้อนรับ 'มิน อ่อง หล่าย'
แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เคยประกาศไว้อย่างชัดเจนในช่วงหาเสียงว่า “จะไม่จับมือกับเผด็จการคนทำรัฐประหาร” ซึ่งในขณะนั้น คำพูดนี้มุ่งเป้าไปที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หรือที่ถูกเรียกกันว่า “สองลุง”
ย้อนคำจาตุรนต์! 'ทิชา' ถามหา 'หลักการ' นักการเมืองน้ำดี กรณี 'มิน อ่อง หล่าย'
ทิชา ณ นคร แชร์โพสต์เก่าจาตุรนต์ฉายแสง วิจารณ์พลเอกประยุทธ์เคยต้อนรับรัฐบาลทหารเมียนมา พร้อมเหน็บแนมเจ็บ ๆ ถามหาจุดยืนและหลักการจากนักการเมืองน้ำดี หลังรัฐบาลแพทองธารต้อนรับมิน อ่อง หล่าย สะเทือนภาพลักษณ์ซ้ำรอยเดิมที่เคยวิจารณ์ไว้
แอมเนสตี้ เรียกร้อง 'แพทองธาร' ทบทวนท่าทีต่อ 'มิน อ่อง หล่าย'
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ส่งเสียงถึง ‘แพทองธาร ชินวัตร’ นายกรัฐมนตรี ทบทวนท่าทีต้อนรับ ‘มิน อ่อง หล่าย’ ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง ระบุแม้เกิดแผ่นดินไหวยังเดินหน้าโจมตีประชาชน
กวาดล้างแก๊งคอลฯชาวไทยตั้งฐานกัมพูชา เชื่อมโยง 1,154 คดี เสียหายกว่า 700 ล้าน
พล.ต.อ.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร จเรตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (จตช./ผอ.ศปอส.ตร./ผอ.ศตคม.ตร.)
พบค่ายพักโรฮิงญา รอหนีเข้าไทยอีกกว่า 200 คน แฉแก๊งค้ามนุษย์ปล่อยข่าวลวงเผาทำลายที่พัก
แฉกลุ่มขบวนการค้ามนุษย์ 3 สัญชาติ ไทย-กะเหรี่ยง-พม่า ปล่อยข่าวเผาทำลายค่ายพักโรฮิงญา ชายแดนไมย-เมียนมา ด้านอำเภอท่าแซะ จ.ชุมพร ที่แท้ยังอยู่เหมือนเดิม ลักลอบขนไปแล้ว 200 คน เหลืออีกกว่า 200 คน รอขนเข้ามาพำนักในราชอาณาจักรไทย
กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจ หน้าหงาย! หอการค้า ชี้ไทยเดินตามกฎหมายปมส่งกลับอุยกูร์
นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส. บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมว่า ในฐานะคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจติดตามผลกระทบนโยบายเศรษฐกิจและเศรษฐกิจด้านต่างๆซึ่งปัจจุบันสหภาพยุโรปลง