ปชป.จัดทัพ 116 เขตภาคอีสาน พร้อมลุยศึกเลือกตั้ง

19 ก.พ.2565 - ที่โรงแรมขอนแก่นโฮเตลนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ก่อน เข้าร่วมประชุมเพื่อมอบนโยบายการขับเคลื่อนสาขาพรรค ตัวแทนพรรคภาคอีสาน ที่จังหวัดขอนแก่น ถึงการเตรียมความพร้อมของพรรคในภาคอีสานว่า ได้มีการเตรียมพร้อมอย่างน้อยที่สุดตามรัฐธรรมนูญเดิม อีสานจะมี 116 เขต ขณะนี้ประชาธิปัตย์จัดตั้งตัวแทนเขตครบแล้วทั้ง 116 เขต ถือเป็นตัวสะท้อนความพร้อมและความตั้งใจของประชาธิปัตย์ที่จะมาทำงานให้พี่น้องชาวอีสาน

“วันนี้ผมก็มาประชุมซักซ้อมการทำงานที่จะเดินหน้าต่อไป ใน 116 เขต และจะมีเรื่องอื่นๆ ด้วย แต่อย่างน้อยที่สุดประชาธิปัตย์มีความตั้งใจที่จะเข้ามารับใช้พี่น้องชาวอีสาน ในอดีตเราก็เป็นพรรคการเมืองที่ได้รับการต้อนรับจากชาวอีสานอย่างอบอุ่นและอดีตในการก่อตั้งพรรคก็มีพี่น้องชาวอีสานจำนวนมากที่มาร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ปี 2489 วันนี้ก็เป็นอีกครั้งที่ถือว่าเป็นการรวมพลัง 116 เขต อีสานมาขอปันใจจากพี่น้องชาวอีสานให้พรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งในการเลือกตั้งครั้งต่อไป” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคมีนโยบายอะไรใหม่ ๆ เพื่อซื้อใจคนอีสานอย่างไรบ้างนั้น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า มีหลายเรื่องที่จะเดินหน้าต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประกันรายได้เกษตรกรที่จะต้องยืนอยู่ต่อไป เพราะเป็นประโยชน์กับพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ รวมทั้งชาวอีสานด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา และพืชอื่นๆ เฉพาะอีสาน รวมทั้งในเรื่องของพืชเกษตรตัวอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย นอกจากนั้นประเด็นใหญ่สำคัญก็คือเรื่องน้ำ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลัก ซึ่งท่านรัฐมนตรีเฉลิมชัย ก็จัดงบลงมาเยอะมากในภาคอีสาน จากนั้นก็จะเป็นเรื่องการส่งเสริมการค้า โดยเฉพาะการค้าชายแดน ซึ่งอีสานถือว่าเป็นด่านสำคัญที่จะทำให้สินค้าไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ รวมทั้งสามารถทะลุไปยังภูมิภาคต่างๆ ตามเส้นทาง One Belt One Road ได้ ซึ่งจะหมายความว่าถัดจากนี้เราต้องช่วยกันผลักดันให้อีสานเชื่อมโลกต่อไปภายใต้นโยบายของพรรคประชาธิปัตย์

ผู้สื่อข่าวถามว่า หัวหน้าพรรคได้ประเมินพรรคไว้อย่างไรบ้าง นายจุรินทร์กล่าวว่า ตนมั่นใจว่าดีขึ้น ตนไม่ได้ตอบเอง แต่เรามีการประชุมร่วมกันกับแกนหลักๆ และตัวแทนของพวกเราในทุกจังหวัดของอีสาน ก็ประเมินตรงกันว่ากระแสตอบรับประชาธิปัตย์ในอีสานดีขึ้น และมีโอกาสที่จะได้เก้าอี้ หรือที่นั่งผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผู้แทนเขตหรือบัญชีรายชื่อก็ตาม

ผู้สื่อข่าวได้สอบถามถึงการอภิปรายทั่วไปที่เพิ่งผ่านไปนี้ จะทำให้เสถียรภาพรัฐบาลเป็นอย่างไรต่อไป มีหลายฝ่ายมองว่าดูเหมือนเป็นการซ้อมใหญ่อภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุทางการเมืองได้นั้น นายจุรินทร์กล่าวว่า ตนไม่วิจารณ์ไปพรรคไหนทั้งสิ้น แต่ถ้าพูดในภาพรวมของรัฐบาล ตนก็อยู่ในฐานะที่จะพูดได้ เพราะประชาธิปัตย์ถือว่าเป็นพรรคร่วมรัฐบาลพรรคหนึ่ง และก็ยังคิดว่าจนถึงวันนี้เสถียรภาพในภาพรวมของรัฐบาลก็ยังไปได้ ที่สำคัญก็คือวิปรัฐบาลจะต้องเร่งประเมินเสียงที่ชัดเจน หรือเสียงที่มั่นคงแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงกับรัฐบาลว่ามีจำนวนเท่าไหร่แล้วกำกับให้เป็นไปได้ตามนั้นในการลงคะแนนในสภา ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ไม่น่ามีปัญหา เพราะว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลในระบบรัฐสภาอยู่ได้ด้วยเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร เพราะฉะนั้นถ้าเสียงยังเป็นข้างมากอยู่ ทุกคนลงมติไปตามมตินั้น ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่สำคัญก็คือนอกจากเสียงข้างมากแล้ว การสร้างผลงานการทำหน้าที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องประชาชนโดยไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะประชาชนก็ติดตามอยู่และอยากเห็นรัฐบาลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต มีนโยบายที่ตอบสนองความต้องการได้ และมีวิสัยทัศน์ที่จะนำประเทศไปสู่ความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นกว่าปัจจุบันได้

ผู้สื่อข่าวถามว่าในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลมีความมั่นใจว่ารัฐบาลจะอยู่ครบวาระใช่หรือไม่ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ตนไม่อยู่ในฐานะที่จะตอบอย่างนั้นได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับปัจจัยเงื่อนไขหลายอย่าง หัวหน้ารัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล เสียงในสภา ผลงานและการยอมรับของพี่น้องประชาชน หรือเสียงตอบรับจากประชาชน มันจะเป็นองค์ประกอบรวมๆ กันด้วย

ผู้สื่อข่าวถามยังถามอีกว่าจากการอภิปรายใน 2 วันที่ผ่านมา วันแรกเป็นเรื่องสงครามรามเกียรติ์ แม้จะมองว่าเป็นการลดความตึงเครียด แต่ในเนื้อหาสาระแล้ว ในฐานะพรรคร่วมมองการอภิปรายอย่างไร หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ตนมองว่าฝ่ายค้านพยายามทำหน้าที่ แม้ว่ายังขาดความเป็นเอกภาพระหว่างกันอยู่บ้าง ตนก็ไม่ตำหนิอะไร แต่ว่าในภาครัฐบาลตนก็มั่นใจว่าชี้แจงได้ทุกประเด็น เพราะฉะนั้นคนที่ได้ประโยชน์สูงสุดคือพี่น้องประชาชนก็จะได้ติดตามและเข้าใจว่า ฝ่ายค้านสงสัยเรื่องอะไร เขาซักถามเรื่องอะไร รัฐบาลก็ชี้แจงในประเด็นใดไปอย่างไรบ้าง เขาชี้แจงได้อย่างไรบ้าง อะไรที่ประชาชนยังสงสัยอยู่รัฐบาลก็ได้ตอบ ก็ผ่านกระบวนการอภิปราย เพราะฉะนั้นประชาชนได้ประโยชน์และเป็นกำไรสูงสุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ? (ตอนที่ 53)

ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกา วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร

'จิรายุ' ตีปาก 'สส.โรม' อย่าพูดให้ประเทศเสียหาย ปมยิงอดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้รับรายงานจาก พลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรณีมีอดีต สส. ของกัมพูชา ถูกยิงเสียชีวิตในประเทศไทยแล้ว

นายกฯ ยันไร้แผนปรับครม. ตอนนี้พรรคร่วม-รมต.ไม่มีใครดื้อ ไม่เสียใจ 'ทักษิณ' พูดนำก่อน

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงนโยบายปรับลดค่าไฟตรงนี้ถือเป็นหลักประกันเก้าอี้ของ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงานด้วยหรือไม่ ว่า อันนี้ไม่ทราบเลยว่าทำไม

‘สรวงศ์’ โต้รัฐบาลรับลูกพ่อนายกฯ อ้างเป็นแค่วิสัยทัศน์อดีตผู้นำ

ทำเนียบรัฐบาล นายสรวงศ์ เทียนทอง รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร การกา