18 ก.พ.2565 - ที่รัฐสภา เมื่อเวลาเวลา 11.25 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากการกระทรวงกลาโหม ชี้แจง กรณี น.ส.จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย อภิปรายถึงกรณีบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ฟ้องประเทศไทย ภายหลังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ใช้คำสั่งมาตรา 44 สั่งปิดเหมืองทองอัครา ว่า รัฐบาลทุกสมัยมีหน้าที่ในการพิจารณาการนำทรัพยากรออกมาใช้อย่างเหมาะสม รัฐบาล ปี 2544 เห็นชอบตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการเหมืองแร่ เชิญชวนให้มีการลงทุนและทำเหมืองทองในจังหวัดพิจิตร
และปี 2554 รัฐบาลระงับการต่อใบอนุญาตประทานบัตรทำเหมือง จำนวน 1 แปลง ด้วยปัญหาความชัดเจนและมีการฟ้องร้องกันอยู่ในศาลปกครอง และมีการร้องเรียนจากประชาชนมีปัญหาสุขภาพจากการทำเหมือง และมีข้อโต้แย้งเรื่องขั้นตอนการอนุญาตขาดความรัดกุมและปัญหาสิ่งแวดล้อม
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่าต่อมา รัฐบาล คสช. เข้ามาช่วงที่มีปัญหาโต้แย้งกันอยู่แล้ว มีความชอบธรรมในการดำเนินการตามความจำเป็น ประกอบกับปัญหาสิ่งแวดล้อม รัฐบาลย่อมต้องพิจารณาหาแนวทางตามที่มีความจำเป็น และหลักการออก พ.ร.บ.แร่ ปี 2560 มีการออกนโยบายการทำเหมืองแร่ใหม่ เอกชนกว่า 100 รายก็มาขอใบอนุญาตใหม่และต่อใบอนุญาตเก่า เช่นเดียวกันกับ บริษัท อัครา ก็เป็นไปตามเงื่อนไขที่ให้ต่อใบอนุญาต แม้ผู้บริหารของบริษัทจะยังมีคดีความอยู่กับรัฐ แต่ก็ยังสามารถเข้าร่วมประมูลได้ และบริษัท อัครา ก็ได้ยื่นหนังสือต่อใบอนุญาตตามกฎหมาย เหมือนบริษัทอื่นๆ แต่ไม่ได้ต่อรองเพื่อแลกเปลี่ยนอะไรกับรัฐบาลทั้งสิ้น เป็นการต่อใบอนุญาตแปลงเดิมปี 2536 และ 2543 เป็นข้ออนุญาตตามใบอนุญาตเดิมตั้งแต่รัฐบาลยุคก่อน และการอนุญาตการสำรวจก็เป็นไปตามหลักกฎหมาย
นายกฯ กล่าวว่า การเจรจาเกิดขึ้นตามคำแนะนำของอนุญาโตตุลาการ ไทยไม่ได้เป็นฝ่ายไปขอเจรจาก่อน และการฟ้องร้องของบริษัท คิงส์เกต เป็นไปด้วยความที่ไม่เข้าใจว่ารัฐบาลต้องการยึดเหมืองของบริษัทลูก เพราะไม่มีการต่อใบอนุญาตมาตั้งแต่ปี 2554 เพราะบริษัทแม่อยู่ต่างประเทศ ส่วนเรื่องการใช้มาตรา 44 เป็นความตั้งใจบิดเบือนของผู้อภิปรายที่อยากให้ตนเสียหาย เนื่องจากมาตรา 44 เป็นเรื่องของการตรวจสอบและแก้ไขให้เป็นไปตามกฎหมาย และหากแก้ไขแล้วก็สามารถขออนุญาตให้เกิดใหม่ได้ ไม่ใช่ความต้องการที่จะยึดเหมือง หลังจากนั้นรัฐบาลก็ให้ความเป็นธรรมในการขอต่อใบอนุญาต โดยเป็นไปตาม พ.ร.บ.แร่ ฉบับแก้ไขในปี 2560
"และถ้าเกิดปัญหาขึ้นในอนาคตคงไม่ใช่ตนคนเดียว คงต้องย้อนกลับไปยังรัฐบาลก่อนๆ ที่ให้อนุญาตด้วย แต่ในรัฐบาลของตนต้องมาเป็นคนแก้ไข ตอนนี้กรณีนี้กำลังอยู่ในการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ขออย่าให้ทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศ และขอให้การอภิปรายไม่ใช่หวังตีรัฐบาล ล้มรัฐบาลอย่างเดียว แต่อยากให้มีการเสนอทางออกที่คิดว่าทำได้ด้วย" นายกฯ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สั่ง สคบ. คุมเข้มกระเช้าปีใหม่ 'ตรงปก-สินค้าครบ-ราคาชัด'
'จิราพร' สั่ง สคบ. คุมเข้มกระเช้าของขวัญปีใหม่ ต้องตรงปกสินค้าครบราคาชัด ตัดตอนผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค
'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' ฉายารัฐบาลปี67 นายกฯ'แพทองโพย' อนุทิน'ภูมิใจขวาง' วาทะแห่งปี'สามีเป็นคนใต้'
สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายาปี 67 'รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง' ส่วนฉายานายกฯ 'แพทองโพย' 7 รมต.ติดโผ 'บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี' พ่วง 3 รมต.โลกลืม
รัฐสภารับหลักการ ร่าง 'พ.ร.ป.ปราบทุจริต' สว.เสียงแตก หนุน-ค้าน
ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีนายมงคล สุระสัจจะ รองประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาเรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่...) พ.ศ... ซึ่งเสนอโดย คณะรัฐมนตรี (ครม.)
'ปธ.วันนอร์' เปิดประชุมร่วมสองสภา ถก 'พิธีสาร-กม.ป.ป.ช.'
'ประธานวันนอร์' เผยถกวิป 3 ฝ่าย ก่อนประชุมร่วมรัฐสภา เลื่อนพิจารณาพิธีสาร-กฎหมายป.ป.ช. พร้อมวางกรอบเวลาอภิปราย
'หัวหน้าเท้ง' อัดนายกฯอิ๊งค์ ชิ่งตอบกระทู้ถามสด ไม่เห็นความสำคัญของสภาฯ
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 3 สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 2 ซึ่งมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม วาระพิจารณากระทู้ถามสดด้วยวาจา โดยนายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สส.ระยอง
ถกประชามติเดือด! เพื่อไทยจวกพรรคร่วมฯตัวถ่วงประชาธิปไตย ภูมิใจไทยสวนกลับอย่ามักง่าย
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ(ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการร่วมกัน พิจารณาเสร็จแล้ว