17 ก.พ.2565 - เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สนง.กพ. ได้มีกลุ่มพสกนิกรปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย ประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน (ปภส.), ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์ (ศชอ.), ชุดปฏิบัติการศรีสุริโยไท ปกป้องสถาบัน, ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.), อาชีวะปกป้องสถาบัน และ เครือข่ายคนออนไลน์รับใช้แผ่นดิน (คคร.) นำโดย นายอานนท์ กลิ่นแก้ว จัดกิจกรรมยื่นหนังสือ "ขับไล่แอมเนสตี้ ภาค 2" ลั่นกลองรบรวมพลคนรักบ้านเกิดเมืองนอน ตะเพิดแอมเนสตี้พ้นประเทศไทย
เวลา 10.45 น. นายอานนท์ แสนน่าน อดีตประธานหมู่บ้านเสื้อแดงแห่งประเทศไทย และนายจักรพงศ์ กลิ่นแก้ว ได้ยื่นหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแอมเนสตี้ โดยมี ดร.เสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยตัวแทน สมช., ตัวแทนสปน. เป็นผู้แทนฯ รับเรื่องไว้ เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยมีผู้เข้าร่วมยื่นหนังสือประมาณ 250 คน
ทั้งนี้ หนังสือเครือข่ายหมูบ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทย ระบุว่า ข้าพเจ้า นายอานนท์ แสนน่าน ผู้ริเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านเสื้อแดง อดีตประธานหมู่บ้านเสื้อแดงแห่งประเทศไทย ในฐานะ "ประธานเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทย" ร่วมกับอดีตประหมู่บ้านเสื้อแดง 4 ภาค ประกอบด้วย นายสมชัย แสงทอง อดีต ประธานหมู่บ้านเสื้อแดงภาคเหนือ ในฐานะ "ประธานเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนภาคเหนือ" นางนิตยา นาโล หรือ "นักสู้ปอสี่" อดีตประธานหมู่บ้านเสื้อแดงภาคอีสาน ในฐานะ "ประธานเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนภาคอีสาน" นายไวทิต ศิริสุวรรณ อดีตประธานหมู่บ้านเสื้อแดงภาคกลาง ในฐานะ "ประธานเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนภาคกลาง" นายทวี ประหยัด อดีตประธานหมู่บ้านเสื้อแดงภาคใต้ ในฐานะ "ประธานเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนภาคใต้" และนายสุพล หมื่นศรีพรม อดีตคอมมิวนิสต์ "สหายธวัชชัย" ในฐานะประธานผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท .) พร้อมด้วยประชาชน 4 ภาค เพื่อยื่นหนังสือให้กับ อธิบดีกรมการปกครอง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อให้กรม กระทรวง และ สมช.เข้ามาตรวจสอบการทำงานขององค์กร Amnesty International Thailand ว่ามีพฤติกรรมและการกระทำที่เข้าข่ายกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และต่อสถาบันพระมหากษัตริย์หรือไม่
ด้วยเหตุผลกรณีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา หลังศาลรัฐธรรมนูญ มีการอ่านคำวินิจฉัยว่า การกระทำของ นายอานนท์ นำภา นายภาณุพงศ์ จาดนอก และ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ที่ชุมนุมปราศรัยเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต ซึ่งมีการเสนอข้อเรียกร้อง 10 ข้อในการปฏิรูปสถาบัน เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่ง จึงมีคำสั่งให้เลิกการกระทำ รวมทั้งกลุ่มองค์กรเครือข่ายเลิกกระทำการดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคสอง
แต่ปรากฎว่า Amnesty International Thailand ออกมาประกาศแคมเปญ เขียนจดหมายล้านฉบับ ถึงทั่วโลกเรียกร้องให้ทางกาไทยหยุดดำเนินคดีกับ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ถือว่าองค์กรนี้เข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของประเทศไทย และจงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของไทย เนื่องจากคำตัดสิน หรือ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นผูกพันทุกองค์กร อีกทั้งการกระทำของ Amnesty International Thailand ยังอาจถือได้ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังและให้การสนับสนุนต่อคน หรือ กลุ่มบุคคล ให้กระทำการจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่าง
หลีกเลี่ยงไม่ได้
จากเหตุผลข้างต้นน่าจะเพียงพอแล้วที่ทาง กรม กระทรวง และ สมช. จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยเร่งด่วน ด้วยการให้องค์กรนี้พัน "ออกไปจากประเทศไทย" หากมีข้อมูลและหลักฐานที่เชื่อได้ว่าองค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะแทรกแซงกิจการภายในของประเทศไทย และก่อนที่สถาบันพระมหากษัตริย์จะถูกล่วงละเมิดไปมากกว่านี้
หนังสือกลุ่มปกป้องสถาบัน ระบุว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 25พฤศจิกายน2564 ทางกลุ่มพสกนิกรปกป้องสถาบัน ได้มายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ช่วยนายกรัฐมนตรี นายเสกสกล อัตธาวงศ์ เพื่อให้ดำเนินการขับไล่ Amnesty International Thailand เพราะว่าองค์กรดังกล่าวเป็นกลุ่มบุคคลธรรมดา ที่อ้างตัวเป็นองค์กรนานาชาติ เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของคน แต่ความเป็นจริงองค์กรดังกล่าวเข้ามาเพื่อแทรกแซงกิจการภายในของราชอาณาจักรไทย และมาสร้างคำนิยมในทางที่ผิดให้กับสังคมไทย ส่งเสริมให้เยาวชนกระด้างกระเดื่องต่อกฎหมายบ้านเมือง เมื่อมีบุคคลกระทำความผิดกฎหมาย องค์กรตังกล่าวได้ออกมาเคลื่อนไหว เพื่อปกป้องผู้กระทำความผิด โดยอ้างความเท่าเทียม เรียกร้องเสรีภาพอันขัดต่อรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พร้อมประณามการกระทำของรัฐบาล และล่าสุดที่คนไทยรับไม่ได้คือการที่ Amnesty ทำแคมเปญเขียนจดหมายล้านฉบับถึงทั่วโลกเพื่อจี้ทางการไทยหยุดดำเนินคดีกับนางสาว ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง ทั้งที่บุคคลดังกล่าวได้ตกเป็นผู้ต้องหาการกระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายความมั่นคงของประเทศไทย และความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์
กล่าวโดยรวม Amnesty ก้าวก่าย และแทรกแซงกิจการภายในของราชอาณาจักรไทย Amnesty ไม่เคารพกระบวนการยุติธรรมของราชอาณาจักรไทย โดยเฉพาะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ Amnesty ส่อสนับสนุนให้ท้ายผู้คนหรือกลุ่มบุคคลที่จาบจ้วงดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์
บัดนี้นับจากวันที่ยื่นหนังสือกว่าสามเดือน มีการขอความคิดเห็นจากประชาชน และประชาชนได้เข้า ร่วมลงรายชื่อเพื่อขับไล่ Amnesty จำนวนกว่าหนึ่งล้านสองแสนรายชื่อ ทางกลุ่มพลกนิกรปกป้องสถาบันได้รวบรวมรายชื่อทั้งหมด เพื่อเรียนต่อทำนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไว้เป็นหลักฐานว่า ประชาชนเห็นพ้องต้องกันแล้วไม่ควรอนุมัติตามคำขอต่ออายุใบอนุญาต หากมีการต่ออายุใบอนุญาตให้กับ Amnesty กลุ่มพสกนิกรปกป้องสถาบันและประชาชนจักออกมาคัดค้านให้ถึงที่สุด
ในการนี้กลุ่มพสกนิกรปกป้องสถาบัน และประชาชนชาวไทยเห็นควรชับไล่ Amnesty International Thailand ให้พ้นประเทศไทยโดยทันที
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'พิธา' เผยไม่ได้เห็นต่าง 'ทักษิณ' เรื่องเปลี่ยนโครงสร้าง เหน็บอย่ามัวแต่พูด ถึงเวลาต้องทำแล้ว
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาคณะก้าวหน้าและอดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวระหว่างลงพื้นที่เป็นผู้ช่วยหาเสียงนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร
ม็อบบุกแบงก์ชาติ ยื่นอีก 5 หมื่นชื่อ ขวางการเมืองจุ้นเลือก 'ปธ.บอร์ด'
คปท. ศปปส. และกองทัพธรรม เดินทางมาชุมนุมหน้าแบงก์ชาติ เพื่อคัดค้านไม่ให้การเมืองเข้าแทรกแซงครอบงำ ธปท.
ชทพ.หนุนนิรโทษกรรมแต่ต้องไร้ ม.110-ม.112
'ชาติไทยพัฒนา' หนุน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ต้องเว้น ม.110 และ 112 เชื่อก้าวข้ามความขัดแย้งได้
'เทพไท' ซัดพรรคเพื่อไทยตระบัดสัตย์เรื่องนิรโทษกรรม
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช
ทั่วโลกจับตา! 'คดีตากใบ' สะท้อนไทยล้มเหลว ปล่อยละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำ
แอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย หวั่นคดีตากใบหมดอายุความ กลายเป็นใบเบิกทางละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีก ชี้ชัด ทั่วโลกจับตาดูอยู่ เชื่อจะเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงบนเวทีสาธารณะระหว่างประเทศต่อเนื่อง
'เพื่อไทย' แถบอกรายงานนิรโทษกรรมแค่การศึกษาหากแก้ 112 จริงไม่ยอมแน่
'พท.' จ่อเห็นชอบรายงาน-ข้อสังเกตนิรโทษกรรม บอก แต่ละพรรคโหวตอย่างไร เป็นเอกสิทธิ์ ด้าน 'นพดล' ย้ำ ไม่มีความคิดนิรโทษความผิดม.110 และ 112