ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ , นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
10 ก.พ.2565 - สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่ความเห็นส่วนตนของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 24/2564 ลงวันที่ 22 ธ.ค.2564 ที่มีมติเสียงข้างมาก ให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายสิระ เจนจาคะ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101(6) ประกอบมาตรา 98(10)
ทั้งนี้ความเห็น คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 ราย พบว่ามี 7 รายมีความเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายสิระ เจนจาคะ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ , นายปัญญา อุดชาชน , นายวิรุฬห์ แสงเทียน , นายจิรนิติ หะวานนท์ , นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม , นายนภดล เทพพิทักษ์ และนายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์
ขณะที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 ราย คือ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ , นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ มีความเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายสิระ เจนจาคะ ไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ
โดยคำวินิจฉัยส่วนตนของ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ มีรายละเอียดดังนี้
ความเห็น
ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร้อง ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคหนึ่ง ว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายสิระ เจนจาคะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐ กรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 9 ผู้ถูกร้อง สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (10) หรือไม่ เนื่องจาก ปรากฏข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2538 ศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 812/2538 คดีหมายเลขแดงที่ 2218/2538 ความอาญา เรื่อง ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ คดีระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดกองคดีแขวงปทุมวัน เป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้ถูกร้องเป็นจำเลยว่าผู้ถูกร้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 รวม ๒ กระทงให้จำคุกกระทงละ 5 เดือน เรียงกระทงลงโทษรวมจำคุก 8 เดือน ผู้ถูกร้องรับสารภาพเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณาลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 98 คงจำคุก 4 เดือน กับให้ผู้ถูกร้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ 200,000 บาท แก่ผู้เสียหายและริบสัญญาจะซื้อจะขาย จึงเป็นกรณีที่ผู้ถูกร้องเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ทำให้ผู้ถูกร้องเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (10) อันเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6)
เห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) เป็นบทบัญญัติว่าด้วยความเป็นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงเมื่อมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 และรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (10) เป็นบทบัญญัติว่าด้วยบุคคลผู้มีลักษณะที่ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในกรณีเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน
หากพิจารณาในรัฐธรรมนูญ มาตรา 101(6) ประกอบมาตรา 98 (10) แล้ว พบว่าเป็นบทบัญญัติเพิ่มขึ้นใหม่ เพื่อป้องกันมีให้บุคคลที่ขาดความน่าเชื่อถือ ในความสุจริตหรือผู้ที่เคยทำความผิดอันเป็นปฏิปักษ์ต่อประโยชน์สาธารณะได้เข้ามาดำรงตำแหน่งในทางการเมือง อย่างไรก็ดี มีข้อควรพิจารณาดังนี้
1. ความร้ายแรงของความผิด ในส่วนที่เกี่ยวกับฐานความผิดนั้น ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 98 (10) ที่ว่า ...ความผิดต่อ...ทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต... " เมื่อพิจารณาทั้งอนุมาตรารวมกันแล้วจะเห็นเจตนารมณ์ของมาตราดังกล่าวอย่างชัดเจนว่ามุ่งหมายถึงความผิดที่ทุจริตร้ายแรงอันยอมความมิได้เท่านั้น เทียบได้กับการตีความในเรื่องอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 (3) ที่ว่า "เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด" คำว่า "อวัยวะ" ตามข้อนี้เมื่ออ่านทั้งอนุมาตรา แล้วก็จะเข้าใจได้ว่ามิใช่จะเป็นอวัยวะใด ๆ ก็ได้ หากแต่หมายจำเพาะอวัยวะที่มีความสำคัญเทียบเท่า แขน ขา มือ เท้า นิ้ว ที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราเดียวกันเท่านั้น ไม่หมายถึงอวัยวะที่เป็นฟัน ขน เล็บหนัง...ๆ ด้วย แม้กฎหมายจะมุ่งหมายว่าผู้แทนราษฎรต้องไม่มีพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจคือไม่ทุจริต แต่ความผิดฐานฉ้อโกงผู้อื่นก็มีความใกล้เคียงกับการผิดสัญญาทางแพ่งอันเป็นเรื่องระหว่างบุคคลกฎหมายจึงกำหนดให้ยอมความได้เพราะมีมูลเหตุมาจากความไว้เนื้อเชื่อใจกันเป็นการส่วนตัว หากเป็น การฉ้อโกงประชาชนซึ่งยอมความไม่ได้จึงจะเป็นกรกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประโยชน์สาธารณะไม่สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะพึงมี
2.กฎหมายย้อนหลัง การกำหนดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญใหม่ย่อมกระทำได้เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติดีกว่าเดิม แต่หากย้อนหลังนำไปใช้กับการให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากการกระทำที่มีมาก่อนกฎหมายบัญญัติย่อมจะไม่เป็นธรรมกับผู้ที่ถูกตัดสิทธิและแม้ว่าการตัดสิทธิจะมิใช่เป็นโทษอาญาโดยตรง แต่การย้อนไปตัดสิทธิดังกล่าวอาจมีผลให้ผู้กระทำต้องถูกดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2561 มาตรา 151 ซึ่งมีโทษอาญาก็เท่ากับเป็นการนำกฎหมายที่มีโทษอาญามาใช้ย้อนหลังบังคับกับการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนโดยปริยายอาจจะไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 ได้
3.ระยะเวลาที่ล่วงเลย มากกว่า 20 ปี ในแง่อายุความ แม้ความผิดที่มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต ยังขาดอายุความไม่อาจนำมาฟ้องร้องกันได้ตามกฎหมาย หรือเมื่อศาลพิพากษาลงโทษผู้ใดผู้นั้นยังมิได้รับโทษก็ดี... ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมารับโท....เกินกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 98 เป็นอันล่วงเลยการลงโทษ จะลงโทษผู้นั้นมิได้ จึงไม่น่าจะนำมาเป็นเหตุเพื่อใช้ตัดสิทธิต่าง ๆ ได้อีก
4.ความน่าเชื่อถือ เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 20 ปี ความไม่แน่นอนชัดเจนของพยานหลักฐานย่อมอาจคลุมเครือไม่น่าเชื่อถือยิ่งเป็นคดีเล็กน้อยยอมความกันได้ยิ่งยากที่จะมีผู้ใดจดจำอย่างแม่นยำได้พยานหลักฐานจึงอาจคลาดเคลื่อนจากความจริงได้ การจะนำมาใช้ตัดสิทธิสำคัญและอาจถูกนำไปดำเนินคดีอาญาได้จึงไม่ควรกระทำ
เมื่อนำข้อพิจารณาดังกล่าวมาประกอบกับเท็จจริงตามคำร้อง คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา คำชี้แจงของหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบแล้วความปรากฏว่า เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2537 ผู้ถูกร้องถูกจับกุมที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน เลขคดีอาญาที่ 2889/2537 ข้อหาร่วมกันฉ้อโกง ต่อมาสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 6 (ปทุมวัน) ได้รับสำนวนจากสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน เป็นสำนวน ส.1 เลขรับที่ 36/2538 คดีระหว่าง พันตำรวจตรี เขมรินทร์ หัสศิริ (ยศในขณะนั้น เป็นผู้กล่าวหา ผู้ถูกร้องเป็นผู้ต้องหาที่ 1 นายสมชาย เกียรติวิทยาสกุล เป็นผู้ต้องหาที่ 2 และนายสิทธิชัย ตุลยนิษก์ เป็นผู้ต้องหาที่ 3 ข้อหาร่วมกันฉ้อโกง จากนั้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2538 สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีตาลแขวง 6 (ปทุมวัน) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้ถูกร้อง ผู้ต้องหาที่ 1 ต่อศาลแขวงปทุมวัน เป็นจำเลยในคดีหมายเลขดำที่ 812/2538 คดีหมายเลขแดงที่ 2218/2538 ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 มาตรา 91 และมาตรา 83 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2526 มาตรา 4 และสั่งให้ จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายและริบสัญญาจะซื้อจะขายทั้ง 3 ฉบับ มีคำสั่งให้ยุติการดำเนินคดีผู้ต้องหาที่ 2 และผู้ต้องหาที่ 3 เนื่องจากคดีขาดอายุความร้องทุกข์ และเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2538 ศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาว่าผู้ถูกร้องมีความผิดอาญาฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 รวม 2 กระทง ให้จำคุกกระทงละ 4 เดือน เรียงกระทงลงโทษรวมจำคุก 8 เดือน ผู้ถูกร้องรับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 4 เดือน กับให้ผู้ถูกร้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ 200,000 บาท แก่ผู้เสียหายและริบสัญญาจะซื้อจะขายจากคำชี้แจงของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครไม่ปรากฏข้อมูลการต้องขังและรายนามผู้ต้องขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกา (รท.23 ก) เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวยังไม่มีการบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ อีกทั้งเอกสารถูกทำลายจากเหตุการณ์อุทกภัยในช่วงปี พ.ศ.2554 และศาลอุทธรณ์ชี้แจงว่าไม่มีการอุทธรณ์คดีดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์
มีประเด็นต้องวินิจฉัยเบื้องต้นก่อนว่า ผู้ถูกร้องกระทำกรอันมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (10) หรือไม่
เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงในคดีจะปรากฏว่า ศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกร้องมีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ก็ตาม แต่เมื่อผู้ถูกร้องโต้แย้งและมีพยานบุคคลยืนยันว่าผู้ถูกร้องได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างระยะเวลาอุทธรณ์คดีดังกล่าว และมีการเจรจาชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายแล้ว โดยที่ได้ชำระค่าเสียหายบางส่วนในวันถัดจากวันที่ศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษา ส่วนที่เหลือชำระหลังจากชำระค่เสียหายบางส่วนประมาณ 20 วัน และในระหว่างระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามที่กฎหมายกำหนด ผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลแขวงปทุมวัน ทำให้ต่อมาศาลแขวงปทุมวันจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และไม่รับรองว่าคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าคดีดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
อีกทั้งผู้ร้องไม่ได้มีพยานหลักฐานใดที่จะแสดงต่อศาสรัฐธรรมนูญว่าคดีดังกล่าวถึงที่สุด จึงไม่มีพยานหลักฐานใดที่จะเชื่อได้ว่าผู้ถูกร้องต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยทุจริต หตุกรณ์ดังกล่าวล่วงเลยมากกว่า 20 ปีแล้วประกอบกับเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อเทียบกับการตัดสิทธิทางการเมืองถึงขั้นทำให้สมาชิกภาพของผู้ถูกร้องต้องสิ้นสุดลงแล้ว อาจถูกตัดสิทธิทางการเมืองและอาจถูกดำเนินคดีที่มีโทษทางอาญาอีกซึ่งถือเป็นเรื่องร้ายแรง เมื่อยังมีข้อเท็จจริงที่ไม่สอดคล้องกันอยู่จึงไม่สมควรจะรับฟังมาเป็นผลร้ายแก่ผู้ถูกร้อง สมควรพิจารณาให้เป็นคุณ
ดังนี้ เมื่อความผิดในคดีดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้และรับฟังได้ว่ามีการถอนคำร้องทุกข์และศาลได้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความแล้ว กรณีตามคำร้องจึงถือไม่ได้ว่าผู้ถูกร้องเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญาตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (10) อันจะทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6)
อาศัยเหตุผลตังกล่าวข้างต้น จึงเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (10)
ขณะที่ ความเห็นส่วนตนของ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ซึ่งวินิจฉัยว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายสิระ เจนจาคะ ไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มีรายละเอียดดังนี้
ความเห็น
ข้อเท็จจริงตามคำร้อง คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา คำชี้แจงของผู้เกี่ยวข้อง และเอกสารประกอบฟังได้ว่า ศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 812/2538 คดีหมายเลขแดงที่ 2218/2538 ระหว่าง พนักงานอัยการสำนักงานอัยการสูงสุดกองคดีแขวงปทุมวัน โจทก์ ผู้ถูกร้องจำเลย เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2538 ว่า ผู้ถูกร้องกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ให้ลงโทษจำคุก 8ร้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ 200,000 บาท แก่ผู้เสียหาย และริบสัญญาจะซื้อจะขายรายละเอียดปรากฎตามสำเนาคำพิพากษาพร้อมสำเนาปกหน้าสำนวน ส่วนสำนวนคดีของคดีดังกล่าวได้ถูกปลดทำลายไปแล้ว รายละเอียดปรากฏตามสำเนาบันทึกการปลดทำลายสำนวนความและเอกสารประจำปี พ.ศ. 2549 ศาลอุทธรณ์ชี้แจงว่าคดีดังกล่าวไม่ได้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และจากคำชี้แจงของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครไม่ปรากฏข้อมูลการต้องขังและรายนามผู้ต้องขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกา (ร.23 ก) เนื่องจากในช่วงเวลาตังกล่าวยังไม่มีการบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์อีกทั้งเอกสารถูกทำลายจากเหตุการณ์อุทกภัยในช่วงปี พ.ศ.2554
ผู้ถูกร้องและนายโสกณ เจนจาคะ ซึ่งเป็นพี่ชายของผู้ถูกร้อง โต้แย้งว่า ในคดีดังกล่าวภายหลัง ศาลแขวงปทุมวันได้มีคำพิพากษา ผู้ถูกร้องและนายโสภณ เจนจาคะ ได้มีการนัดตกลงกันกับผู้เสียหาย กล่าวคือ ร้อยตำรวจเอก เขมรินทร์ หัสศิริ (ยศขณะนั้น) โดยผู้ถูกร้องยินยอมที่จะชำระเงินค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย และเมื่อชำระค่าเสียหายครบถ้วนแล้วผู้เสียหายยินยอมที่จะถอนคำร้องทุกข์ ในการชำระค่าเสียหายนั้น นายโสภณ เจนจาคะ จะเป็นผู้ชำระให้และนัดชำระกันที่ศาลแขวงปทุมวัน ต่อมาเมื่อมีการชำระเงินค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายจนครบถ้วนแล้ว ผู้เสียหายจึงได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลซึ่งมีพนักงานอัยการมารับรองว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหายจริง ศาลจึงได้มีคำสั่งอนุญาตให้ถอนคำร้องทุกข์และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนพลตำรวจตรี เขมรินทร์ หัสศิริ ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีดังกล่าว โต้แย้งว่า หลังจากที่ศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาดังกล่าว ผู้เสียหายไม่เคยถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแต่อย่างใด และไม่ปรากฏพยานหลักฐานและเอกสารที่ยืนยันว่าได้มีการถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันในคดีดังกล่าว
รัฐธรรมนูญ มาตรา 101 ได้กำหนดเหตุที่ทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงโดยบัญญัติว่า "สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เมื่อ ...(6) มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 98 ... " และมาตรา 98 บัญญัติว่า "บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้ สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ... (10) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน
มีประเด็นต้องวินิจฉัยเบื้องต้นก่อนว่า ผู้ถูกร้องกระทำการอันมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (10) หรือไม่
พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ต้องกำหนดให้นำลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 ซึ่งเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีเจตนารมณ์ในการกำหนดลักษณะต้องห้ามของบุคคลเพื่อมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาเป็นเหตุที่ทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติในฐานะที่เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย จึงต้องมีหลักประกันว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต มีความประพฤติเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของสาธารณชนตลอดการปฏิบัติหน้าที่
โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (10) กำหนดให้ผู้ที่เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฏหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนัน ในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน เป็นผู้มีลักษณะ ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใหม่ กล่าวคือ ถูกบัญญัติเป็นครั้งแรกไว้ในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยมีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันมีให้บุคคลที่ขาดความน่าเชื่อถือในความสุจริตหรือผู้ที่เคยกระทำความผิดอันเป็นปฏิปักษ์ต่อประโยชน์สาธารณะได้เข้ามาดำรงตำแหน่งในทางการเมือง โดยในส่วนที่เกี่ยวกับฐานความผิดนั้น ได้มีการกำหนดให้สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะพึงมี โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมีหลักการสำคัญในการยึดถือการที่ศาลได้วินิจฉัยว่าได้มีการกระทำความผิดในเรื่องนั้น ๆ หรือไม่เป็นสำคัญ โดยไม่คำนึงว่ามีเหตุบรรเทาโทษอย่างไรหรือจะถูกลงโทษหรือไม่ โดยเหตุนี้ในเวลาที่มีการล้างมลทินหรืออภัยโทษ บุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวย่อมไม่ได้รับผลจากการล้างมลทินหรือการได้รับการอภัยโหษ เนื่องจากการล้างมลทินเป็นการลบล้างโทษที่บุคคลผู้กระทำความผิดได้รับโทษมาครบถ้วนและพ้นโทษแล้ว ส่วนการอภัยโทษป็นการให้อภัยแก่ผู้ต้องโทษที่กำลังได้รับโทษอยู่ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องถูกลงโทษต่อไป การล้างมลทินและการอภัยโทษจึงมีลักษณะเป็นการลบล้างโทษไม่ใช่การลบล้างความผิดแต่อย่างใด ดังนั้น ผู้เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ความผิดนั้นยังคงอยู่ จึงต้องถือว่าเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (10)
นอกจากนี้ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวยังเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้นั้นสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) เนื่องจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้นำลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 มาเป็นเหตุที่ทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 812/2538 คดีหมายเลขแดงที่ 2218/2538 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2538 ว่า ผู้ถูกร้องกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ที่บัญญัติว่า
"ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ให้ลงโทษจำคุก 8 เดือน รับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่ง ให้จำคุก 4 เดือน และให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายและริบสัญญาจะซื้อจะขาย จึงเป็นกรณีที่ผู้ถูกร้องเคยต้องคำพิพากษาว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ผู้ถูกร้องเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (10) และเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (10) หากคำพิพากษาดังกล่าวเป็นคำพิพากษาอันถึงที่สุด
ทั้งนี้ ผู้ถูกร้องโต้แย้งว่า ผู้เสียหายในคดีดังกล่าวซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ ได้มีการถอนคำร้องทุกข์ภายหลังศาลแขวงปทุมวันได้มีคำพิพากษาและอยู่ในระหว่างระยะเวลาอุทธรณ์ จึงเป็นการถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุด โดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 126 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า
"ผู้ร้องทุกข์จะแก้คำร้องทุกข์ระยะใด หรือจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้"
และศาลได้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่งผลทำให้คดีสิ้นสุดลงกล่าวคือ การถอนคำร้องทุกข์ในคดีดังกล่าวซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ย่อมส่งผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 ที่บัญญัติว่า "สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้ .. (2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัวเมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ... " มีผลทำให้คำพิพากษาของศาลแขวงปทุมวันซึ่งเป็นศาลชั้นต้นระงับไปในตัว อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏพยานหลักฐานและเอกสารที่ยืนยันว่าในคดีดังกล่าวได้มีการยอมความหรือถอนคำร้องทุกข์อันทำให้คดีสิ้นสุดลงแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้เมื่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการจำกัดตัดสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (10)และรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ได้นำลักษณะต้องห้ามดังกล่าวมาเป็นเหตุที่ทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง ดังนั้น การนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่กรณีใดต้องมีการตีความโดยเคร่งครัด อีกทั้งต้องพิจารณาพยานหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดถี่ถ้วนให้ปราศจากข้อสงสัย เพื่อให้การบังคับใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
กล่าวคือ ต้องรับฟังได้ว่าคำพิพากษาดังกล่าวเป็นคำพิพากษาอันถึงที่สุด โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏพยานหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดีดังกล่าวนอกจากปกสำนวนและคำพิพากษา เนื่องจากได้มีการปลดทำลายสำนวนความและเอกสาร จึงไม่อาจรับรองได้ว่าคดีถึงที่สุดหรือไม่ อีกทั้งไม่ปรากฏข้อมูลการต้องขังของผู้ถูกร้องในคดีดังกล่าว ประกอบกับคดีดังกล่าวเป็นคดีที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาเนิ่นนานแล้ว จึงเหลือแต่เพียงพยานหลักฐานที่เป็นคำเบิกความของพยาน กล่าวคือ นายโสภณ เจนจาคะ และพลตำรวจตรี เขมรินทร์ หัสศิริ ซึ่งคำเบิกความดังกล่าวมาจากความทรงจำของบุคคลที่ผ่านมาเนิ่นนานแล้ว จึงอาจผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้
ดังนั้น จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า ผู้ถูกร้องเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 อันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (10) และเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (10) สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องจึงไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (10)
อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างตัน จึงเห็นว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (10)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล
ที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์
'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร : ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้