เพื่อไทย ชูภารกิจ 'ทักษิณ' เปิบข้าวร่วมม็อบสมัชชาคนจน ลืมไปว่ายืมมือ 'ผู้ว่าฯหมัก' ทุบชาวบ้านกระเจิง!

ทักษิณ

10 ก.พ.2565 - พรรคเพื่อไทย เดินหน้าชูภาพลักษณ์ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไปพร้อมๆกับเดินเกมบีบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ยุบสภา

ล่าสุดเฟซบุ๊กเพจพรรคเพื่อไทย โพสต์รูปภาพนายทักษิณ ครั้งเป็นนายกรัฐมนตรี นั่งพื้นร่วมกินข้าวกับกลุ่มผู้ชุมนุม "สมัชชาคนจน" ที่ปักหลักชุมนุมเรียกร้องกรณีเขื่อนปากมูล บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2544

พรรคเพื่อไทย ระบุในเฟซบุ๊กว่า ประเดิมภารกิจแรกหลังรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 23 ของประเทศไทย ‘ทักษิณ ชินวัตร’ นำคณะทำงานร่วมรับประทานอาหารเที่ยงกับ ‘กลุ่มสมัชชาคนจน’ ประชาชนที่มาปักหลักชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรมบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล

ประเด็นที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่และประชาชนได้ร่วมหารือกัน คือ ปัญหาที่ยื้อเยื้อมาอย่างยาวนานหลายรัฐบาลแต่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ ทั้งเรื่องเขื่อน ป่าไม้และที่ดิน อุทยานแห่งชาติประกาศทับที่ทำกินของราษฎร แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากสารพิษและเคมีของโรงงานจนเจ็บป่วย ประมงพื้นบ้าน เกษตรกรรมทางเลือก สลัม และแรงงานไทยเกรียง โดยมี วัชรี เผ่าเหลืองทอง ชัยพันธ์ ประภาสะวัด วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ ไพจิตร ศิลารักษ์ และ ฉลาด ยงพฤกษา เป็นตัวแทนผู้ชุมนุมในการหารือครั้งนี้

#ณวันนั้น ท่ามกลางสายฝนโปรยปราย แต่ทั้งสองฝ่ายต่างก็เตรียมสำรับอาหารมารับประทานร่วมกัน โดยฝั่งนายกฯ ทักษิณ ได้เตรียมข้าวเหนียว ไก่ย่าง และส้มตำ ขณะที่ฝั่งสมัชชาคนจน ได้ทำอาหารรอต้อนรับ ทั้งแจ่วบอง ปลาป่น แกงอ่อม ปลาทอด ปลาร้าสับ และไข่พะโล้

การตั้งวงรับประทานอาหารเป็นไปอย่างเรียบง่าย ทั้งสองฝ่ายต่างพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ท่ามกลางสายฝนที่โปรยปราย โดยหนังสือพิมพ์มติชนรายงานเหตุการณ์ในวันนั้นว่า ‘บรรยากาศเป็นไปอย่างทุลักทุเล แต่ก็ดูอบอุ่นไม่เบา’

หลังรับฟังปัญหาจากประชาชนทั้งหมดและรับประทานอาหารกันจนอิ่มท้องเป็นที่เรียบร้อย นายกฯ ทักษิณ ได้กล่าวว่า

“นโยบายของเรามองการแก้ไขปัญหาแบบมหภาค เมื่อทำได้แล้วจะไปช่วยแก้เรื่องจุลภาคอีกเยอะ ดังนั้นที่จะทำหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหมู่บ้าน พักชำระหนี้เกษตรกร เพื่อต้องการให้เกิดการหมุนเวียนในระบบ สร้างอาชีพให้คนมีรายได้ ปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรกรให้เข้าสู่ระบบ ส่วนการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดิน ป่าไม้ มีผลกระทบจากภาคราชการรอบรู้ไม่ทันสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จึงขาดความรู้ความเข้าใจข้อเท็จจริงและเขียนแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยยึดทฤษฏีเท่านั้น”

ก่อนจากกันในครั้งนั้น นายกฯ ทักษิณ ได้ทักทายและพูดคุยกับชาวบ้านที่มาปักหลักชุมนุมตลอดทาง พร้อมให้คำมั่นว่าจะแก้ไขปัญหาที่รับฟังจากสมัชชาคนจนในวันนั้นอย่างเป็นรูปธรรม

สำหรับแนวทางต่อไปใน ณ วันนั้น ทั้งสองฝ่ายได้มีการนัดหมายการหารือนอกรอบร่วมกันในอีก 2 วันหลังจากนั้น โดยมี ภูมิธรรม เวชชัย ว่าที่รองเลขาธิการนายกฯ ในขณะนั้น รวมทั้งคณะนักวิชการของพรรคไทยรักไทยเป็นตัวแทนในการรับฟังปัญหาและข้อเสนอจากประชาชน

นอกจากนั้น รัฐบาลยังได้จัดตั้งคณะกรรมการติดตามแก้ไขปัญหาฯ รวมถึงนายกรัฐมนตรีได้ลงพื้นที่เขื่อนปากมูลเพื่อศึกษาผลกระทบด้วยตนเอง

สุดท้ายแล้ว แม้การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลทักษิณทั้ง 2 สมัย จะไม่ลุล่วงสำเร็จตามเป้าประสงค์ของกลุ่มสมัชชาคนจนในทุกข้อเรียกร้อง แต่หลังการพบเจอกันครั้งนั้น รัฐบาลไทยรักไทยได้พยายามหาหนทางแก้ไขปัญหาให้พี่น้องสมัชชาคนจนในทุกด้านอย่างเต็มที่

โดยปรากฎให้เห็นตลอดเวลาการทำงานของรัฐบาลของนายกฯ ที่ได้ออกนโยบายแก้ไขความยากจน สร้างโอกาสและความเท่าเทียมเพื่อพี่น้องประชาชน พร้อมผลักดันนโยบายเพื่อประชาชนจำนวนมาก อาทิเช่น กองทุนหมู่บ้าน การพักชำระหนี้เกษตรกร หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP เป็นต้น (อ่านต้นฉบับ)

อย่างไรก็ตามข้อมูลใน "ประชาไท" ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของกลุ่มสมัชชาคน ได้เคยเสนอรายงานพิเศษเรื่อง "24 ปีปัญหา - 13 นายกฯ - 16 รัฐบาล มหากาพย์รากหญ้า ปากมูน" โดยประมวลลำดับเหตุการณ์ของกลุ่มสมัชชาคนจนหรือ "ชาวบ้านปากมูน" และการดำเนินการแก้ปัญหา ช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ(1) ระหว่าง 9 ก.พ.2544 - 11 มี.ค.2548 ดังนี้

มติ ครม. 17 เม.ย.2544 ให้เปิดประตูเขื่อนปากมูล 8 บาน เป็นระยะเวลา 4 เดือน (พ.ค. – ส.ค.) ต่อมาได้ขยายระยะเวลาการเปิดเขื่อนเป็น 1 ปี เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.2544 และให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีทำการศึกษา ซึ่งก็ได้เสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการเปิดเขื่อนตลอดปี

อย่างไรก็ตาม ต่อมา ครม.มีมติ 1 ต.ค.2545 ให้เปิดเขื่อนทุกปีเป็นระยะ 4 เดือน (1 ก.ค.ถึง 31 ต.ค.)

24 ธ.ค.2545 พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์สำรวจพื้นที่เขื่อนปากมูล จากนั้นมีการตั้งทีมทำงาน 4 ชุด เพื่อสำรวจและสอบถามความเห็นของชาวบ้านริมแม่น้ำมูล ด้านสมัชชาคนจนออกแถลงการณ์ประณามคำสั่งดังกล่าว ระบุว่านายกฯ ไม่ยอมตัดสินใจ และสร้างกระบวนการใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ โดยชาวบ้านมีส่วนร่วมเพียงในกระบวนการที่ถูกกำหนดไว้เท่านั้น

24 มิ.ย.2546 ครม.เห็นชอบการลงนามของกรมประมงและกระทรวงพลังงาน (กฟผ.) ในบันทึกความร่วมมือระหว่างกันเกี่ยวกับภารกิจโครงการชลประทานปากมูล รวมทั้งการกำหนดกรอบแผนปฏิบัติการและงบประมาณเพื่อดำเนินการโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาการประมงในลำน้ำมูนตอนล่าง ประจำปี พ.ศ.2546 เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 155,440 ไร่ มีระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี วงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 803.20 ล้านบาท

21 ม.ค. 2546 ชาวบ้านปากมูนชุมนุมและเปิด ‘หมู่บ้านคนจนแม่มูนมั่นยืน’ ที่ข้างทำเนียบรัฐบาล ด้านนายกฯ ประกาศกร้าวว่า สร้างได้ก็รื้อได้ ส่วนนายสมัคร สุนทรเวช ที่เป็นผู้ว่าฯ ขณะนั้นประกาศจะใช้กฎหมายเด็ดขาด ตัดน้ำ ไฟ และต่อมามีการนำกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจ 1,000 คนเข้ารื้อย้ายเพิงพักและข้าวของของผู้ชุมนุม เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2546

8 มิ.ย.2547 มติ ครม.ให้เปิดเขื่อนตั้งแต่เดือน พ.ค.หรือ มิ.ย.เป็นต้นไปจนครบ 4 เดือน โดยให้กระทรวงพลังงานรับไปประสาน ให้ กฟผ.พิจารณากำหนดวันให้เหมาะสม สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และเป็นที่ยอมรับร่วมกันของชุมชนในพื้นที่.

ขอบคุณข้อมูลจาก ประชาไท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทวีไอพี สอดไส้' ยิ้มรับฉายาใหม่! แก้ข่าว 'ทักษิณ' แข็งแรงไม่เหมือนผู้ป่วย ภายนอกอาจใช่ แต่ภายในอาจป่วย

ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ว่า ต้องขอบคุณในฐานะที่ตนเป็นบุคคลสาธารณะ แต่

เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ

ทวียก 'ทักษิณ' นั่งที่ปรึกษาอันวาร์ ผลดีงานแนวชายแดนใต้

ทวียกทักษิณ นั่งที่ปรึกษาอันวาร์ ส่งผลดีความร่วมมือแนวชายแดนใต้ “ทวี”เชื่อ การที่ นายกฯอันวาร์ อิบราฮิม แต่งตั้ง อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย จะส่งดีต่อการเจรจาเพื่อยกระดับความร่วมมือตามแนวชายแดน ไทย-มาเลเซีย โดยเฉพาะการเพิ่มการค้าการลงทุนและการแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ

เรือลำเดียวกัน! ชื่นมื่น 'ทักษิณ-อนุทิน' ตีกอล์ฟสยบรอยร้าวรัฐบาลแตก

ชื่นมื่น “ทักษิณ - “อนุทิน” ร่วมวงตีกอล์ฟ สยบรอยร้าวรัฐบาลแตก หลังฟาดปม“อีแอบ" ยันสัมพันธ์ยังอยู่ในเรือลำเดียวกัน