โรงเรียนสาธิต มธ. เคลื่อนไหวแล้ว หลังสังคมข้องใจ 'บิดเบือนประวัติศาสตร์'

โรงเรียนสาธิต มธ.6 ก.พ.2565 - จากกรณีมีการตั้งข้อสังเกตว่า หลักสูตรของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (โรงเรียนสาธิต มธ.) อาจมีการบิดเบือนประวัติศาสตร์และสถาบัน และต่อมาเมื่อ 4 ก.พ.ที่ผ่านมาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้สัมภาษณ์ว่า กำลังให้หน่วยงานเกี่ยวข้องไปดูเรื่องนี้อยู่นั้น

ล่าสุดวันนี้เฟซบุ๊กเพจ "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ได้เผยแพร่แถลงการณ์ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อสาธารณะ โดยมีเนื้อหาดังนี้

ตามที่มีกระแสข่าวในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับหลักสูตรและแนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสน คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง ลดทอนคุณค่าและความมุ่งมั่นอันแท้จริง โรงเรียนฯ จึงขอชี้แจงและทำความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1. โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสถาบันการศึกษาภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับการเคารพความหลากหลายทางความคิดและมุมมอง โดยโรงเรียนฯ ร่วมทำงานกับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาอาชีพ เพื่อพัฒนาหลักสูตรที่ช่วยเตรียมความพร้อมเยาวชนสำหรับการเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกที่พร้อมใช้วิจารณญาณในการเผชิญความเปลี่ยนแปลงอย่างเท่าทัน

2.. โรงเรียน ฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนบนฐานความรู้ที่ทันสมัย ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น และมีความเหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียน นอกจากวิชาสาระหลัก โรงเรียนฯ ยังได้จัดให้มีการสอนในวิชาต่าง ๆ เพิ่มเติม อาทิ วิชาอยู่รอดปลอดภัย วิชาว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด วิชาวัยรุ่นศาสตร์ วิชารู้ทันการเงิน วิชาเสพศิลป์และกลิ่นเสียง วิชาผู้ประกอบการ วิชารู้เท่าทันสื่อ วิชาวิถีศรัทธา (ครอบคลุมเนื้อหาทุกศาสนา) เป็นต้นเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง

3.โรงเรียนฯ มีเป้าหมายในการบ่มพาะเยาวชนให้เป็นผู้มีจิตสำนึกพลเมืองที่เข้มแข็ง เป็นพลเมืองโลกที่ยึดโยงกับบริบทของสังคมไทย มีทักษะและสมรรถนะแห่งอนาคต รู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำ มีความสามารถในการกำกับตนเอง เข้าอกเข้าใจผู้อื่น และสามารถทำงานเป็นทีม ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียน และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาเยาวชนให้มีคุณลักษณะดังกล่าว

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โรงเรียนฯตระหนักดีว่า การบุกเบิกสร้างการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยระยะเวลา มีข้อจำกัดต่างๆ มากมายในการสร้างการรับรู้และความเข้าใจ โรงเรียนฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเจตนารมณ์ในการสร้งและพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนฯ จะเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนให้สามารถขยายผลได้ต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

90 ปี สถาปนาธรรมศาสตร์ ก้าวสู่ 'มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบชั้นนำเพื่อสังคมแห่งอนาคต'

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบปีที่ 90 พร้อมมอบรางวัลเข็มเกียรติยศ ให้แก่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” อดีต รมว.คลัง และ อดีต รมว.คมนาคม ในฐานะผู้ประกอบคุณงามความดีต่อสังคมและประเทศชาติ ขณะที่

ครม.ปรับเงื่อนไขชดใช้ทุนของ รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

ครม.มีมติปรับเงื่อนไขการชดใช้ทุนหลังสำเร็จการศึกษาของนักเรียนทุนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยไปศึกษาต่อ ณ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น

"เพิ่มพูน" เดินหน้า "ปฏิวัติการศึกษาแก้ปัญหาประเทศ" อย่างเร่งด่วน เหตุกระแสโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ผศ. พิมล ศรีวิกรม์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และประธานอนุกรรมการพิจารณาจัดการสนับสนุนสมาคมกีฬาจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ คือผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองไทยไปอีก 5 ปี

อาจารรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ ยังมีอำนาจมากเกินไป และจะเป็นผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า

“รมช.สุรศักดิ์” ห่วงนักเรียน-เยาวชน “เล่นพนันบอล-สุขภาพแย่” ช่วงการแข่งขันบอลยูโร

เมื่อวันจันทร์ ที่ 17 มิถุนายน 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือ ยูโร 2024 ที่เยอรมนีเป็นเจ้าภาพ โดยมีการจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน - 14 กรกฎาคม ว่า กระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การนำของ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ.

"รมช.สุรศักดิ์​" เป็นประธานเปิดงาน“ความท้าทายของระบบการศึกษาไทยในยุค​ Digital Disruption”

เมื่อวันเสาร์ที่​ 15​ มิถุนายน​ 2567 นายสุรศักดิ์​ พันธ์เจริญวร​กุล​ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ​ เป็นประธานเปิดงานโครงการสัมมนาวิชาการ