6 ก.พ.2565 - สืบเนื่องจากกรณี สภาล่ม นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล วิพากษ์วิจารณ์พรรคเพื่อไทยอย่างดุเดือด ที่ไม่แสดงองค์ประชุมในการพิจารณารายงานกฎหมายสำคัญ เช่นการพิจารณากฎหมายสุราก้าวหน้า หรือกรณีร่าง พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ เมื่อ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา
นายรังสิมันต์ โรม ระบุในเฟซบุ๊ก ว่าด้วย สภาล่ม ดังนี้ 1. เนื่องจากก้าวไกลโดนพาดพิง หาว่าไม่เคารพมติพรรคร่วม ผมยืนยันว่า พรรคก้าวไกลเราไม่ได้ฝืนมติ และทำอะไรที่ผิดมารยาททางการเมือง การแสดงตนของพรรคก้าวไกลในวันพุธที่มีร่างธรรมนูญศาลทหารและ พรบ. สุรา ของก้าวไกลเข้าสภา เราได้มีการแจ้งให้พรรคร่วมทราบล่วงหน้าตั้งแต่ประชุมแล้ว
2.วันนี้ที่มีรายงานคลองไทยเข้า มติพรรคร่วมกำหนดว่าห้ามแสดงตน เพื่อทดสอบองค์ประชุมของรัฐบาล ส.ส. ก้าวไกลส่วนใหญ่ยึดตามนั้น แต่ปรากฎว่าเป็นเพื่อไทยไม่ปฏิบัติตามมติ ก้าวไกลจึงตัดสินใจว่า เราจะยืนยันจุดยืนของเรา คือ การแสดงตน ในวาระที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
3.เรื่องคะเนกันว่าสุดท้ายประยุทธ์ จะยุบสภาถ้าสภาล่ม บ่อยๆ เห็นล่มไม่รู้กี่ครั้งแล้ว ก็ไม่เห็นจะยุบสักที เกมที่เล่นกันอยู่แทนที่จะทำลายประยุทธ์ กลับทำลายเครดิตสภา ทำลายความหวังประชาชน ไม่ต่างกับการเมืองเก่า ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการเมืองและความน่าเชื่อถือต่อประชาชนระยะยาว
4.พรรคก้าวไกลแม้เป็นฝ่ายค้าน มี สส น้อยนิด เราก็พยายามทำงานอย่างเต็มที่ เสนอกฎหมายรายงานหลายฉบับในสภา ถ้าดูระเบียบวาระของสภา จะเห็นชื่อคนของก้าวไกลเสนอเต็มไปหมด แม้รู้ทั้งรู้ว่าผ่านยาก แต่มันก็ต้องทำงานอย่างเต็มที่ให้คุ้มกับภาษีประชาชน วันนี้ไม่ได้พรุ่งนี้ก็เอาใหม่
5.ผมยืนยันว่าการประชุมสภาเป็นหน้าที่ส.ส. ไม่น้อยไปกว่าการทำงานพื้นที่ พรรคก้าวไกลต้องการทำหน้าที่ตามที่ประชาชนมอบหมายมาอย่างดีที่สุด ประชาชนคือผู้ตัดสินว่าการทำหน้าที่ของเราถูกต้องหรือ
ต่อมา นายวัน อยู่บำรุง ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคเพื่อไทย ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กระบุว่า "ฝ่ายค้านมีความคิดเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล เป็นเรื่องปกติไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่ฝ่ายค้านที่ไปสนับสนุนรัฐบาล นี่สิแปลกประหลาด!"
อย่างไรก็ตามผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้นำโค๊ดคำพูดของนายรังสิมันต์ ที่ว่า "การเล่นเกมสภาล่ม เพื่อให้ประยุทธ์ ยุบสภานั้นเป็นการดิสเครดิตสภาเสียมากว่าพร้อมยืนยัน ส.ส.มีหน้าที่เข้าสภาเพื่อผ่านกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อชาติ" ตั้งคำถามต่อนายวัน ว่า "เล่นบทอะไรกันอยู่ครับ"
ทำให้ นายวัน ตอบกลับไปว่า "อ้าวเฮ้ย วันนั้นกับวันนี้ไม่เหมือนกัน" พร้อมอธิบายด้วยการข้อความของ นายรังสิมันต์ ที่โพสต์เฟซบุ๊ก เมื่อ 9 พ.ย.2564 โดยมีเนื้อหาดังนี้
จากวันนี้เป็นต้นไป ทุกการประชุมสภาเป็นเสมือนวันอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลไปเรียบร้อยแล้ว
ผมได้เห็นข่าวที่นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกมาให้สัมภาษณ์บ่นว่า มีการพยายามใช้สภาเป็นเครื่องมือล้มรัฐบาลแล้ว ก็ได้แต่รู้สึกว่า พลเอกประยุทธ์ในฐานะนายกรัฐมนตรีนั้น นอกจากไม่เคยให้ความสำคัญกับสภา ไม่เคยมาตอบกระทู้ถาม ไม่เคนสนใจใยดีกับ ส.ส.ที่ยกมือเลือกตัวเองเป็นนายกแล้ว ยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องของรัฐสภาเลยแม้แต่น้อย ทั้งที่ตัวเองเป็นรัฐบาลที่มาจากพรรคที่คุมเสียงข้างมากในสภา
“องค์ประชุมเป็นของรัฐบาล” คำนี้คือนิยามสั้นๆที่สะท้อนถึงความยึดโยงของสภาผู้แทนราษฏรต่อรัฐบาล เพราะการมีเสียงข้างมากในสภาส่งผลต่อการผ่านร่างกฎหมายหรือวาระต่างๆ หากแต่ว่าหากรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพและคุมเสียงข้างมากไม่ได้ และส่งผลทำให้การผ่านร่างกฎหมายของรัฐบาลไม่สำเร็จ ตามธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไปคือจะต้องมีการยุบสภาทันที เพราะถือว่าการคุมเสียงข้างมากในสภาทำไม่ได้เสียแล้ว
และหลังจากที่เปิดประชุมสภา เราเห็นภาวะความง่อนแง่นของการประชุมสภาไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งที่สัปดาห์แรก เรื่องต่างๆที่ประชาชนส่งมาทางผู้แทนควรจะได้มาแก้ไขด้วยสภา แต่ก็เกิดภาวะสภาล่ม จนบัดนี้ก็ยังไม่มีความมั่นใจใดๆต่อรัฐบาลได้เลยว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฟากรัฐบาลจะมาทำหน้าที่อย่างเต็มใจ ซึ่งจากข่าว เราอาจได้เห็นอะไรบางอย่างในภาวะที่ใกล้เลือกตั้งท้องถิ่นแล้ว อยู่ๆมีส.ส.ฟากรัฐบาลละเลยหน้าที่ของตัวเองในสภา แต่กลับไปแสดงท่าทีราวกับว่าช่วยเหลือการเลือกตั้งท้องถิ่นที่กำลังจะมาถึง ทั้งที่ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย
และนั่นส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ เพราะหากสภาล่มแล้วล่มอีก หรือเกิดเสียงโหวตไม่ครบในร่างกฎหมายของรัฐบาล นั่นหมายถึงรัฐบาลจะล้มเอาเสียดื้อๆ จนน่าจะเรียกว่าเป็นงานหนักของประธานวิปรัฐบาลคนใหม่อย่างยิ่งในการควบคุมเสียงในพรรคร่วมรัฐบาลให้ได้ เพราะการที่ประธานวิปคนใหม่ถูกเลือกมาทำหน้าที่จากนายกรัฐมนตรีโดยตรง ย่อมต้องหวังว่าเสียงในสภาจะไม่ทำให้นายกรัฐมนตรีต้องยุบสภากลางทาง แต่บรรดาส.ส.ของรัฐบาล กลับไปให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งท้องถิ่นมากกว่าหน้าที่ในสภาผู้แทน อันจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล
สิ่งเหล่านี้สะท้อนความง่อนแง่น พร้อมจะพังของรัฐบาลเป็นอย่างยิ่ง จนผมรู้สึกว่าพลเอกประยุทธ์อาจจะหมายถึงคนที่พยายามใช้สภาล้มรัฐบาล ไม่น่าจะหมายถึงฝ่ายค้านเสียแล้ว แต่เป็นฝ่ายรัฐบาลเองนั่นแหละที่กำลังเลื่อยขาพลเอกประยุทธ์มาทำขาเก้าอี้ตัวเองอยู่
และในสถานการณ์นี้ ทำให้ทุกวันที่มีประชุมสภา รัฐบาลอาจจะสะดุดขาพวกเดียวกันเองหกล้มไปเมื่อไรก็ได้ ซึ่งนั่นแย่มาก เพราะเป็นการเล่นการเมืองใส่กันเองของผู้มีอำนาจ แทนที่สภาจะได้ทำหน้าที่ตอบสนองต่อปัญหาของประชาชนที่กำลังพยายามเสนอแก้ไขยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 และสารพัดปัญหาอื่นๆ ทั้งราคาข้าวตกต่ำ น้ำท่วม อีกหลายอย่าง ที่เป็นผลมาจากการบริหารงานของรัฐบาล
โดยสรุป สภาวะแบบนี้ รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะ ก็เหมือนกับเจอสภาวะราวกับโดนอภิปรายไม่ไว้วางใจจากสภาทุกวัน เสียงก็คุมไม่ค่อยได้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะทนได้นานแค่ไหนกัน?
บางทีพลเอกประยุทธ์ควรจะยอมรับสภาพว่า แม้แต่พวกเดียวกับก็ไม่สนับสนุนแล้ว เพราะคงเตรียมตัวเลือกตั้งใหม่โดยมีนายกเป็นคนอื่น การจะได้กลับมาทำหน้าที่ต่อก็คงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นพลเอกประยุทธ์ควรพิจารณาให้ดีถึงสภาวะที่เป็นอยู่เสียบ้าง แม้ว่าจะไม่สามารถระลึกกรรมที่ทำต่อประเทศชาติและประชาชนได้ในอดีต แต่ภาพทุกวันนี้ พลเอกประยุทธ์ก็คงเห็นแบบเดียวกับที่พวกเราเห็นนี่แหละครับ ยอมรับความจริงแล้วหาทางลงให้ตัวเองได้แล้ว ก่อนจะสะดุดขาใครใกล้ตัวก็ไม่รู้จนล้มคว่ำเอาในอนาคตอันใกล้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คนเสื้อแดงแห่รับ 'ทักษิณ' เตรียมปราศรัยหาเสียงนายกอบจ. วันเดียว 3 เวที
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ช่วยหาเสียง ของนางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ผู้สมัครนายก
แม้วเดินสายโชว์บารมี อิ๊งค์ปราศรัยนครพนม
"ทักษิณ" ลุยหาเสียงผู้สมัครนายก อบจ. จ่อขึ้นเวทีเชียงราย 3 เวที "เทิง-เชียงของ-แม่จัน" ปราศรัยช่วย "สลักจฤฎดิ์-เมียยงยุทธ" ก่อนเดินสายลำปาง-นครพนม-บึงกาฬ-หนองคาย-มหาสารคาม-ศรีสะเกษ
ย้อนวิบาก...3ป.67 ปิดฉาก...ก้าวไกล เปลี่ยน...นายกฯ เปิด...ระบอบทักษิณ I อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 04 มกราคม 2568
‘พ่อ-ลูก’ แห่ช่วยหาเสียง หลายพื้นที่สอย ‘ผู้สมัคร’
“แพทองธาร” ลุยช่วยหาเสียง อบจ.นครพนม 12 ม.ค.นี้ ส่วนพ่อนายกฯ ลงซ้ำ 18 ม.ค.นี้ “อนุทิน” ไม่หวั่น ขอแค่ส่งใจช่วยเครือข่ายสีน้ำเงินรักษาเก้าอี้ภาคอีสาน
'วันนอร์' ชี้นักการเมืองไม่ใช่อาชญากร บทลงโทษไม่ควรรุนแรงถึงขั้นตัดสิทธิ-ยุบพรรค
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์กรณีสถานการณ์การเมืองปี 2568 มีโอกาสเกิดคดีความที่นำมาสู่การยุบพรรคการเมือง และตัดสิทธิ สส. ว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับองค์กรที่มีหน้าที่วินิจฉัย
'ชูศักดิ์' ดักคอฝ่ายค้านยื่นซักฟอก บอกปม 'ชั้น14-MOU44' คุยนานแล้วไม่มีน้ำหนัก
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีฝ่ายค้านเตรียมยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบมีการลงมติตามมาตรา 151 ในสมัยประชุมนี้ว่า ถือเป็นสิทธิของฝ่ายค้าน แต่ตนคิดว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้นขึ้นอยู่กับประเด็น