'ดีเอสไอ' เปิดชื่อ 29 โครงการรัฐ 'ไชน่าเรลเวย์' ประมูลงานได้ทั่วประเทศ 2.2 หมื่นล้าน

เปิดผัง 11 รายชื่อกิจการร่วมค้า "บริษัทไชน่า เรลเวย์ฯ" ประมูลโครงการก่อสร้างภาครัฐรวม 29 โครงการ รวมมูลค่า 22,000 ล้านบาท เปิดชื่อ 3 กรรมการ ผู้ถือหุ้นใหญ่ชาวไทย "โสภณ-ประจวบ-มานัส" พบ ถือหุ้นบริษัทอื่นอีกเพียบ

4 เมษายน 2568 - จากกรณีที่ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ใช้อำนาจอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รับคดีนอมินี บ.ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผู้ก่อสร้างที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (อาคาร สตง.) แห่งใหม่ ความสูง 30 ชั้นถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว เป็นคดีพิเศษที่ 32/2568 ตามความผิด พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ต่อมามีการแต่งตั้งคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ รวมทั้งสิ้น 36 ราย โดยมี ร.ต.อ.สุรวุฒิ รังไสย์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน และมี พ.ต.ท.อมร หงษ์ศรีทอง ผอ.กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.กองคดีคุ้มครองผู้บริโภค เป็นรองหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน ตามที่มีการรายงานข่าวไปแล้วนั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ภายใต้การอำนวยการของ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่ 32/2568 ได้มีการจัดทำแผนผังโครงสร้างรายชื่อกิจการร่วมค้าที่ บจก.ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมก่อสร้างโครงการของรัฐ ดังนี้ 1.กิจการร่วมค้า AKC 2.กิจการร่วมค้า RCH 3.กิจการร่วมค้า ซีไอเอส 4.กิจการร่วมค้า ดับบลิว จี ซี 10 คอนสตรัคชั่น 5.กิจการร่วมค้า ดีวายซีอาร์ คอนสตรัคชั่น 6.กิจการร่วมค้า ทีพีซี 7.กิจการร่วมค้า อาร์เเอลจี 8.กิจการร่วมค้า เอ จี ซี 10 คอนสตรัคชั่น 9.กิจการร่วมค้า เอ ซี คอนสตรัคชั่น 10.กิจการร่วมค้า ไอทีดี ซีอาร์อีซี และ 11.กิจการร่วมค้า เอ็นซีอาร์อีซี

ขณะที่ ข้อมูลกรรมการผู้ถือหุ้นของบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด พบรายละเอียดดังนี้ วัตถุประสงค์ การบริการด้านการทรัพยากรมนุษย์และรับเหมาก่อสร้างอาคาร อาคารพาณิชย์ อาคารที่พักอาศัย สถานที่ทำการ ทางรถไฟ ทางรถสาธารณะ ทางรถไฟฟ้าใต้ดิน พบรายชื่อกรรมการ 1.นายชวนหลิง จาง 2.นายโสภณ มีชัย ทั้งนี้ นายโสภณ มีชัย ยังเป็นกรรมการนิติบุคคลอีก 2 แห่ง คือ บจก.ไฮห่าน (สัดส่วนการถือหุ้น คนไทย 51% คนจีน 49%) และ บจก.ไซเบอร์ เทเลคอม (สัดส่วนการถือหุ้น คนไทย 100%)

สำหรับบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป คัมปะนี (จีน) ถือหุ้น 490,000 หุ้น (49%) นอกจากนี้ ยังมีนิติบุคคลมีที่ตั้งเดียวกัน 8 บริษัท

1.บจก. ยูไนเต็ด สตาร์ กรุ๊ป

คนไทยถือหุ้น 51% คนจีนถือหุ้น 49%

2.บจก.วิล มาร์ท (ประเทศไทย)

คนไทยถือหุ้น 54.1% คนจีนถือหุ้น 45.9%

3.บจก.สันติภาพ พร็อพเพอร์ตี้

คนไทยถือหุ้น 63% คนจีนถือหุ้น 37%

4.บจก.เอสทีพี อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต (ประเทศไทย) คนไทยถือหุ้น 99.95% คนจีนถือหุ้น 0.05%

5.บจก.เอวาน่า อินเตอร์เนชั่นแนล

คนไทยถือหุ้น 80% คนจีนถือหุ้น 20%

6.บจก.สแตร์ ลาเบล อินเตอร์ กรุ๊ป (ประเทศไทย)

คนไทยถือหุ้น 51% คนจีนถือหุ้น 49%

7.บจก.โมเยนเน่ (ประเทศไทย)

คนไทยถือหุ้น 75% คนจีนถือหุ้น 25%

8.บจก.สยาม ไบโอเมดิคอล ไซเอนซ์

คนไทยถือหุ้น 100%

กรณีนายโสภณ มีชัย ถือหุ้น 407,997 หุ้น (40.7997%) และยังพบว่ามีการไปถือหุ้นนิติบุคคลอีก 4 บริษัท คือ 1.บจก.ไฮห่าน ถือหุ้น 51% (ไทย 51% จีน 49%) 2.บจก.ยูไนเต็ด สตาร์ กรุ๊ป ถือหุ้น 25.5% (ไทย 51% จีน 49%) 3.บจก.สยามไบโอเมดิคอล ไซเอนซ์ ถือหุ้น 10% (ไทย 100%) และ 4.บจก.ไซเบอร์ เทเลคอม ถือหุ้น 60% (ไทย 100%)

กรณีนายประจวบ ศิริเขตร ถือหุ้น 102,000 หุ้น (10.2%) และยังพบว่ามีการไปถือหุ้นนิติบุคคลอีก 7 บริษัท คือ 1.บจก.วีล มาร์ท (ประเทศไทย) ถือหุ้น 9.08% (ไทย 54.1% จีน 45.9%) 2.บจก.สันติภาพ พร็อพเพอร์ตี้ ถือหุ้น 12% (ไทย 63% จีน 37%) 3.บจก.เอสทีพี อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต (ประเทศไทย) ถือหุ้น 37.48% (ไทย 99.95% จีน 0.05%) 4.บจก.เอวาน่า อินเตอร์เนชั่นแนล ถือหุ้น 27.9% (ไทย 80% จีน 20%) 5.บจก.สแตร์ ลาเบล อินเตอร์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) ถือหุ้น 20% (ไทย51% จีน 49%) 6.บจก.สันติภาพ อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต ถือหุ้น 7.71% (ไทย 58.7% จีน 41.3%) 7.บจก.โชคนิมิต บิสซิเนส แอนด์ เซอร์วิส ถือหุ้น 30% (ไทย 100%)

กรณีนายมานัส ศรีอนันท์ ถือหุ้น 3 หุ้น (0.0003%) และยังพบว่ามีการไปถือหุ้นนิติบุคคลอีก 10 บริษัท คือ 1.บจก.ยูไนเต็ด สตาร์ กรุ๊ป ถือหุ้น 25.5% (ไทย 51% จีน 49%) 2.บจก.วีล มาร์ท (ประเทศไทย) ถือหุ้น 45.03% (ไทย 54.1% จีน 45.9%) 3.บจก.สันติภาพ พร็อพเพอร์ตี้ ถือหุ้น 12% (ไทย 63% จีน 37%) 4.บจก.เอสทีพี อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต (ประเทศไทย) ถือหุ้น 62.48% (ไทย 99.95% จีน 0.05%) 5.บจก.เอวาน่า อินเตอร์เนชั่นแนล ถือหุ้น 52.1% (ไทย 80% จีน 20%) 6.บจก.สแตร์ ลาเบล อินเตอร์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) ถือหุ้น 31% (ไทย 51% จีน 49%) 7.บจก.เลนเยส อี-พาวเวอร์ ถือหุ้น 51% (ไทย 51% จีน 49%) 8.บจก.สันติภาพ อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต ถือหุ้น 48% (ไทย 58.7% จีน 41.3%) 9.บจก.สยาม ไบโอเมดิคอล ไซเอนซ์ ถือหุ้น 70% (ไทย 100%) และ 10.บจก.โชคนิมิต บิสซิเนส แอนด์ เซอร์วิส ถือหุ้น 40% (ไทย 100%)

ส่วนรายชื่อโครงการก่อสร้างที่บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ได้ประมูลก่อสร้างอาคารภาครัฐ 29 โครงการ ประกอบด้วย

1.อาคารพักอาศัยสูง 32 ชั้น ชุมชนดินแดง การเคหะแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร วงเงิน 807 ล้านบาท

2.ศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาพวะผู้สูงอายุแบบครบวงจร โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร วงเงิน 563 ล้านบาท

3.เปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ถนนอรุณอมรินทร์-บรมราชชนนี-พรานนก การไฟฟ้านครหลวง กรุงเทพมหานคร วงเงิน 1,261 ล้านบาท

4.อาคารที่ทำการสถานีตำรวจ สน.สุทธิสาร กรุงเทพมหานคร วงเงิน 139 ล้านบาท

5.อาคารบ้านพักส่วนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ลือชา) กรุงเทพมหานคร วงเงิน 231 ล้านบาท

6.อาคารที่ทำการศาลแรงงานกลาง สำนักงานศาลยุติธรรม กรุงเทพมหานคร วงเงิน 467 ล้านบาท

7.ระบบรวบรวมน้ำเสียเพิ่มเติม ริมคลองแสนแสบ กรุงเทพมหานคร วงเงิน 541 ล้านบาท

8.วางท่อประปาและงานที่เกี่ยวข้อง การประปานครหลวง กรุงเทพมหานคร วงเงิน 347 ล้านบาท

9.อาคารที่ทำการศาลแพ่งมีนบุรีและศาลอาญามีนบุรี สำนักงานศาลยุติธรรม กรุงเทพมหานคร วงเงิน 782 ล้านบาท

10.หอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต วงเงิน 129 ล้านบาท

11.ทาวน์โฮมสองชั้น โครงการเคหะชุมชนและบริการชุมชนจังหวัดภูเก็ต วงเงิน 343 ล้านบาท

12.อาคารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดภูเก็ต วงเงิน 210 ล้านบาท

13.อาคารชุดพักอาศัยข้าราชการตุลาการศาลอุทธรณ์ภาค 9 จังหวัดสงขลา วงเงิน 386 ล้านบาท

14.อาคารผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุโรงพยาบาลสงขลา วงเงิน 424 ล้านบาท

15.อาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ท่าอากาศยานนราธิวาส วงเงิน 639 ล้านบาท

16.งานเสริมเสถียรภาพและป้องกันน้ำท่วมตามแนวคลองประปาจังหวัดปทุมธานี วงเงิน 194 ล้านบาท

17.ระบบป้องกันน้ำท่วมบริเวณโดยรอบสถานีสูบน้ำดิบสำแล จังหวัดปทุมธานี วงเงิน 372 ล้านบาท

18.สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) จังหวัดนนทบุรี วงเงิน 716 ล้านบาท

19.อาคารคลังพัสดุสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร วงเงิน 146 ล้านบาท

20.อาคารกองบังคับการ กรมพลาธิการทหารเรือ กรุงเทพมหานคร วงเงิน 179 ล้านบาท

21.สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (แห่งใหม่) กรุงเทพมหานคร วงเงิน 2,136 ล้านบาท

22.อาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างของโรงเรียนวัดอัมรินทราราม กรุงเทพมหานคร วงเงิน 160 ล้านบาท

24.อาคารสถาบันวิชาการ (PEA ACADEMY) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครปฐม วงเงิน 606 ล้านบาท

25.ศูนย์ราชการจังหวัดแพร่ วงเงิน 540 ล้านบาท

26.การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) วงเงิน 608 ล้านบาท

27.แขวงทางหลวงชนบทสุพรรณบุรี วงเงิน 10.7 ล้านบาท

28.แขวงทางหลวงชนบทสุพรรณบุรี วงเงิน 9.9 ล้านบาท

29.รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา วงเงิน 9,348 ล้านบาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

DSI เปิดโปงขบวนการซากสุกร 460 ล้าน เอี่ยว 'จนท.-นายทุน' ส่ง ป.ป.ช. 11 คดี

ดีเอสไอ เผยผลสอบสวนขบวนการลักลอบนำเข้าซากสุกรผิดกฎหมายช่วงปี 2563–65 รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 460 ล้านบาท พบพัวพันเจ้าหน้าที่รัฐ-นักการเมือง-นายทุนทั้งไทยและต่างชาติ ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. แล้ว 11 คดี พร้อมประสาน 7 ประเทศขยายผล

สตง.ตื่น! ร่อนเอกสารชี้แจง ปรับแก้ปล่องลิฟต์ ความหนาลดลง 5 ซม. ยืนยันผู้ออกแบบ-วิศวกรรับรองถูกต้อง

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ออกเอกสารชี้แจงขั้นตอนการดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารสัญญา (กรณีการปรับแก้ผนังปล่องลิฟต์ (Core Lift) บางจุด และการแก้ไขสัญญา) ระบุว่า

'ดีเอสไอ' หิ้ว 3 นอมินี บ.ไชน่าเรลเวย์ฯ ฝากขัง ก่อนศาลให้ประกันคนละ 3 แสน

พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ควบคุมตัวนายประจวบ ศิริเขตร นายมานัส ศรีอนันท์ และนายโสภณ มีชัย ผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญาในคดีที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ของคนต่างด้าว

'ดีเอสไอ' เค้นสอบนาน 10 ชั่วโมง 3 คนไทย 'นอมินี' ถือหุ้น บ.ไชน่าเรลเวย์ฯ

“ดีเอสไอ" หิ้ว ”3 นอมินีคนไทย บ.ไชน่า เรลเวย์ฯ” ฝากขังศาลอาญา หลังสอบเดือด 10 ชม. ทั้งหมดล้วนปัดความร่วมมือให้ปากคำ บางช่วงบางตอนงงคำถาม ต้องให้ทนายช่วยอธิบาย ขณะที่ “โสภณ มีชัย“ ผู้ถือหุ้น บ.ไชน่า เรลเวย์ฯ กว่า