เริ่มแล้วประชุม 7 ชาติ ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล BIMSTEC ผู้นำทุกประเทศหารือแบบตัวต่อตัวในรอบ7ปี ครั้งแรก พร้อมหนุนกระชับความร่วมมือเศรษฐกิจ ขณะที่เมียนมาเดินหน้าแก้ปัญหาทุกมิติร่วมกันกับไทย ทั้งอาชญากรรมข้ามชาติ คอลเซ็นเตอร์ และการป้องกันวาตภัย
4 เม.ย.2568 - เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ 6 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการประชุมระหว่างประเทศครั้งแรกแบบตัวต่อตัวในรอบ 7 ปี
โดยการประชุมครั้งนี้ มีผู้นำทั้ง 7 รวมทั้งไทยเข้าร่วมประชุมได้แก่ ศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส ประธานคณะที่ปรึกษารัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ นาย ดาโช เชริง โตบเกย์ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรภูฏาน นายนเรนทร โมที นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย พลเอกอาวุโส มิน ออง ไลง์ ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา นายเค พี ศรรมะ โอลี นายกรัฐมนตรีแห่งเนปาล ดร. หริณี อมรสุริยะ นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา และนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย
ก่อนการประชุม นายกรัฐมนตรีได้พบหารือทวิภาคีกับ พลเอกอาวุโส มิน ออง ไลง์ นายกรัฐมนตรีเมียนมา โดยได้กล่าวแสดงความซาบซึ้งและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานสิ่งของแก่ประชาชนเมียนมา ซึ่งได้จัดส่งถึงเมียนมาแล้วเมื่อวันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา
ในโอกาสนี้ผู้นำทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือครอบคลุมทั้งความร่วมมือด้านการป้องกันพิบัติภัย ทั้งภัยธรรมชาติ และภัยจากมนุษย์ รวมทั้งอาชญากรรมข้ามพรมแดน ยาเสพติด และการลักลอบการค้าที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะความร่วมมือ ในการปราบปรามแก๊ง call center และขบวนการ online scam รวมทั้งประสานเหยื่อผู้ถูกหลอกลวงกลับประเทศ ซึ่งมาตรการที่เด็ดขาดของประเทศไทย ทำให้การส่งข้อความและการโทรศัพท์หลอกลวง ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งนางสาวแพทองธารกล่าวว่า ได้สั่งการหน่วยความมั่นคงให้มีการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมภัยไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ผู้นำทั้งสองฝ่าย ยังให้ความสำคัญต่อการดำเนินการในการเดินหน้าตาม“ยุทธศาสตร์ฟ้าใส ”(Clear Sky Strategy) เพื่อยกระดับการป้องกันและแก้ไขไฟป่า ฝุ่นละออง และหมอกควัน โดยมีสมาชิก 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย สปป.ลาว และเมียนมา โดยที่ผ่านมาประสบความสำเร็จอย่างมาก จุดความร้อน และปัญหาฝุ่น ควันลดน้อยลง นอกจากนี้ ไทยและเมียนมา ยังได้ร่วมกันเตรียมการป้องกันปัญหาน้ำท่วมด้วยการเร่งขุดลอก รื้อถอน สิ่งกีดขวางทางน้ำในแหล่งน้ำ และแม่น้ำระหว่างสองประเทศเพื่อเตรียมพร้อมรับมือ ก่อนฤดูฝนในปีนี้
ทั้งนี้ ประเทศไทยและเมียนมา จะร่วมกันแบ่งปันองค์ความรู้ทางการเกษตรและปศุสัตว์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกษตรสมัยใหม่ เช่นข้าวโพด ให้มีผลผลิตมากขึ้น ให้ทำลายธรรมชาติน้อยลง และลดการเผาพืช รวมทั้งการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ ไก่ โค สุกร ซึ่งจะสร้างรายได้และความมั่นคงให้กับเกษตรกรเพิ่มมากขึ้นด้วย
โดยความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจหรือบิมสเทค (The Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation หรือ BIMSTEC) ครั้งนี้ เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ และเป็นการริเริ่มและผลักดันของไทย ตามนโยบายมองตะวันตก (Look West Policy)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทย-เขมรชื่นมื่น โชว์สัมพันธ์75ปี ฮุนเซนโอ๋ลูกแม้ว
"ไทย-เขมร" ชื่นมื่น เปิดตราสัญลักษณ์สัมพันธ์ 75 ปีสองประเทศ ลงนามเอกสาร 7 ฉบับ
ผวาป่วนยื้อปรับครม. อิ๊งค์นิ่งสยบพท.ทวงสัญญา6เดือน/บี้แพทยสภาไม่อุ้มชั้น14
ปรับ ครม.นิ่ง! นายกฯ ยังไม่ส่งสัญญาณให้พรรคร่วมฯ ชี้คนใน พท.
'แพทองธาร' หารือ 'ฮุน เซน' ร่วมมือกระชับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าเยี่ยมคารวะสมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน (Samdech Akka Moha Sena Padei Techo HUN SEN) ประธานวุฒิสภาและประธานองคมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
'แพทองธาร' หารือกับประธานสภากัมพูชา ส่งเสริมความสัมพันธ์รัฐสภาทั้งสองประเทศ
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พบหารือกับสมเด็จมหารัฐสภาธิการธิบดี ควน โซะดารี (Samdech Maha Rathsapheathika Thipadei Khuon Sudary) ประธานสภาแห่งชาติ ราชอาณาจักรกัมพูชา
นายกฯแพทองธาร ร่วมพิธีต้อนรับ ในโอกาสเยือนกัมพูชาเป็นทางการ
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ จากนั้น ได้มีการหารือแบบเต็มคณะกับสมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาแนด นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
'ธีรัจชัย' จี้ 'อุ๊งอิ๊ง' ในฐานะลูกตำรวจควรเร่งล่าตัว 'บอส อยู่วิทยา' มาลงโทษ
'ธีรัจชัย' วอน 'นายกฯ' ในฐานะลูกตำรวจ ควรเร่งรัดตามตัว 'บอส อยู่วิทยา' มาลงโทษ เผยเคยอยู่ 'ฟิจิ'