สัญญาณริบหรี่! แก้รธน.ถึงทางตัน-ล่มซ้ำ หรือไปต่อ?

วันนี้ (14 กุมภาพันธ์) เวลา 09.30 น. รัฐสภามีกำหนดประชุมร่วม เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 ซึ่งเป็นการเปิดประตูสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

แต่สิ่งที่ต้องจับตาอย่างยิ่งคือ การประชุมวันนี้จะเดินหน้าได้หรือไม่ หรือจะล่มซ้ำเหมือนเมื่อวาน?

เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การประชุมต้องล่มตั้งแต่ยังไม่เข้าสู่วาระแรก เพราะองค์ประชุมไม่ครบ มีสมาชิกแสดงตนเพียง 204 คน ขณะที่รัฐธรรมนูญกำหนดว่า ต้องมีอย่างน้อย 376 คน

นี่คือสัญญาณอันตรายที่ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่า การประชุมวันนี้ก็อาจล่มซ้ำอีก!

เมื่อวานนี้ พรรคประชาชน (เจ้าของร่างหลัก) แสดงตน 140 คน (ขาดไป 3 คน)

พรรคเพื่อไทย (เจ้าของร่างร่วม) แสดงตนเพียง 22 คน จาก 141 คน

พรรคประชาธิปัตย์ 5 คน

พรรคชาติพัฒนา 1 คน 

พรรคภูมิใจไทย 70 คน หายยกพรรค ตามจุดยืนเดิมว่าจะไม่ร่วมพิจารณา

พรรครวมไทยสร้างชาติ-ชาติไทยพัฒนา-กล้าธรรม ไม่ร่วมประชุม

พรรคพลังประชารัฐ ฝ่ายค้าน ไม่โผล่

พรรคไทยสร้างไทย แสดงตนเพียง 1 คน

พรรคไทยก้าวหน้า ไม่แสดงตนเลย

สว. 199 คน ปรากฏว่า มีผู้แสดงตนเพียง 32 คน

การที่ สส. และ สว. จำนวนมาก ไม่แสดงตนสะท้อนถึงความไม่ต้องการผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ซึ่งมีสาเหตุหลัก 2 ประเด็น

1. กังวลขัดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ปี 2564

ศาลเคยมีคำวินิจฉัยว่า “...รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง...”

หากดึงดันเดินหน้า อาจนำไปสู่ปัญหาทางกฎหมายภายหลัง

2. เกมการเมือง-สภาล่มเพื่อยื้อเวลา

พรรคเพื่อไทยเองก็ไม่ได้มีท่าทีผลักดันเต็มที่ สะท้อนจากการที่ สส. ของพรรคส่วนใหญ่ ไม่แสดงตน

มีการคาดการณ์ว่าพรรคเพื่อไทย อาจใช้ยุทธวิธีสภาล่ม เพื่อรักษาญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ ไม่ให้ถูกตีตกทันที

วิธีนี้ทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังค้างอยู่ในสภา เผื่อโอกาสนำกลับมาพิจารณาใหม่ในอนาคต

เดิมทีวานนี้มีความพยายามยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ญัตติขอให้เลื่อนญัตติยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ ขึ้นมาพิจารณาก่อน  ซึ่งเสนอโดย นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกวุฒิสภา ถูกตีตกไป

ยิ่งไปกว่านั้นศาลรัฐธรรมนูญเคยมีมติไม่รับคำร้องเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อเดือนเมษายน 2567 ที่ยื่นโดยพรรคเพื่อไทย ทำให้มีแนวโน้มสูงว่า ต่อให้มีการยื่นตีความใหม่ ศาลก็อาจปฏิเสธรับพิจารณาอีก

การประชุมวันนี้ เริ่มเวลา 09.30 น. แต่ด้วยสัญญาณที่ปรากฏตั้งแต่เมื่อวาน โอกาสที่องค์ประชุมจะครบมีน้อยมาก

ถ้าการประชุมล่ม นั่นหมายความว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้กำลังเจอทางตัน

ถ้าประชุมเดินหน้าได้ ก็ต้องจับตาว่าจะถูกคว่ำกลางสภาหรือมีการเล่นเกมทางการเมืองต่อไป

ท้ายที่สุดแล้ว นี่คือเกมการเมืองที่เดิมพันสูง และประชาชนต้องจับตาว่า สภาจะเลือก “เปิดทาง” หรือ “ปิดตาย” การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้!

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เทพไท' เสนอเปิดซักฟอกที่ดาวอังคาร-เมืองบาดาล หลังเพื่อไทยยืดอภิปรายถึงตี 5

อดีตสส.นครศรีธรรมราช ประชดควรเปิดซักฟอกในเมืองบาดาลหรือดาวอังคาร หากพรรคเพื่อไทยยังยืนยันให้การอภิปรายยืดเยื้อจนถึงตี 5 พร้อมเรียกร้องให้ประธานสภาฯทบทวนกำหนดเวลาการประชุมใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น

'ชูศักดิ์' โอดนักการเมืองไม่ใช่พระหลังศาล รธน.ตีตกคำร้องซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

'ชูศักดิ์' ยันต้องระมัดระวังเต็มที่ หากตั้งรมต. -ขรก.การเมือง หลังศาล รธน.ไม่วินิจฉัยปมซื่อสัตย์สุจริต โอดนักการเมืองไม่ใช่พระ หวังแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ต้องกำหนดกรอบให้ชัดเจนแน่นอน

ส่องญัตติด่วน 'เพื่อไทย' ชงศาลรัฐธรรมนูญตีความ!

เปิดญัตติ 'พท.' ยื่น 'วันนอร์' ขอมติที่ประชุมร่วม ส่ง ศาล รธน. วินิจฉัย ปัญหาอำนาจ-หน้าที่ของรัฐสภา เพื่อพิจารณา-ลงมติ 'ร่าง รธน.แก้ ม.256-เพิ่มหมวด ส.ส.ร.ยกร่างใหม่' เหตุยังไม่เคยมีคำวินิจฉัยเรื่องนี้

หนังม้วนเก่า! เพื่อไทยยื่นญัตติ ถามศาลรธน. 'ไม่ต้องทำประชามติก่อน'

สส.เพื่อไทยเข้าชื่อเสนอญัตติ ถามศาลรธน. 'รัฐสภามีอํานาจแก้รัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องทําประชามติก่อนหรือไม่' เผยยื่นปะธานสภาฯพรุ่งนี้ ขณะที่ 'ชูศักดิ์' ระบุหากศาลฯไม่รับพิจารณา ก็ไม่มีทางอื่นต้องทำประชามติ 3 ครั้ง