เปิดภารกิจ 'กิตติรัตน์' ในตำแหน่งที่ปรึกษาของนายกฯ ทำหลุดเก้าอี้ 'ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ'

27ธ.ค.2567- จากกรณีที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีการ่วม 3 คณะ มีมติด้วยเสียงข้างมากเห็นว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ผู้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ขาดคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ เนื่องจากตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ที่นายกิตติรัตน์ ได้รับการแต่งตั้งในสมัยรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน ถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เนื่องจากมีส่วนไปเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย 

จากการตรวจสอบบันทึกของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ปรากฏข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากการชี้แจงของผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ก่อนการได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย นาย ก. เคยได้รับการแต่งตั้งและปฏิบัติหน้าที่เป็นรองประธานกรรมการในคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ ของพรรคการเมือง พ. และภายหลังจากที่ลาออกจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566 นาย ก. ยังคงปฏิบัติภารกิจที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง พ. โดยการเยี่ยมชมภาคการเกษตรและโคนมในนามพรรคการเมือง พ. เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566

และภายหลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 234/2566 เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2566 แล้ว นาย ก. ยังคงมีการปฏิบัติภารกิจและลงพื้นที่โดยสวมเสื้อที่มีสัญลักษณ์ของพรรคการเมือง พ. อยู่ เช่น การลงพื้นที่เพื่อติดตามภารกิจข้าวรักษ์โลก เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566

นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี นาย ก. มิได้มีหน้าที่และอำนาจเฉพาะแต่การให้คำปรึกษาเสนอความเห็น หรือข้อเสนอแนะตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายแต่เพียงอย่างเดียว แต่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการในลักษณะควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามนโยบายสำคัญด้วย

ดังเช่น การที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายและแต่งตั้งให้นาย ก. ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 316/2566 ซึ่งนโยบายการแก้ไขหนี้สินของประชาชนเป็นนโยบายที่พรรคการเมือง พ. ใช้ในการหาเสียง ตลอดจนเป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นแถลงต่อรัฐสภาด้วย

ดังนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 234/2566 ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อยจึงถือได้ว่าเป็น "ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" เพราะได้รับการแต่งตั้งมาโดยเหตุผลและความสัมพันธ์ทางการเมืองและมีหน้าที่ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามนโยบายสำคัญของพรรคการเมืองและของรัฐบาล

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คปท. โต้ 'กิตติรัตน์' สิ้นคิด! รู้มีบ่อนทั่วกรุง ทำไมไม่บอกนายกฯ-เจ้านายขี้โม้ปราบ

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ ที่ชุมนุมต่อต้านบ่อนกาสิโน โพสต์เฟซบุ๊กถึงนายกิตติรัตน์

'ธรรมนัส-ชาดา' ระทึกลุ้นศาล รธน.รับคำร้องจำกัดความ 'ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์'

'ธรรมนัส-ชาดา' ลุ้นศาล รธน.รับเรื่อง-คำร้อง รัฐบาลขอคำจำกัดความ คุณสมบัติ รมต. อาจเป็นใบเบิกทางกลับเข้าเป็นเสนาบดีอีกรอบ หากไม่ซ้ำรอยคดี 'ไผ่ ลิกค์'

ส่อเค้าโล๊ะเงินฝาก 50 ล้านเข้ากาสิโน! จุลพันธ์อ้างต้องดึงลูกค้าเล่นบ่อนเพื่อนบ้านและผิด กม.

'จุลพันธ์' ชี้กำหนด 50 ล้านบาทเล่นกาสิโน ยังต้องคุยกัน อ้างต้องการผลักกลุ่มคนเล่นผิดกฎหมายเข้าระบบ

'พิชัย' รับคลังชงชื่อ 'สมชัย' ชิงประธานบอร์ด ธปท. การันตีเก่งไร้ปัญหา

'พิชัย' ยอมรับกระทรวงคลังชงชื่อ 'สมชัย สัจจพงษ์' ชิงประธานบอร์ดแบงก์ชาติ บอกคนไหนไม่น่ามีปัญหา ที่ส่งไปเก่งทั้งนั้น