ความท้าทายในการก้าวข้ามขีดจำกัดของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่กำลังมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในระบบไฟฟ้าเพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศ คือ การบริหารจัดการความผันผวนของพลังงานหมุนเวียนที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงบางช่วงเวลา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงได้พัฒนาระบบกักเก็บพลังงานในรูปแบบ “โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (Pumped-Storage)” ทำหน้าที่เสมือนแบตเตอรี่ขนาดยักษ์สำรองพลังงานเสริมให้กับระบบไฟฟ้าในช่วงที่พลังงานหมุนเวียนไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคง ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในทุกช่วงเวลา
“โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ” คืออะไร
เดิมทีจุดประสงค์หลักของการสร้างอ่างเก็บน้ำของเขื่อน คือ การเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร อุปโภค และบริโภค ส่วนการผลิตไฟฟ้าเป็นเพียงผลพลอยได้จากการปล่อยน้ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเท่านั้น กฟผ. จึงพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเพื่อเป็นระบบกักเก็บพลังงานสะอาดขนาดใหญ่ โดยใช้ระบบน้ำหมุนเวียนระหว่างอ่างเก็บน้ำด้านบนและด้านล่าง จึงไม่ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหายไปและไม่กระทบต่อการใช้น้ำของประชาชน
เนื่องจากหลักการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับจะสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำด้านล่างไปกักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำด้านบนในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อย และปล่อยกลับมาผลิตไฟฟ้าอีกครั้งในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง โดยใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที ก็สามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าทดแทนไฟฟ้าจากพลังงานลมหรือแสงอาทิตย์ที่ขาดหายไปได้อย่างทันท่วงที และมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยถูกที่สุดเมื่อเทียบกับระบบกักเก็บพลังงานรูปแบบอื่นๆ
กระบวนการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ
รุกเดินหน้าระบบกักเก็บพลังงาน รองรับพลังงานสีเขียว
ปัจจุบัน กฟผ. มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ 1) เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี กำลังผลิต 360 เมกะวัตต์ 2) เขื่อนภูมิพล จ.ตาก กำลังผลิต 171 เมกะวัตต์ และ 3) โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา กำลังผลิต 1,000 เมกะวัตต์
ตามร่างแผน PDP 2024 กฟผ. มีโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับที่อยู่ระหว่างศึกษาอีก 3 โครงการ กำลังผลิตรวม 2,480 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ กำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี กำลังผลิต 900 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเขื่อนกะทูน จ.นครศรีธรรมราช กำลังผลิต 780 เมกะวัตต์
สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ กฟผ. ต้องเร่งพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ ให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการเมื่อพลังงานหมุนเวียนหายไปจากระบบ ซึ่งการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับจะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้า ในต้นทุนที่เหมาะสม ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียว มุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ของประเทศ.
-------------------------------
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของ กฟผ. ในระดับสากลที่ระดับ 'BBB+'
บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ประกาศผลการทบทวนการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของ กฟผ. ในระดับสากลที่ระดับ “BBB+” ซึ่งเป็นระดับเทียบเท่ากับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย และให้มุมมองความน่าเชื่อถือ (Outlook) ของ กฟผ. อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable)
'โรงไฟฟ้า SMR' ตัวเปลี่ยนเกมพลังงานสะอาด
ภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องและแรงกดดันจากมาตรการทางการค้าถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้ทั่วโลกพยายามดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เดินหน้าเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
“สวนผักทางไฟ” พลิกพื้นที่แห้งแล้งใต้แนวสายส่งไฟฟ้าสู่แหล่งอาหารบ้านโนนยาง
“เคล” ราชินีแห่งผักใบเขียว หรือคะน้าใบหยิก ที่กำลังเตรียมตัดขายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เป็นภาพที่เกษตรกรบ้านโนนยาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
กฟผ. ร่วมส่งความสุขล้นใจแบบรักษ์โลก เป็นของขวัญปีใหม่ 2568 ให้คนไทยฉลองแบบแฮปปี้
กฟผ. เตรียมของขวัญปีใหม่ 2568 ให้คนไทยในรูปแบบ 3 ส่วนลดพิเศษ ส่วนลดผลิตภัณฑ์เบอร์ 5 30,000 สิทธิ์ ส่วนลดค่าชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
กฟผ.หนุน'ยกน้ำหนัก–เรือพาย'ต่อ สร้างพลังใจดันนักกีฬาไทย สู่ระดับโลก
กฟผ. สนับสนุนงบประมาณ สมาคมยกน้ำหนักฯ สมาคมเรือพายฯ ต่อเนื่องอีก 4 ปี มุ่งพัฒนาศักยภาพนักกีฬาไทยสู้ศึกทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อสร้างรอยยิ้ม และความสุขให้คนไทย
อดีตบิ๊กข่าวกรองชง 'พีระพันธุ์' ปลดโซ่ตรวน กฟผ.เชื่อค่าไฟลดมากกว่านี้แน่!
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ