อะไรๆก็ดีขึ้น 'ซูเปอร์โพล' เผยคนเชื่อมั่น 'บิ๊กตู่' สูงขึ้น หลัง 'ธรรมนัส' พ้นพปชร.

22 ม.ค.2565 - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง การเมืองไทย หลัง พลังประชารัฐ ปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,105 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21 – 22 มกราคม 2565

พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.3 เห็นด้วยที่ ร.อ.ธรรมนัส  พรหมเผ่า และพวก ออกไปจากพรรคพลังประชารัฐ ในขณะที่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.0 เชื่อว่า สังคมไทยจะเข้มแข็งมากขึ้น จากการตรวจสอบ คัดกรองคนดีซื่อสัตย์สุจริตปกครองบ้านเมือง

ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.4 ระบุ พรรคร่วมรัฐบาลจะขัดแย้งกันน้อยลง ร้อยละ 70.7 ระบุ การต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง จะลดลง ร้อยละ 70.6 ระบุ ความมั่นคงและความเชื่อมั่นต่อตัวนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สูงขึ้น ร้อยละ 68.8 ระบุ ภายในพรรคพลังประชารัฐ มีเอกภาพมากขึ้น และร้อยละ 67.1 ระบุ เสถียรภาพของรัฐบาลจะดีขึ้น ตามลำดับ

ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.5 ระบุอนาคตการเมืองไทย น่าจะดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 28.5 ระบุ ไม่ดีขึ้น นอกจากนี้ เมื่อถามถึง จุดยืนทางการเมืองของประชาชนหลังการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของพรรคพลังประชารัฐ พบว่า เกินกว่า 1 ใน 3 เล็กน้อยหรือร้อยละ 35.5 สนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 35.4 ขออยู่ตรงกลาง เป็น พลังเงียบ และร้อยละ 29.1 ไม่สนับสนุนรัฐบาล

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ออกไปจากพรรคพลังประชารัฐ นอกจากนี้ยังเชื่อว่าสังคมไทยจะเข้มแข็งมากขึ้น จากการร่วมกันตรวจสอบคัดกรองคนดี ซื่อสัตย์สุจริตปกครองบ้านเมือง โดยมองว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะขัดแย้งกันน้อยลง เพราะที่ผ่านมาเห็นปัญหาความขัดแย้งชัดเจน ในพื้นที่เลือกตั้งซ่อมและรอยร้าวอื่น ๆ

“ประชาชนยังมองด้วยว่า การต่อรองผลประโยชน์ของนักการเมืองจะลดลง จึงขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะใช้ความเป็นตัวตนในโอกาสนี้ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นและความมั่นคงในเสถียรภาพของรัฐบาล กล้าถือธงนำเปลี่ยนแปลงการเมืองใหม่ และเร่งขับเคลื่อนบริหารประเทศ ทำสิ่งที่ถูกต้องและยึดประโยชน์ส่วนรวม ทั้งยังเป็นจังหวะการเปลี่ยนแปลงจากการต่อรองผลประโยชน์ของนักการเมืองบางกลุ่ม พลิกกลับมาเป็นการขับเคลื่อนพลังของความดี ความถูกต้อง ตอบสนองผลประโยชน์สูงสุดกับประชาชนทั้งประเทศ ในแต่ละพื้นที่ชุมชนที่มีรากเหง้าของปัญหาแตกต่างกัน เพื่อทำให้ฐานสนับสนุนรัฐบาล พรรคร่วมหลายพรรคและความเชื่อมั่นในตัวผู้นำเพิ่มสูงขึ้น จากการเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนทุกข์ยากและลดความเครียดของประชาชนที่มีอยู่ในเวลานี้” ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 34): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน

เพจพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ปลื้ม ‘คนคุณภาพประชาธิปัตย์’ ได้เป็นขรก.การเมือง

เฟซบุ๊กเพจ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความว่า ครม. เห็นชอบ แต่งตั้ง “คนคุณภาพประชาธิปัตย์” เป็นข้าราชการการเมือง สังกัด ทส. และ สธ.

'เทพไท' เรียกร้องนิรโทษกรรมทุกกลุ่ม รวมคดี 112 ด้วย

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "พรบ.นิรโทษกรรม:ปรองดองจริงหรือ?" ระบุว่ากรณีนายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.