กรมอุตุฯ ประกาศ ฉ.1 เตือน 13 จว.ใต้ ฝนตกหนักถึงหนักมาก ตั้งแต่ 3-5 ธ.ค.

1 ธ.ค.2567-กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 1 เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3-5 ธันวาคม 2567) ระบุว่า หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างมีแนวโน้มเคลื่อนผ่านอ่าวไทยและภาคใต้ตอนล่างลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล และฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กมธ.ปกครองฯ เชิญ 5 หน่วยงานถกระบบแจ้งเตือน 'กรมอุตุฯ-ปภ.-กสทช.' ปัดกันวุ่น

กมธ.ปกครองฯ เชิญ 5 หน่วยงานถกระบบแจ้งเตือนแผ่นดินไหว กรมอุตุฯ โบ้ย ไม่ได้รับผิดชอบ ‘ปภ.’ รับ ระบบเซลล์บรอดแคสต์ล่าช้า เหตุติดเรื่องงบประมาณ ส่งข้อความแจ้งเตือน ปชช.ช้า เพราะเรื่องเชิงเทคนิค ขณะที่ ‘กสทช.’ รออัปเดต IOS พัฒนา ‘เฟิร์มแวร์’ ชี้ หากทดลองแล้วใช้ได้ ระบบเซลล์บรอดแคสต์อาจจะสมบูรณ์ ก.ค.นี้

อาฟเตอร์ช็อก 'แผ่นดินไหว' เมียนมา ทะลุ 200 ครั้ง!

กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ได้สรุปอาฟเตอร์ช็อก (Aftershocks) แผ่นดินไหวประเทศเมียนมา อัปเดตเวลา 07.00 น. (เวลาประเทศไทย) รวมทั้งสิ้น 200 เหตุการณ์

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 11 เตือน 'พายุฤดูร้อน' ถล่มถึง 1 เม.ย.

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบบางพื้นที่จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2568) ฉบับที่ 11 โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนร้อนถึงร้อนจัด พายุฝนฟ้าคะนองถล่ม 38 จังหวัด ลมแรงลูกเห็บตก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง