ชำแหละ 'ปรากฏกรรมอำพราง' กรณี พปชร.-ก๊วนธรรมนัส

22 ม.ค.2565 - นายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา แสดงความคิดเห็นเรื่อง "ปรากฏกรรมอำพราง" กรณีพรรคพลังประชารัฐมีมติให้ 21 ส.ส.ออกจากสมาชิกพรรค มีรายละเอียดดังนี้

กรณี 21 สส.ถูกขับออกจากพรรคพลังประชารัฐ เมื่อค่ำ 19 มค.นี้

ไม่ใช่เพราะอึดอัดใจ ไม่ใช่เพราะขัดแย้งในแนวทางหรือนโยบายใดๆ

ไม่ใช่เพราะแพ้เลือกตั้งซ่อม สส.ที่ชุมพร สงขลา ไม่ใช่เพราะแชทไลน์หลุด กรณี กลุ่มไลน์ 8 คน ที่คุยกันเรื่อง "เสนอทำโพล แพ้เลือกตั้งเพราะใคร"

แต่ดำเนินการทั้งหมดเป็นการรู้เห็นเป็นใจร่วมกัน

1.จะขับ ส.ส.ออกจากพรรคได้ ต้องใช้เสียงถึง 3 ใน 4 จำนวนมากขนาดนี้ หากไม่สั่งการ จะทำได้ละหรือ

2.ในอดีตการย้ายพรรค มีแต่พรรคขับออกเอง หรือเจ้าตัวขอย้ายเอง เช่น "กลุ่ม 10 มกรา” ที่ย้ายออกจาก ปชป.เมื่อ 48 ปีก่อน

แต่กรณีนี้กลับเป็นคนถูกขับ ร้องขอให้พรรคลงมติขับออก

3.พรรคเศรษฐกิจไทย เป็นพรรคการเมืองแตกแบงค์พันที่เตรียมพร้อมสรรพไว้แล้วเพื่อรองรับ 21 ส.ส.

ปรากฏการณ์นี้จึงไม่ใช่ความเป็นไปตามธรรมชาติ แต่เป็นการบริหารจัดการที่วางไว้ล่วงหน้าเป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งของพวกเดียวกันเอง

ความพยายามระดมเสียง สส. เพื่อคว่ำนายกประยุทธ์ เมื่อต้น ก.ย.64 เป็นรอยร้าวลึกที่ยากจะสมานแผล เกือบหกเดือนผ่านไปนายกยังปล่อยให้ตำแหน่งที่ปลดไปยังว่างอยู่ ไม่ยอมตั้งใครแทน

หากไปตั้งคนที่ถูกปลดก็เท่ากับกลืนเลือดตนเอง โอกาสของคนที่ถูกปลดจะคืนสู่ตำแหน่งรัฐมนตรีในฐานะ พปชร.นั้น จึงเป็นประตูที่ปิดตาย

การย้ายไปอยู่บ้านใหม่ที่เจ้าของบ้านเป็นคนเดียวกันกับบ้านเดิมจึงเป็นทางออก เจ้าของบ้านก็พอใจ คนย้ายมีโอกาสเป็นรมต.ในนามพรรคอื่น นายกจำต้องรับสภาพความเป็นจริง

21 สส.ของพรรคเศรษฐกิจใหม่ จึงมีอำนาจต่อรอง อย่างน้อยมีตำแหน่ง 2 รมต.รออยู่

หาก 21 เสียงขาดหายไป จะทำให้เสียงฝั่งรัฐบาลเจียนอยู่เจียนไป เพราะองค์ประชุมครึ่งหนึ่งคือ 237 คน ถ้า 21 เสียงไปบวกฝ่ายค้าน 208 เสียง จะเป็น 229 เสียง แปลว่ารัฐบาลมีเสียงเข้าประชุมประเภท ห้ามขาด ห้ามลา ห้ามป่วย ห้ามเข้าห้องน้ำ เกินครึ่งคือ 237-229 คือ 8 เสียงเท่านั้น

21 เสียงนี้จึงสามารถออกฤทธิ์เมื่อไรขึ้นมาก็ได้ จึงเป็นอำนาจต่อรองสำคัญยิ่งจะให้หรือไม่ให้เป็นรัฐมนตรี

ถ้าให้เป็น ก็ยกมือหนุนกันไป ถ้าไม่ให้เป็นก็พร้อมจะอาละวาด นำไปสู่การล้มกระดาน ยุบสภาเลือกตั้งใหม่

แต่ พรบ.ประกอบ รธน.คือ กม.เลือกตั้ง และ กม.พรรคการเมือง ยังไม่เข้าสภาต้องรอเวลาอีก 3-6 เดือนกว่าจะผ่านสภาได้ ถ้ายุบสภาช่วงนี้ก็ต้องไปใช้กติกาตามกฏหมายเก่า คือใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว

รัฐบาล จะปรับครม. จะลากถูลู่ถูกังอยู่ไปจนครบวาระ จะยุบสภา หรือจะรอ พรป.รธน.ผ่านสภาแล้วค่อยยุบสภา แต่ไม่ว่าวิธีไหน รัฐบาลเจ็บตัวทั้งนั้น โ

ดยเฉพาะนายกที่รับแรงเสียดทานกระหน่ำจากทุกทิศทางหนักหนาสาหัสกว่าครั้งใดๆที่ผ่านมา นายกจะผ่าทางตันอย่างไรให้ลงตัว เป็นปัญหาที่รออยู่อย่างลุ้นระทึก

แต่ใช่หรือไม่ว่า ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง แต่เป็นปรากฏกรรมอำพราง ที่รอบล้อมสิ่งที่เรียกว่า "ผลประโยชน์" เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นที่นอกเหนือไปจากนี้.

ประสาร มฤคพิทักษ์

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 34): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน

เพจพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ปลื้ม ‘คนคุณภาพประชาธิปัตย์’ ได้เป็นขรก.การเมือง

เฟซบุ๊กเพจ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความว่า ครม. เห็นชอบ แต่งตั้ง “คนคุณภาพประชาธิปัตย์” เป็นข้าราชการการเมือง สังกัด ทส. และ สธ.

'เทพไท' เรียกร้องนิรโทษกรรมทุกกลุ่ม รวมคดี 112 ด้วย

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "พรบ.นิรโทษกรรม:ปรองดองจริงหรือ?" ระบุว่ากรณีนายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.