ผู้ร้องคดีล้มล้างฯ ชี้ความเห็นอัยการสูงสุด เข้าทาง ยิ่งตอกย้ำ ยื่นตรงศาลรธน. ทำถูกต้อง เชื่อไม่มีผลลงมติ 9 ตุลาการฯ กางราชกิจจาฯ หน้า 22 คดีพรรคก้าวไกล กำหนดบรรทัดฐานไว้แล้ว ศาลมีหน้าที่และอำนาจต้องรับเรื่องคดีล้มล้างฯ ไว้ตรวจสอบ ฟันธง ศุกร์นี้ ทักษิณ-พท. โคม่า ศาลรับชัวร์
19 พ.ย.2567 - จากกรณีที่มีข่าวว่านายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ อัยการสูงสุด ได้ส่งหนังสือความเห็นถึงศาลรธน.ในคำร้องคดีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ร้องว่า นายทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้องที่หนึ่งและพรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่สอง มีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองฯ จึงขอให้ศาลรธน.มีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้งสองหยุดพฤติการณ์ดังกล่าว
โดยมีรายงานว่า อัยการสูงสุดเสนอความเห็นประกอบเอกสารบันทึกการให้ถ้อยคำของผู้ร้องและผู้ถูกร้องที่ส่งถึงสำนักงานศาลรธน. ว่า พิจารณาแล้ว ผู้ถูกร้องทั้งสอง ไม่มีพฤติการณ์ฯ (ล้มล้างการปกครองฯ) ตามที่ถูกร้องแต่อย่างใด
ด้านนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ผู้ร้องในคดีดังกล่าว กล่าวถึงเรื่องนี้โดยชี้ไว้ 4 ประเด็นดังนี้ว่า เป็นที่น่าสงสัยว่า ทำไมถึงเพิ่งมีข่าวออกมาในช่วงนี้ที่ใกล้วันที่จะมีการประชุมตุลาการศาลรธน.เพื่อลงมติว่าจะรับหรือไม่คำร้องคดีดังกล่าวไว้วินิจฉัยในการประชุมนัดพิเศษวันศุกร์ที่ 22 พ.ย. ที่ตามข่าวว่าเลื่อนมาจากวันพุธนี้ 20 พ.ย. ทั้งที่สัปดาห์ที่แล้ว มีข่าวว่า อัยการสูงสุด ได้ส่งเอกสารข้อมูลต่างๆ ในคดีดังกล่าวไปที่สำนักงานศาลรธน. หมดแล้ว แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดว่า อัยการสูงสุดได้ทำความเห็นในฐานะอัยการสูงสุดประกอบส่งถึงศาลรธน.หรือไม่ แต่กลับมีข่าวออกมาในช่วงใกล้วันประชุมตุลาการศาลรธน.ว่าอัยการสูงสุดมีความเห็นดังกล่าว ถือเป็นประเด็นที่น่าสงสัย
นายธีรยุทธกล่าวต่อไปว่า ประเด็นที่สอง ส่วนความเห็นของอัยการสูงสุด ที่เห็นว่า ผู้ถูกร้อง(นายทักษิณ ชินวัตร-พรรคเพื่อไทย) ไม่ได้มีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองฯ จะมีผลต่อการพิจารณาของตุลาการศาลรธน.หรือไม่นั้น เรื่องนี้ต้องไปดูมาตรา 49 ของรธน.ที่บัญญัติว่า หากอัยการสูงสุดไม่รับดำเนินการ หากมีผู้ไปยื่นคำร้องว่ามีการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองฯ หรือครบกำหนด 15 วันไปแล้ว หลังยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุด หากอัยการสูงสุดไม่ดำเนินการใดๆ ก็ให้สิทธิผู้ร้องไปร้องตรงต่อศาลรธน.ได้ ดังนั้นการที่อัยการสูงสุดมีความเห็นไม่ดำเนินการใดกับผู้ถูกร้อง จึงเข้าองค์ประกอบของมาตรา 49ในส่วนแรกที่ว่า หากอัยการสูงสุดไม่ดำเนินการก็ให้สิทธิ์กับผู้ร้อง ไปร้องตรงต่อศาลรธน.ได้
นายธีรยุทธกล่าวต่อไปว่า ประเด็นที่สาม แล้วคำร้องของผู้ร้อง มีหลักฐานเพียงพอที่ศาลรธน.จะรับคำร้องไว้พิจารณาหรือไม่ ก็เนื่องจากว่าในวันที่ 22 พ.ย.ตามข่าวที่ออกมา จะเป็นการประชุมตุลาการศาลรธน.แค่เพียงว่าจะรับหรือไม่รับคำร้อง เรื่องนี้ ตามขั้นตอนกระบวนการพิจารณาคดีของศาลรธน. ภาษากฎหมายเรียกว่า ชั้นตรวจรับคำร้อง ซึ่งมีกรณีที่ศาลรธน.ตรวจแค่เพียงว่า ผู้ร้อง เป็นประชาชน และมิสิทธิ์ร้องต่อศาลรธน.หรือไม่ และเนื้อหาในคำร้องมีความชัดเจน ไม่คลุมเครือและมีพยานหลักฐาน มีพยานเอกสาร เพียงพอที่ศาลจะรับไว้พิจารณาหรือไม่ ในชั้นนี้ ศาลจะตรวจเพียงเท่านี้ ข้อสังเกตก็คือว่า เดิมเราได้ยินข่าวว่า คณะทำงานของอัยการสูงสุด มีความเห็นว่า คำร้องของผมที่ยื่นต่ออัยการสูงสุด ไม่มีมูลเพียงพอ จึงเห็นควรยุติ และเสนอความเห็นไปยังอัยการสูงสุด แต่ปรากฏว่า อัยการสูงสุด มีความเห็นให้ย้อนสำนวนลงมาที่คณะทำงานอัยการให้เรียก ผู้ร้องคือตัวผมกับผู้ถูกร้องมาให้ถ้อยคำเสียก่อน อันหมายถึงว่าในความเห็นเบื้องต้นของอัยการสูงสุดก็คือ คำร้องของผมมีมูล ท่านจึงย้อนสำนวนกลับมายังคณะทำงาน ให้เรียกผู้ร้องกับผู้ถูกร้องมาให้ถ้อยคำเพื่อสอบข้อเท็จจริง
นายธีรยุทธกล่าวอีกว่าในประเด็นเดียวกันนี้ ที่มีการโจมตีว่าคำร้องของตน เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองที่กำลังสูญเสียผลประโยชน์หรือว่ากำลังต่อสู้กับพรรคเพื่อไทย จึงเป็นคำร้องที่มีลักษณะเป็นการกลั่นแกล้งพรรคเพื่อไทย จึงต้องไปดูว่าการที่อัยการสูงสุดมีความเห็นย้อนสำนวนกลับไปที่คณะทำงาน เรียกผู้ร้องกับผู้ถูกร้องมาให้ถ้อยคำเพื่อทำการสอบสวน ความเห็นของอัยการสูงสุดในจังหวะนี้ คำร้องของผมไม่มีเหตุอันเป็นการกลั่นแกล้งพรรคผู้ถูกร้อง(เพื่อไทย) และตัวผู้ร้องใช้สิทธิตามมาตรา 49 ในการไปร้องต่อศาลรธน. ผมจึงเชื่อว่าศาลรธน.น่าจะเห็นว่าคำร้องคดีดังกล่าวมีมูล
“หากศาลรธน.เห็นว่าคำร้องของผม ไม่มีมูลเพียงพอ ท่านจะไม่มีมติให้สอบถามไปยังอัยการสูงสุด เพื่อให้ชี้แจงว่าหลังจากผมไปยื่นต่ออัยการสูงสุดก่อนยื่นศาล ทางอัยการสูงสุดได้ดำเนินการอะไรไปบ้างแล้ว การที่ศาลรธน.สอบถามไปยังอัยการสูงสุด เป็นการบ่งชัดมาในระดับต้นว่า ศาลได้ตรวจคำร้องเบื้องต้นมาในระดับหนึ่งแล้วว่ามีเหตุอันควรรับในความเข้าใจผม และเมื่อดูจากที่อัยการสูงสุด มีความเห็นย้อนสำนวนไปที่คณะทำงานอัยการ สองเรื่องนี้เมื่อมาพิจารณาประกบกัน ยืนยันได้ชัดเจนว่าคำร้องที่ยื่นไปมีมูลเพียงพอที่จะรับไว้ตรวจสอบ”นายธีรยุทธกล่าว
นายธีรยุทธกล่าวอีกว่า ประเด็นที่ 4 ในคำวินิจฉัยของศาลรธน.ที่ 3/2567 ในกรณีคำร้องขอให้ศาลรธน.ตรวจสอบการกระทำของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์และพรรคก้าวไกล(คดีล้มล้างการปกครองฯ) ในคำวินิจฉัยดังกล่าว ที่เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา หน้าที่ 22 ศาลรธน.มีคำวินิจฉัยไว้ตอนหนึ่งว่า รธน.มาตรา 49 บัญญัติกำหนดหน้าที่และอำนาจ ให้ศาลรธน.ทำการตรวจสอบการกระทำของบุคคลที่ได้กระทำการอันเป็นการล้มล้างการปกครองฯ โดยรธน.ไม่ได้บัญญัติยกเว้นการกระทำใดไว้เป็นการเฉพาะที่ศาลไม่สามารถที่จะตรวจสอบได้ คำวินิจฉัยหน้าที่ 22 ดังกล่าว หมายถึงว่า รัฐธรรมนูญได้กำหนดหน้าที่ให้กับศาลรธน.ต้องทำการตรวจสอบการกระทำของบุคคลที่มีผู้ร้องว่า มีบุคคลได้กระทำการอันเป็นการล้มล้างการปกครองฯ เมื่อรธน.ที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กำหนดหน้าที่ให้กับศาลแล้ว ศาลรธน.จึงมีหน้าที่ต้องรับคำร้องนั้นไว้เพื่อการตรวจสอบ รธน.ไม่ได้กำหนดให้ศาลใช้ดุลยพินิจที่จะไม่รับคำร้องกรณีที่มีประชาชนไปร้องขอให้ตรวจสอบการกระทำของบุคคลฯที่อาจเข้าข่ายล้มล้างการปกครองฯ
“คำวินิจฉัยในจุดนี้ จึงยืนยันชัดว่ามาตรา 49 กำหนดหน้าที่ให้ศาลรธน.ต้องทำการตรวจสอบ ไม่ได้กำหนดให้มีดุลยพินิจว่าจะรับหรือไม่รับคำร้อง แต่กำหนดหน้าที่ไว้เลย และคำวินิจฉัยดังกล่าวยังระบุอีกว่า รัฐธรรมนูญได้กำหนดหน้าที่และอำนาจ ที่ก็คือนอกจากกำหนดไว้เป็นหน้าที่แล้ว ยังให้อำนาจศาลรธน.ในการตรวจสอบอีกว่าให้ทำการใดบ้าง ศาลจึงบอกอีกว่า ไม่ได้มีการบัญญัติยกเว้นว่าการกระทำใดที่ศาลไม่สามารถทำการตรวจสอบได้ ก็หมายถึงว่าศาลรธน.ถูกกำหนดให้ต้องทำหน้าที่และถูกกำหนดให้มีอำนาจ และถูกกำหนดว่าทุกการกระทำ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเป็นการกระทำใด ศาลรธน.ตรวจสอบได้ทั้งหมด ผมจึงเชื่อมั่นว่า ศาลรธน.จะมีมติรับคำร้องไว้วินิจฉัย”นายธีรยุทธระบุ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พรรคส้มดาวกระจาย สู้ศึกอบจ. ‘พิธา’ ชน ‘ทักษิณ’ ตรง ‘ประตูท่าแพ-ตลาดวโรรส’ จันทร์นี้
พรรคประชาชน(ปชน.)เตรียมตัวส่งผู้สมัครนายก อบจ.ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ในวันที่ 23 ธ.ค. โดยส่งระดับแกนนำและผู้ช่วยหาเสียงที่เป็นผู้นำจิตวิญญาณลงประกบตามพื้นที่ต่างๆ
แก้วสรร : หลักคิดทางกฎหมายเรื่องอำนาจบริหารโทษของราชทัณฑ์
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)
‘แม้ว’ ไล่ทุบ- ‘ภูมิใจไทย’ ไม่หมู ‘แดง-น้ำเงิน’ ทนอยู่แบบตบจูบ
นาทีนี้ศึกฝ่ายค้าน-รัฐบาลยังไม่เดือดเท่ากับศึกรัฐบาลด้วยกันเอง แรงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับการขบเหลี่ยมของพรรคอันดับ 1 และพรรคอันดับ 2
เข้าใจตรงกันนะ 'ณัฐวุฒิ' ยืนยัน 'พรรคเพื่อไทย' อยู่คนละก๊กกับ 'พรรคส้ม'
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กว่าอันนี้ไม่ใช่แล้วครับ ข่าวลงผิดแล้ว
'อิ๊งค์พูด ทักษิณขยายต่อ' ให้ชาวบ้านทำอาชีพขุดดินในคลองไปขาย มีแต่นายทุนได้ประโยชน์
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า พ่อลูกพอกัน เราคงได้ฟังนายทักษิณ ไปแสดงวิสัยทัศน์ ที่อีสานในหลายประเด็น ผมจึงไม่แปลกใจที่ อุ๊งอิ๊งได้เอาสิ่งเหล่านี้มาพูดก่อน
'หัวหน้าอิ๊งค์' เตรียมแถลงข่าวเปิดตัว 6 ผู้สมัครนายก อบจ.
นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงความพร้อมการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหลายพื้นที่ในนามพรรคเพื่อไทย