'ธีระชัย' เผย MOU44 จุดแข็งคือจุดอ่อน มาถึงบัดนี้ไทยย่อมจะไม่ใช้สิทธิที่จะทักท้วงอีกแล้ว

12 พ.ย.2567- นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความหัวข้อ “MOU44 จุดแข็งคือจุดอ่อน” โดยมีรายละเอียดดังนี้

จุดแข็งในการเจรจาเส้นแบ่งเขตในทะเล

ในคลิปข้างล่าง นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศกล่าวว่า จุดแข็งของ MOU44 คือบังคับให้กัมพูชาต้องเข้ามาเจรจาเขตแดนในทะเล

เพราะมีแผนที่แบ่งพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนออกเป็น เหนือละติจูด 11 องศา เป็น พื้นที่ที่ต้องแบ่งเขต ใต้ละติจูด 11 องศาเป็น พื้นที่พัฒนาร่วม

และ MOU44 กำหนดให้ต้องมีข้อตกลงทั้งสองพื้นที่ด้วยกัน เหมือนแฝดอิน-จัน ดังนั้น จึงมีลักษณะ เป็นแผนการเอาผลประโยชน์ปิโตรเลียม ล่อใจกัมพูชาให้เจรจา เปลี่ยนเส้นแบ่งเขตในทะเลจากผิดกติกาสากลให้เป็นถูกกติกาสากล

ตรงนี้เอง ผมเห็นว่า สิ่งที่คิดว่าเป็นจุดแข็ง แท้จริงคือจุดอ่อน เป็นการเล็งผลเลิศ

ผมมีความเห็นว่า เป้าหมายสุดท้ายที่หวังจะให้กัมพูชายกเลิกพระราชกฤษฎีกาที่กำหนดเส้นผ่านเกาะกูด และออกพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่ กำหนดเส้นขึ้นใหม่ให้เป็นไปตามกติกาสากลนั้น ในทางการเมืองกัมพูชา ประชาชนจะรับไม่ได้

ในขณะเดียวกัน ถ้าผลการเจรจาจะทำให้ไทยต้องยอมรับเส้นผ่านเกาะกูด รัฐสภาไทยและประชาชนก็จะรับไม่ได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้น การผูกสองเงื่อนไขไว้ด้วยกันแบบแฝดอิน-จัน จึงทำให้การเจรจาในกรอบ MOU44 ติดหล่มมา 23 ปี และไม่ว่าจะอ้างความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาปิโตรเลียมอย่างไรก็ตาม เงื่อนไขแฝดอิน-จัน จะทำให้การเจรจาไม่มีทางสำเร็จ

**ไทยไม่ได้ยอมรับเส้นของกัมพูชา

ถึงแม้นายนพดลกล่าวว่า MOU44 ไม่ได้เป็นการที่ไทยยอมรับเส้นของกัมพูชา แต่ผมเห็นว่า MOU44 เปิดประเด็นความเสี่ยงไว้ 2 ประการ

หนึ่ง MOU44 มีการตราแผนที่แนบที่กำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมไว้ชัดเจน พร้อมกำหนดให้เจรจาแบ่งเปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ได้มีการให้เจรจาทบทวนหรือแก้ไขขยับเขยื้อนการตีเส้นอาณาเขตพื้นที่พัฒนาร่วม

ในรูป 1 จะเห็นได้ว่า เส้นอาณาเขตพื้นที่พัฒนาร่วมด้านทิศตะวันตก สีแดงหนา จากตำแหน่ง PcK1 ลงไปทิศใต้ถึงตำแหน่ง PcK3 นั้น เกิดขึ้นจากการลากเส้นจากตำแหน่ง P

โดยสามัญสำนึก เป็นอันว่า แผนที่ใน MOU44 ยอมรับเส้นที่เกิดขึ้นจากการลากเส้นจากตำแหน่ง P

ซึ่งหมายความว่า ไทยไม่ปฏิเสธตำแหน่ง P ที่เกิดจากการลากเส้นออกจากตำแหน่ง A ผ่านเกาะกูด ทั้งที่ผิดกติกาสากล

สอง MOU44 ข้อ 5 ระบุว่า “บันทึกความเข้าใจนี้และการดำเนินการทั้งหลายตามบันทึกความเข้าใจนี้จะไม่มีผลกระทบต่อการอ้างสิทธิทางทะเลของแต่ละภาคีผู้ทำสัญญา”

อ่านอีกครั้งหนึ่งก็คือ จะไม่มีผลกระทบต่อการอ้างสิทธิทางทะเลของกัมพูชาที่ลากเส้นผ่านเกาะกูด

อย่างไรก็ดี ในเมื่อมีแผนที่ ที่แสดงเส้นผ่านเกาะกูดที่ผิดกติกาสากลอยู่ใน MOU44 พร้อมไทยยอมรับว่าถึงแม้เจรจาไม่สำเร็จ จะไม่มีผลกระทบต่อเส้นของกัมพูชา

ย่อมสื่อความว่า ถึงแม้ไทยไม่เคยแจ้งทักท้วงว่าเส้นของกัมพูชาผิดกติกาสากล มาถึงบัดนี้ ไทยย่อมจะไม่ใช้สิทธิที่จะทักท้วงอีกแล้ว

**ยกเลิก MOU44

ถ้ายอมรับว่า เงื่อนไขแฝดอิน-จันใน MOU44 ทำให้โอกาสที่การเจรจาในกรอบ MOU44 จะมีความสำเร็จได้นั้น แทบไม่มีเลย ก็ควรคิดยกเลิก MOU44

ถ้าย้อนเวลาไปในอดีต สิ่งที่กระทรวงต่างประเทศควรเสนอรัฐบาลในปี 2544 คือให้ชวนกัมพูชาทำ MOU เพื่อสร้างเขตพื้นที่พัฒนาร่วม เพียงอย่างเดียว โดยในทางเจรจา ก็ให้อาณาเขตเป็นไปตามกติกาสากล

คือให้เป็นบันทึกความเข้าใจ “ว่าด้วยการกำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมไทยและกัมพูชา” ที่ไม่เกี่ยวกับเส้นเขตแดน แทนที่จะเป็นบันทึกความเข้าใจ “ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับช้อนกัน” ดังที่สร้างปัญหาในทั้งสองประเทศอยู่ในปัจจุบัน

เมื่อแยกเรื่องเศรษฐกิจออกต่างหากเด็ดขาดได้แล้วเช่นนี้ โอกาสที่จะทำความเข้าใจให้ประชาชนทั้งสองประเทศยอมรับจะมีสูงกว่า

น่าเสียดาย กระทรวงต่างประเทศไม่ได้แยกเรื่องเศรษฐกิจให้เด็ดขาดออกจากเรื่องกฎหมาย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บิ๊กป้อม' สั่งลูกพรรคให้ทำทุกวิถีทางเพื่อยกเลิก MOU 44

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เดินทางกลับจากพรรคพลังประชารัฐ ภายหลังร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารและ ส.ส.พรรคประจำสัปดาห์

'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' เห็นนักการเมืองเกรงใจกัมพูชาเรื่องเกาะกูด แล้วรู้สึกอเนจอนาถใจ สิ้นไร้ไม้ตอก

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า อเนจอนาถ จะมีใครรู้สึกเหมือนผม

อย่าเป็นกระต่ายตื่นตูม! 'อนุทิน' เผยมีประชาชนกังวล MOU 44 ยกเลิกเที่ยวเกาะกูด

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะ  ได้พบปะกับนักท่องเที่ยว ที่มาท่องเที่ยว เกาะกูด จังหวัดตราด ก่อนเชิญชวนนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาท่องเที่ยวที่เกาะกูด

ดร.เสรี ยกวาทะจัญไรแห่งปี 'เขาเว้นเกาะกูดให้เรา'

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ประโยควาทะอัปรีย์จัญไรแห่งปี "เขาเว้นเกาะกูดให้เรา" แสดงว่าเขาเมตตาเราสินะ เราต้องขอบคุณเขา สำนึกบุญคุณเขาใช่ไหม

'อนุทิน' ลุย 'เกาะกูด' ยันของไทย ไม่มีวันยอมเสียดินแดนให้ใคร

'อนุทิน' ลงพื้นที่เกาะกูด ลั่นรัฐบาลนี้ไม่มีวันยอมเสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว พร้อมขอบคุณก๋งวัย 92 ปี ยืนยันเป็นของไทย 100%

‘ภูมิธรรม’ เหวี่ยง! โดนซักปมเกาะกูด ปัด ‘ทักษิณ-ฮุนเซน’ มีดีลลับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล

รองนายกฯ ปัด ‘ทักษิณ-ฮุนเซน’ มีดีลลับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ลั่นไม่มีบทบาท-หน้าที่ ถามประชาชนส่วนไหนไม่ไว้วางรัฐบาล ชี้ มีแค่ไม่กี่กลุ่ม ซัดพูดจนกระทบคนเกาะกูด มั่นใจไม่กระทบการเจรจา