นักวิชาการฟันฉับ ไม่เกินพ.ย.ศาลรธน.รับคดี’ทักษิณ-พท.’ล้มล้างฯ ไว้วินิจฉัย ชี้ปมหารือจันทร์ส่องหล้า หนักกว่า นักโทษเทวดา เพราะเป็นเรื่องส่วนบุคคล
10 พ.ย.2567-จากกรณีที่วันจันทร์ที่ 11 พ.ย.นี้ ที่จะครบกำหนด 15 วัน ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ทำหนังสือแจ้งอัยการสูงสุด เพื่อขอทราบการดำเนินการกรณีที่ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรธน.ในคดีร้องให้ศาลรธน.วินิจฉัยสั่งการให้ นายทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกการกระทำที่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพอันจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ เพราะก่อนหน้านี้ นายธีรยุทธ เคยไปยื่นคำร้องดังกล่าวต่ออัยการสูงสุดมาก่อนแล้ว แต่อัยการสูงสุดไม่ได้ดำเนินการยื่นต่อศาลรธน.ทำให้นายธีรยุทธมายื่นศาลรธน.ตามช่องทางรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ทำให้ศาลรธน.จึงอยากทราบกระบวนการต่างๆ ก่อนหน้านี้ว่า อัยการสูงสุดได้ดำเนินการอะไรไปแล้วบ้าง
โดยยังไม่มีรายงานออกมาว่า อัยการสูงสุดจะขอขยายเวลาการส่งหนังสือถึงศาลรธน.ออกไปหรือไม่ ซึ่งหลังอัยการสูงสุดส่งหนังสือไปถึงศาลรธน.แล้ว ทางที่ประชุมตุลาการศาลรธน.ก็จะมาพิจารณาลงมติต่อไปว่า จะรับหรือไม่รับคำร้องดังกล่าวไว้วินิจฉัย ที่อาจจะเป็นวันพุธที่ 20 พ.ย. หรือเร็วสุดอาจเป็นพุธที่ 13 พ.ย.นี้
นายคมสัน โพธิ์คง นักวิชาการกฎหมายอิสระ -อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 และอดีตรองคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การที่ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)สั่งให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องที่มีการไปร้องกกต.ว่านายทักษิณ ชินวัตร เข้าครอบงำพรรคเพื่อไทยที่มีการไปยื่นหลายคำร้องแล้วรวมไว้เป็นเรื่องเดียวกัน ตนมองว่า เรื่องนี้มีมูล ซึ่งหากสุดท้าย กกต.ชี้ว่ามีการปล่อยให้ครอบงำจริง กกต.ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรค โดยมองว่า ที่กกต. ดำเนินการดังกล่าว ก็เป็นเพราะคำร้องของนายธีรยุทธ ที่ร้องศาลรัฐธรรมนูญไปหกประเด็น ทำให้เป็นการกระตุ้นให้เร็วขึ้น ที่ตอนนี้ต้องรอว่าศาลรธน.จะรับหรือไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัย
“ที่ผมมองว่ากกต.คงแทงหวยว่าศาลรธน.คงรับไว้พิจารณา ก็เลยกลับมาพิจารณาเรื่องนี้แล้วตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาเรื่องการครอบงำพรรค เพราะหากกกต. ไม่ตั้งกรรมการมาพิจารณาดำเนินการไว้ก่อน อาจจะไปเจอปัญหาแบบเดียวกับตอนทำเรื่องยุบพรรคก้าวไกล ที่พรรคก้าวไกลสู้คดีว่ากกต.ไม่ได้ทำตามมาตรา 92 และ 93 ตามพรบ.พรรคการเมือง ทางกกต.เลยชิงทำตรวจสอบเสียก่อนเพราะคงมองว่า เพราะกว่าจะสอบสวนเสร็จ ทางศาลรธน.ก็คงอาจมีคำวินิจฉัยออกมาพอดี เช่นหากศาลรธน.วินิจฉัยชี้ออกมาสมมุติภายในธันวาคมปีนี้หรือมกราคม 2568 ว่ามีการปล่อยให้มีการครอบงำพรรคจริง กกต.ก็อาศัยคำวินิจฉัยของศาลรธน.มาประกอบกับสำนวนของกกต. ก็ทำให้กระบวนการของกกต.ก็ไม่ต้องขยายเวลาอีกแล้ว ก็ไปต่อได้”
นักวิชาการกฎหมายอิสระผู้นี้กล่าวว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้อัยการสูงสุด ทำคำชี้แจงภายใน15 วัน ก็เพื่อดูเงื่อนไขการฟ้องคดีของนายธีรยุทธ เข้ามาตรา 49 วรรคสามหรือไม่ ซึ่งข้อเท็จจริงนายธีรยุทธได้บอกว่า ได้ไปยื่นอัยการสูงสุดแล้วแต่เลยระยะเวลาแล้ว ไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ ก็เป็นเงื่อนไขที่ไปยื่นศาลรธน.ได้ เพราะฉะนั้นโอกาสที่ศาลรัฐธรรมนูญ จะรับคำร้องของนายธีรยุทธไว้วินิจฉัยมีค่อนข้างเยอะ โดยหลักการเขตอำนาจของศาลรธน. โดยหลังศาลรับเรื่องจากอัยการสูงสุดแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาพิจารณาไม่นานว่าจะรับหรือไม่รับคำร้อง อาจจะแค่หนึ่งสัปดาห์หลังรับหนังสือจากอัยการสูงสุด ก็น่าจะมีมติรับคำร้องภายในไม่เกินสัปดาห์ที่สามของเดือนพ.ย.
สำหรับหกประเด็นตามคำร้องของนายธีรยุทธ ที่ยื่นศาลรธน. คิดว่า ประเด็นที่มีน้ำหนัก น่าจะเป็นประเด็นเรื่องที่แกนนำพรรคการเมืองไปคุยกับนายทักษิณ ชินวัตรเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ส่วนประเด็นแรก ( เรื่องนายทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้องที่ 1ได้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ)เป็นเรื่องส่วนตัวของนายทักษิณ ที่จะไปโดนคดีอาญาหลังจากนี้ ที่ไม่ใช่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง ไม่ได้เกี่ยวกับการยุบพรรค เป็นเรื่องเฉพาะตัวของนายทักษิณ แต่หากพรรคเพื่อไทยจะเกี่ยวข้อง ก็เป็นเรื่องของการที่ไม่ยอมจำคุกทักษิณโดยมีการเข้าครอบงำกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของคณะรัฐมนตรี แต่ประเด็นที่จะนำไปสู่เรื่องที่หนักมากๆ จริง ที่ยังเถียงกันอยู่ เพราะยังไม่มีคำตัดสินจากองค์กรใดชี้มาว่า กรมราชทัณฑ์ ถูกครอบงำจากวิธีคิดของนายทักษิณ หรือเป็นเรื่องของนักการเมืองที่ไปครอบงำเพื่อเอื้อให้กับนายทักษิณ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
“เรื่องนี้ผมยังมองว่ายังไม่หนักเท่าประเด็นที่4 (กรณี ผู้ถูกร้องที่ 1 มีพฤติการณ์เป็นเจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้ครอบงำ และ เป็นผู้สั่งการแทน ผู้ถูกร้องที่ 2 ในการเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่นที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือการเสนอบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1 บ้านจันทร์ส่องหล้า)ที่ครอบงำพรรคการเมือง 5-6 พรรคที่เข้าไปประชุมที่บ้านจันทร์ส่องหล้า เพราะเรื่องนี้ไม่ได้กระทบแค่พรรคเพื่อไทยพรรคการเมืองเดียว แต่กระทบไปถึงพรรคการเมืองอีก 5-6 พรรค”
เมื่อถามว่า อาจมีการอ้างว่า วงประชุมวันดังกล่าว ตามข่าวที่สื่อรายงาน บอกว่าหนุนนายชัยเกษม นิติศิริ เป็นนายกฯ แต่สุดท้าย คนที่ถูกสนับสนุนเป็นนายกฯไม่ใช่นายชัยเกษม แต่เป็นแพทองธาร ชินวัตร นายคมสันกล่าวว่า คงฟังไม่ได้ เพราะเป็นแคนดิเดตนายกฯทั้งคู่(ของพรรคเพื่อไทย) อย่างคุณชัยเกษม ผมคิดว่านายทักษิณก็รู้อยู่แล้วว่าโดยสภาพ ไม่เหมาะที่จะเป็นนายกฯเลย ไม่ใช่คนที่จะเป็นนายกฯได้ ก็เป็นเป้าหลอกที่ออกมาข้างนอก เพื่อให้เห็นว่าเลือกชัยเกษม แต่จริงๆ แล้วเป็นแพทองธาร เพราะเหลืออยู่คนเดียว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'โรม' กล่อม 'ทักษิณ' เข้าแจง กมธ.ความมั่นคง ปมชั้น 14 เชื่อเป็นผลดีต่อรัฐบาล-นายกฯอิ๊งค์
นายรังสิมันต์ โรม รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเชิญนายทักษิณ ชินวัตร
ตรวจสอบ 'นักโทษเทวดา' งวดเข้าไปเต็มที ไม่มีแพทย์แม้แต่คนเดียว ยอมรับว่าเป็นผู้ตรวจรักษา
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ว่า ควานหาตัวไอ้โม่ง ที่ตกลงรับผิดชอบจ่ายค่ารักษาพยาบาลนักโทษเทวดาการตรวจสอบไต่สวน กรณีนักโทษเทวดาชั้น 14 งวดเข้าไปเต็มทีแล้ว
แก้วสรร ออกบทความ จับหมาไปขังได้แล้ว!!!
นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง จับหมาไปขังได้แล้ว!!! ผ่านเว็บไซต์ www.thaipost.net มีเนื้อหาดังนี้
‘จตุพร’ ชี้ ‘ทักษิณ’ ตบหน้าคนไทยฉาดใหญ่ ไม่แยแสสังคม โชว์พูดตลกทำให้โง่ไปกินมาม่า
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ระบุว่า ขณะนี้ประเทศถูกนักโทษคดีทุจริตท้าทายกระบวนการยุติธรรม สั่งการ แทรก
สื่อดังชี้ สิ่งหนึ่งที่ ‘ทักษิณ’ ไม่เคยเปลี่ยน พูดจาดูถูกสติปัญญาคนไทย
จากกรณี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตนักโทษชายคดีคอร์รัปชัน ให้สัมภาษณ์กรณีชั้น 14 จะส่งผลกระทบกับรัฐ
กระทุ้งฝ่ายค้าน อย่าซูเอี๋ยกัน รุกเรื่องชั้น14ให้ถึงตัวใหญ่ ปกป้องอธิปไตย ทวงคืนทรัพย์สมบัติชาติ
นายไทกร พลสุวรรณ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง แกนนำกลุ่มอีสานกู้ชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่าเตือนแกนนำฝ่ายค้าน ระวังล้มละลายด้านความเชื่อถือ