รัฐบาลหนาว! ธีรยุทธยื่นประเด็นเพิ่ม 'อุ๊งอิ๊งค์-เกาะกูด' ปมเพื่อไทยล้มล้างการปกครอง

อัยการเรียก 'ธีรยุทธ' มือร้องคดี 'ทักษิณ-พท.'ล้มล้างการปกครองฯ เข้าให้ถ้อยคำ ปิดห้องลับซักเครียด 3 ชั่วโมง ถามยิบปมนักโทษเทวดาชั้น 14 พบเรียกพ่อนายกฯ มาด้วย แต่โผล่แค่ ชูศักดิ์ ยื่นเพิ่มประเด็นใหม่ 'อุ๊งอิ๊งค์-เกาะกูด' เสี่ยงเซาะกร่อนบ่อนทำลายฯ ลุ้นพุธ 13 พ.ย. ศาลรธน.รับคำร้อง

07 พ.ย.2567 - ความคืบหน้าในคำร้องคดีที่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในคำร้องคดีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยสั่งการให้นายทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกการกระทำที่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพอันจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 49 แห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีการยื่นไป 6 ประเด็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

ต่อมา เมื่อวันที่ 22 ต.ค. ศาลมีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุด ขอทราบการดำเนินการตามคำร้องดังกล่าว ที่ นายธีรยุทธเคยร้องอัยการสูงสุดไปก่อนหน้าที่จะมายื่นศาล โดยให้รวบรวมจัดส่งต่อศาลภายใน15 วัน ซึ่งเมื่อวันพุธที่ 6 พ.ย. นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.) และเป็นตัวแทนพรรคไปให้ถ้อยคำกับอัยการฯ ตามหนังสือเรียก ส่วนนายทักษิณยังไม่มีรายงานว่า ได้ไปให้ถ้อยคำกับอัยการแต่อย่างใด ซึ่งการครบกำหนด 15 วันดังกล่าว จะครบวันจันทร์ที่ 11 พ.ย.นี้

นายธีรยุทธเผยว่า ได้รับหนังสือเรียกจากสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เดินทางไปให้ถ้อยคำและยื่นพยานหลักฐานต่อคณะทำงานของอัยการสูงสุดที่พิจารณาเรื่องดังกล่าว ซึ่งก็ได้ไปพบกับอัยการเมื่อวันพุธที่ 30 ต.ค. ซึ่งที่อัยการเรียกไปคงเกิดจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือถึงอัยการสูงสุด เพื่อขอให้แจ้งถึงการดำเนินการตามคำร้องฯ เพราะก่อนหน้านี้ได้เคยไปยื่นต่ออัยการสูงสุดมาก่อน แต่เมื่อไม่มีความคืบหน้าใดๆ จนครบ 15 วัน จึงได้ไปยื่นตรงต่อศาล รธน.ตามรัฐธรรมนูญ

นายธีรยุทธกล่าวว่า การไปให้ถ้อยคำดังกล่าว ได้ใช้เวลาในการให้ถ้อยคำเป็นเวลาร่วม 3 ชั่วโมง โดยทางคณะทำงานของอัยการสูงสุด ได้ซักถามรายละเอียดในหกประเด็นที่ได้เคยยื่นต่ออัยการสูงสุด และต่อมาไปยื่นต่อศาล รธน. โดยอัยการได้สอบถามว่า มีพยานหลักฐานในคำร้องคดีนี้อย่างไรบ้าง ก็ได้ชี้แจงไปว่า มีการเตรียมการไว้อยู่แล้ว เช่น ประเด็นแรกในคำร้องเรื่องนายทักษิณ นอนชั้น 14 ร.พ.ตำรวจ ก็จะอ้างอิงรายงานผลการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)ที่ทำสรุปรายงานออกมา

นายธีรยุทธ บอกต่อไปว่า สำหรับประเด็นที่สองเรื่อง ผู้ถูกร้องที่ 1 กับกรณี MOU44 และเกาะกูด ก็ได้แจ้งกับอัยการว่า จะมีการขอเพิ่มเติมประเด็นเสนอต่ออัยการสูงสุดในประเด็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 (พรรคเพื่อไทย ) ปรากฏพฤติการณ์ในลักษณะนายทักษิณไปร่วมคิดกับผู้นำประเทศเพื่อนบ้าน(กัมพูชา) โดยอ้างเรื่องพื้นที่ทับซ้อน แล้วต่อมาไปพูดในงานของสื่อมวลชนแห่งหนึ่งในลักษณะการแสดงวิสัยทัศน์ว่า จะมีการรื้อฟื้นเรื่องพื้นที่ทับซ้อน ไทย-กัมพูชา และต่อมาพบว่า นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร นำเรื่องดังกล่าวไปบรรจุเป็นนโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา
นายธีรยุทธ เปิดเผยว่า ประเด็นเพิ่มเติมที่แจ้งกับคณะทำงานของอัยการสูงสุดไปก็คือ การประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยเมื่อปี 2516 ทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ได้ใช้พระราชอำนาจประกาศเขตไหล่ทวีปเป็นอธิปไตยของประเทศไทย ที่บริเวณเกาะกรูด ซึ่งมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการเวลานั้นก็คือ จอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกฯ และปัจจุบัน นายกฯ คือ แพทองธาร จะต้องเป็นผู้ที่รับสนองพระบรมราชโองการฯ ดังกล่าว ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาเขตอธิปไตยแห่งรัฐฯ แต่ตอนนี้ ปรากฏข่าวที่สื่อมวลชนหลายแห่งรายงานว่า เมื่อ 1 ต.ค. 2567 ทางสำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า รัฐบาลไทย กำลังเร่งเจรจาเรื่องการอ้างสิทธิพื้นที่ทับซ้อนกับประเทศกัมพูชา และต่อมามีข่าวออกมาอีกว่า พวกที่ไปเร่งรัดเจรจา คือตัวนายกฯ แพทองธาร ทั้งที่จะต้องเป็นผู้ที่รับสนองพระบรมราชโองการฯ ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาเขตอธิปไตยแห่งรัฐ ฯ แต่ปรากฏว่า ไปเร่งรัดให้มีการเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่ออำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ ผมก็ได้ส่งเอกสารผลคำวินิจฉัยของศาล รธน.ในอดีต ที่เคยวินิจฉัยชัดเจนว่า การทำหนังสือสัญญาใดกับนานาประเทศ หากหนังสือสัญญานั้น มีบทที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่ออธิปไตยแห่งรัฐ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงอำนาจแห่งรัฐ หนังสือสัญญานั้นอยู่ในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

“หมายถึงว่าการใดที่คณะรัฐบาล หรือรัฐมนตรีหรือนายกฯ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ว่าผู้ใดผู้หนึ่งหรือทั้งคณะ จะได้ร่วมกันกระทำการอย่างใด อันอาจส่อไปในทางทำให้ประเทศไทย สูญเสียอำนาจในการปกครองอธิปไตยแห่งรัฐบริเวณเกาะกูด รวมถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ในบริเวณน่านน้ำตรงเกาะกูดก็อาจก้าวล่วงกระทบกระเทือนต่อเบื้องพระยุคลบาทและอาจเป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ได้ การกระทำเช่นนี้ซึ่งยังกระทำการต่อเนื่องอยู่มาโดยตลอด ผมเห็นว่ามันเข้าข่ายเป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลายพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ฯ ก็เลยนำเสนอประเด็นดังกล่าวต่ออัยการสูงสดให้ได้ตรวจสอบด้วย เป็นกรณีเพิ่มเติมจากที่เคยยื่นไว้ รวมถึงจะยื่นรายละเอียดเรื่องนี้เพิ่มเติมไปที่ศาลรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกันจากที่เคยยื่นไว้หกประเด็น ซึ่งตามกระบวนการผู้ร้อง สามารถที่จะเพิ่มเติมคำร้องได้อยู่ ”นายธีรยุทธกล่าว

นายธีรยุทธกล่าวอีกว่า ได้ทราบจากอัยการว่า ได้มีการทำหนังสือถึงผู้ถูกร้องที่ 1 นายทักษิณและพรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่ 2 ให้มาให้ถ้อยคำเช่นกัน ซึ่งตามกระบวนการ อัยการเรียกไปแล้วผู้ถูกร้องจะไม่มาก็ได้ แต่การมาก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้ถูกร้องจะได้รับทราบ ได้ชี้แจงแสดงหลักฐาน ทั้งพยานเอกสาร พยานบุคคล ในชั้นอัยการได้ ที่หากไม่มาก็จะเป็นการเสียสิทธิไป

“ในการให้ถ้อยคำ 3 ชั่วโมง จากการสังเกตพบว่า อัยการให้ความสนใจในประเด็นเรื่อง การที่ผู้ถูกร้องที่ 1 ไปนอนที่ รพ.ตำรวจ ชั้น 14 เพราะอย่างในคำร้องที่ยื่นศาลฯ ได้เขียนไว้ว่า จะมีพยานบุคคลที่จะส่งชื่อในบัญชีพยานต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรืออย่างกรณีที่แกนนำพรรคการเมืองไปคุยกันที่บ้านจันทร์ส่องหล้า เมื่อ 14 สิงหาคม เราก็มีพยานบุคคล ที่จะนำเสนอต่อศาล รธน.ด้วย โดยผมก็ได้บอกกับอัยการว่า พยานบุคคลที่จะเสนอให้มีการเรียกมาให้ถ้อยคำหากศาลรับคำร้อง ก็ทราบจากสื่อว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส เคยออกมาบอกว่า เคยไปพบเยี่ยมเยียนที่รพ.ตำรวจ หรืออย่างในรายงานผลการตรวจสอบของ กสม. ก็ระบุชัดเจนว่า เชื่อว่าไม่ได้ป่วยถึงขั้นวิกฤต และมีการเอื้อประโยชน์กันในกลุ่มเจ้าหน้าที่เพื่อให้ผู้ถูกร้อง ได้พักอาศัยที่ชั้น 14 ผมให้ความเห็นกับอัยการว่า คำว่าได้พักอาศัยที่ รพ.ตำรวจ มันบ่งชัดโดยไม่ต้องตีความเลยว่า มันไม่ใช่การพักรักษาตัว เพราะใช้คำว่า พักอาศัย ไม่ได้ใช้คำว่า พักรักษาตัว จึงตีความหมายได้ว่า ไม่ได้ป่วยขั้นวิกฤตถึงขั้นจะได้รับสิทธิ อัยการก็ยังถามผมอีกว่า แล้วเรื่องชั้น 14 ใครที่ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ ผมก็บอกว่า คือกรมราชทัณฑ์ เป็นตัวหลัก”นายธีรยุทธระบุ

นายธีรยุทธ กล่าวต่อไปว่า ได้ย้ำกับอัยการ หกประเด็นที่ยื่นในคำร้องคดีดังกล่าว จะทิ้งประเด็นใดประเด็นหนึ่งไปไม่ได้ เพราะทั้งหกประเด็นมีความเกาะเกี่ยวร้อยรัดเป็นห่วงโซ่กันอยู่ อย่างประเด็นเรื่องเกาะกูด ที่อยู่ในประเด็นที่สอง ก็จะมีความเชื่อมโยงไปยังประเด็นที่หก คือหลังผู้นำประเทศเพื่อนบ้านไปพบผู้ถูกร้องที่บ้าน ต่อมาก็มีการจะรื้อฟื้นเจรจาตามกรอบ MOU44 แล้วจากนั้น ผู้ถูกร้องที่หนึ่งก็ไปขึ้นเวทีแสดงวิสัยทัศน์ แล้วนายกฯก็เอาเรื่องนี้ไปเขียนไว้เป็นนโยบายรัฐบาล โดยพรรคเพื่อไทย ยินยอมให้ ผู้ถูกร้องที่หนึ่ง ใช้พรรคเพื่อไทยเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิถีทางอื่น ที่ไม่ได้ปรากฏในรธน.แห่งราชอาณาจักรไทย

“วันที่ 11 พ.ย.นี้จะครบกำหนด 15 วันที่ศาลให้อัยการสูงสุด แจ้งการดำเนินการคำร้องคดีดังกล่าวมายังศาลรัฐธรรมนูญก็คาดว่า อัยการคงส่งหนังสือถึงศาลภายในไม่เกินวันจันทร์หน้า แล้ววันพุธที่ 13 พ.ย.คาดการณ์ว่า ศาลคงจะมีการประชุมเพื่อลงมติว่าจะรับคำร้องที่ผมยื่นต่อศาลไว้วินิจฉัยหรือไม่ ซึ่งผมยังคิดว่าศาลท่านจะเมตตารับคำร้องไว้วินิจฉัย”นายธีรยุทธกล่าว

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายพลเสื้อส้ม ชำแหละ 8 ข้อ MOU 44 ไม่ใช่การรับรองอาณาเขตทางทะเลให้กัมพูชา

พลโทพงศกร รอดชมภู หรือ เสธ.โหน่ง แกนนำคณะก้าวหน้า และอดีตรองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เห็นกำลังกระพือข้อมูลว่าเรื่องกรณีผลประโยชน์ในอ่าวไทย ใครคัดค้านเป็นพวกขวาจัดคลั่งชาติ

โถ! ภูมิธรรมจ่อลงพื้นที่เกาะกูด 9 พ.ย. ตอกย้ำเป็นเกาะของไทย

'ภูมิธรรม' ควง 'ปลัด กห.-เสธ.ทร.'ลงเกาะกูดเสาร์นี้ ตรวจเยี่ยมกำลังพล ตอกย้ำเป็นของไทยชัดเจน แจงเอ็มโอยู 44 เป็นกลไกรักษาผลประโยชน์คนไทย

วัดใจ 'อัยการสูงสุด' ชี้ปมทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างปกครอง หลังคณะทำงานชงไม่มีพฤติการณ์

‘ชูศักดิ์’ ดอดเข้าให้ถ้อยคำคดี ทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง ต่ออัยการสูงสุด หลังสั่งสอบเพิ่มจากที่คณะทำงานชงยุติเรื่อง ชี้ไม่มีพฤติการณ์ล้มล้างฯ เรื่องครอบงำพรรคหรือไม่เป็นอำนาจ กกต. เตรียมเเจงต่อศาล รธน.ทันครบกำหนด15 วัน บิ๊กอัยการสั่งกำชับห้ามให้ข่าวคดีนี้กับสื่อ

'ท่านใหม่' ข้องใจ 'กต.' กรณีทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเลบริเวณเกาะกูด

มจ.จุลเจิม ยุคล หรือ "ท่านใหม่" โพสต์เฟซบุ๊กว่า "กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงการอ้างสิทธิทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ยืนยันไทยไม่เสียเกาะกูดแน่นอน ใช้