ชัดเจน ‘อดีตบิ๊ก ศรภ.’ ออกโรงเตือน ‘เรื่องเกาะกูด อย่าเผลอ’

5 พ.ย.2567 - พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “เรื่องเกาะกูด อย่าเผลอนะครับ” โดยมีเนื้อหาดังนี้

เรื่องเกาะกูด ต้องดูให้รอบคอบครับ อย่าออกมาพูดว่าจะเสียการท่องเที่ยว หรือเป็นพวกคลั่งชาติ จึงขอยกเอาเรื่องเขาพระวิหารมาให้ดูก่อน แล้วค่อยเอาเรื่องเกาะกูดตามมาเพื่อให้เปรียบเทียบ ลองทบทวนกันครับ

1.ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 โดยใช้หลักกฎหมายการยอมรับโดยปริยาย (tacit acceptance) เนื่องจากรัฐบาลสยามไม่โต้แย้งแผนที่ซึ่งนักภูมิศาสตร์ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นตามคำขอของรัฐบาลสยามเอง รวมถึงกรณีที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จไปเขาพระวิหารโดยมี ผู้สำเร็จราชการชาวฝรั่งเศสมาต้อนรับ ก็ถูกนำมาอ้างประกอบว่าพระองค์ท่านยอมรับว่าเป็นพื้นที่ของฝรั่งเศสด้วย หลังจากนั้นกัมพูชาก็พยายามขยายพื้นที่โดยส่งชาวกัมพูชาเข้ามาสร้างบ้านและวัด ในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารอีกด้วย  โดยพวกเราก็ใช้การเจรจา แต่เขาก็ดื้อตาใส เข้ามายึดครองเลย ลองคิดดูเรื่องเล็กๆน้อยๆแบบนี้  ยังถูกกัมพูชานำมาอ้างไว้เป็นหลักฐานหมดทุกเรื่อง

2.ปัจจุบัน รัฐบาลไทยเริ่มพูดถึงเรื่องการเจรจาทางเศรษฐกิจ เพื่อแบ่งผลประโยชน์คนละ 50% ในพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างไทย กัมพูชา ซึ่งทุกคนก็ทราบกันดีว่า เริ่มมาจากคุณทักษิณแน่นอน จึงถ่ายทอดมาเป็นนโยบายเร่งด่วนของพรรคเพื่อไทย  แซงหน้าทุกนโยบายและยังได้รับการยืนยันจากรัฐบาลชุดนี้อีกเป็นระยะๆ

3.เมื่อดูเรื่อง เขาพระวิหารแล้ว คงเข้าใจว่าทำไมคนไทยถึงกลัวเรื่องการเสีย “เกาะกูด” กันมากมายขนาดนี้

มาดูลำดับการเคลื่อนไหวของกรณี เกาะกูดนี้ แบบสั้นที่สุด แล้วก็จะเข้าใจกันได้พอสมควรครับ

(1) เมื่อ 1 ก.ค.2515  กัมพูชาได้ประกาศ พระราชกฤษฎีกา กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” โดยลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดแล้วอ้อมตัวเกาะไปด้านล่าง แล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U กลับไปยังทิศตะวันตกของเกาะ จนล้ำเข้าไปในอ่าวไทย ที่กล้าทำแบบนี้ น่าจะเป็นเพราะตอนนั้น  กัมพูชากำลังอยู่ในสงครามแย่งชิงอำนาจของเขมร 3 ฝ่าย  จึงต้องหาเรื่องมาเอาใจคนกัมพูชา (ปัจจุบันเวลาใกล้การเลือกตั้งในกัมพูชาเมื่อไร รัฐบาลกัมพูชา ก็จะหาเรื่องปลุกความรักชาติ ด้วยการด่าไทยทุกครั้งไป)

(2) อีก 2 เดือนต่อมา  กัมพูชาก็ออกพระราชกฤษฏีกา กำหนดแผนที่อีกฉบับหนึ่ง  ลาก “เส้นอาณาเขตทางทะเล“ ของกัมพูชา จากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด เพิ่มมาอีก กฏหมายเหล่านี้  เป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของประเทศไทย“ อย่างชัดเจน เพราะเป็นการออกกฏหมายฝ่ายเดียวโดยไม่ใช้หลักกฏหมายสากลฉบับใดมาอ้างอิงเลย

(3) จากกฏหมายเถื่อนทางทะเลทั้ง 2 ฉบับนี้เอง กัมพูชาจึงไม่ยอมให้การรับรอง อนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฏหมายทะเล ค.ศ. 1982 ( UNCLOS) ทั้งๆที่ทุกชาติในอาเชียน เค้ารับกันหมดแล้ว เพราะกลัวว่าจะเสียพื้นที่ทับซ้อนใกล้เกาะกูดไป

(4) การเจรจาระหว่างไทย กับ กัมพูชา ตาม MOU 44 ที่เกิดขึ้นในยุคคุณทักษิณนั้น ตามลำดับการเจรจาแล้ว ควรจะเน้นเรื่องเขตพื้นที่ทางทะเลของแต่ละประเทศก่อน เพื่อให้รู้ว่าควรจะแบ่งผลประโยชน์กันแบบใด เพราะไทยใช้กฏหมายสากล พื้นที่ทับซ้อนนั้นจึงน่าจะอยู่ในเขตไทยหรือถ้าจะพูดให้ถูก คือ พื้นที่ดังกล่าว ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อน แต่เป็นพื้นที่อธิปไตยของไทยเต็มๆ

แต่กัมพูชาใช้กฏหมายที่เขียนขึ้นตามใจตัวเอง อ้างว่ามีพื้นที่ทับซ้อนด้วย(เยอะเชียว)  ซึ่งรัฐบาลไทยก็ดันไปออกตัวรับเลย แล้วบอกว่า มาแบ่ง ”ผลประโยชน์” กันคนละ 50% นะ

เอาว่าถ้าหยุดตรงนี้ก็พอทน แต่ถ้ากัมพูชาไปฟ้องศาลโลก จะเอาเกาะกูด

..ซึ่งอย่านึกว่าเป็นไปไม่ได้นะ มวยไทย สงกรานต์ ฯลฯ โดนมาหมดแล้ว.. โดยอ้างว่า ได้มีข้อตกลงทำธุรกิจกับไทยแล้ว  ถึงมาแบ่งกันคนละ 50%  ซึ่งไทยก็ไม่เห็นทักท้วงเส้นเขตแดนอะไรเลย ไทยจะทำอย่างไร ขึ้นศาลโลกก็อาจแพ้อีก เพราะอะไรก็รู้กันดี

นอกจากนั้น กัมพูชายังสามารถอ้างข้อตกลงเมื่อตอน คุณทักษิณเป็นนายกฯไปเยือนกัมพูชา(18-19 มิ.ย. 44) แล้วไปทำ Joint Communique (ข้อ 15) หรือแถลงการณ์ร่วมของผู้นำ ระหว่างไทยกับกัมพูชา สรุปได้ว่า ทั้งสองฝ่ายแสดงความพึ่งพอใจในความพยายามต่างๆซึ่งได้ดำเนินการร่วมกันมาและให้การรับรองบันทึกความเข้าใจระหว่าง กัมพูชา กับ ไทย ว่าด้วยพื้นที่ที่ทั้ง 2 ประเทศอ้างสิทธิ์ไหล่ทวีปทับซ้อนกัน.. เจ๊งลูกเดียว ซ้ำรอยเขาพระวิหารอีกครับ

4.ลืมบอกไปครับ ว่าโดยหลักการแล้ว ทั้ง MOU และ Joint Communique ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย  เดี๋ยวจะหาว่าเขียนเอามัน  ดังนั้นยกเลิกได้ครับ ไม่ถูกฟ้องหรอกครับ แต่อาจถูกนำไปอ้างเป็นเหตุผลแวดล้อมในศาลโลกได้ดีกว่ากรณี กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสียอีกครับ

ก็ขอให้คนคิดเรื่องนี้ ถ้าคิดดีก็ขอให้เจริญก้าวหน้า แต่ถ้าคิดไม่ดีก็ขอให้เรื่องไม่ดีกลับไปที่ที่ตัวเองชอบนะครับ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บูมเศรษฐกิจ 2 ชาติ ! “อนุทิน” เร่งสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน จับมือกัมพูชา กระตุ้นค้าขายชายแดน-ท่องเที่ยว

วันที่ 21 พย. บริเวณสะพานข้ามคลองตะเคียน ด่านผักกาด จุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะผู้บริหาร อาทิ นายอรรษิษฐ์ สัมพัน์รัตน์

ถึงบางอ้อ ดร.เสรี เผยเหตุ 'กัมพูชา' ยอมตกลง MOU44

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงนาม MOU44 มีหรือจะพูดว่า MOU44 ไม่ดีสำหรับประเทศไทย เขาย่อมพูดว่าเป็นผลดี

'แพทองธาร' หารือทวิภาคี 'สี จิ้นผิง' จีนยันสนับสนุนไทยในเวทีระดับโลกทุกมิติ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อ 15 พ.ย. 2567 เวลา 10.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงลิมา ประเทศเปรู ซึ่งช้ากว่าไทย 12 ชั่วโมง) โรงแรม Delfines Hotel

'ธีระชัย' เผย MOU44 จุดแข็งคือจุดอ่อน มาถึงบัดนี้ไทยย่อมจะไม่ใช้สิทธิที่จะทักท้วงอีกแล้ว

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังปร

'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' เห็นนักการเมืองเกรงใจกัมพูชาเรื่องเกาะกูด แล้วรู้สึกอเนจอนาถใจ สิ้นไร้ไม้ตอก

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า อเนจอนาถ จะมีใครรู้สึกเหมือนผม