5 พ.ย.2567-นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกำหนดเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion Economic Cooperation Program Summit: GMS Summit) ครั้งที่ 8 และการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ครั้งที่ 10 ในวันที่ 6-7 พฤศจิกายน 2567 ณ นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยการประชุมระดับสุดยอดผู้นำ GMS summit ครั้งที่ 8 ครั้งนี้ ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ภายใต้หัวข้อหลัก “มุ่งสู่การเป็นประชาคมที่ดีกว่าเดิมด้วยการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”
โดยมีประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ผู้แทนสภาธุรกิจ GMS ร่วมกับผู้นำ 6 ประเทศ ไทย ลาว กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม และเจ้าภาพจีน(เฉพาะมณฑลยูนนาน และเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง) โดยมี วิสัยทัศน์การพัฒนาเพื่อให้เป็นอนุภูมิภาคที่มีการบูรณาการมากขึ้นโดยมีเป้าหมายความเจริญรุ่งเรือง มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ ให้ประชาชนทุกคนในภูมิภาคผ่านความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ การสร้างความเชื่อมโยง (Connectivity) การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) และการสร้างประชาคม (Community)
นายจิรายุ กล่าวต่อไปว่า นอกจากการประชุม GMS ครั้งที่ 8 แล้ว ยังมีการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ซึ่งเป็นครั้งที่ 10 โดยสปป. ลาว ในฐานะประธานของ ACMECS กำหนดจัดการประชุมครั้งนี้ภายใต้หัวข้อ “มุ่งสู่ความเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อเพื่อการรวมตัวของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” โดยมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนามและเมียนมา โดยมีเป้าหมาย เพื่อทบทวนความคืบหน้าการดำเนินการภายใต้ 3 สาขาหลักของแผนแม่บท ACMECS ปี ค.ศ. 2019-2023 ได้แก่ 1.ความเชื่อมโยงไร้รอยต่อ (Seamless Connectivity) 2.การสอดประสานด้านเศรษฐกิจ (Synchronized Economies) และ 3. การพัฒนาภูมิภาคอย่างยั่งยืนและมีนวัตกรรม (Smart and Sustainable ACMECS) ทั้งนี้ประเทศเมียนมา จะเป็นประธานวาระต่อไปปี 2568 – 2569
นายจิรายุ กล่าวว่า สำหรับการประชุมในครั้งนี้ประเทศไทย ต้องการผลักดันบทบาทในมิติอื่น ๆ เช่น การเป็นผู้ประสานงานกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ACMECS รวมถึงการแก้ปัญหาความท้าทายร่วม โดยเฉพาะประเด็นอาชญากรรมข้ามพรมแดน มลพิษทางอากาศ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สำหรับ ACMECS จัดตั้งขึ้นด้วยการริเริ่มของประเทศไทยเมื่อปี 2546 เป็นกรอบความร่วมมือเดียวที่มีสมาชิกเฉพาะประเทศลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม มีวัตถุประสงค์เพื่อลดช่องว่างทางการพัฒนาในอนุภูมิภาค และสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียน ปัจจุบันดำเนินการตามแผนแม่บท ACMECS ค.ศ. 2019-2023 และประเทศไทยให้ความสำคัญต่อกรอบ ACMECS ในฐานะแกนกลางที่เป็นจุดเชื่อมต่อของกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในอนุภูมิภาค
จากนั้น ในวันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายนนี้ นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะจะเดินทางไปประชุมสุดยอดผู้นำประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปคที่กรุงลิมาประเทศเปรู.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?
ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่
พลิก!สยามผบช.น. สันติไปปส.น้องเสธ.หิคุมไซเบอร์/ประสบการณ์ใหม่‘อิ๊งค์’
"นายกฯ" นั่งหัวโต๊ะ ก.ตร. ลากยาว 4 ชม. ถกแต่งตั้ง 41 นายพลสีกากีระดับรอง
นายกฯอิ๊งค์ แถลงผลงานรัฐบาลรอบ 100 วัน 12 ธ.ค.นี้
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการแถลงผลงานรัฐบาลในรอบ 100 วันจะเป็นช่วงใด ว่า ประมาณเดือน ธ.ค.
ครม.ไร้วาระโต้ง ชื่อยังไม่ถึงคลัง ผวาขัดกฎหมาย
นายกฯ เมินเสียงวิจารณ์ "กิตติรัตน์" นั่ง ปธ.บอร์ด ธปท.
‘อิ๊งค์’ตีปี๊บผลงาน100วัน
“นายกฯ อิ๊งค์” ต่อสายยินดี “ทรัมป์” พร้อมชวนมาเมืองไทย นายกฯ
'อิ๊งค์' นำประชุมใหญ่วิสามัญพรรคเพื่อไทย ขอบคุณ สส.ทำงานหนัก
พรรคเพื่อไทย จัดประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/ 2567 มีน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายสรวงศ์ เทียนทอง รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา