'ธีระชัย' ท้า! ก.ต่างประเทศแจง กัมพูชายอมรับเกาะกูดเป็นของไทยแล้วลากเส้นผ่าทำไม

5 พ.ย.2567- นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความกรณีการแถลงข่าว MOU44 ของรัฐบาลว่ากระทรวงต่างประเทศโปรดตอบคำถามให้ตรงจุด นางสาวแพทองธาร นายกรัฐมนตรี และนางสุพรรณวษา โชติกญาณ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ แถลงเกี่ยวกับ MOU44 ซึ่งซ้ำเดิม โดยมีสองประเด็นหลัก คือ

หนึ่ง ไทยไม่เสียเกาะกูดแน่นอน เพราะกัมพูชายอมรับอยู่แล้วว่าเกาะกูดเป็นของไทย

สอง MOU44 ไม่ทำให้ไทยเสียสิทธิ เพราะการอ้างสิทธิของแต่ละฝ่ายจะยังคงอยู่

ผมขอท้าทายให้กระทรวงต่างประเทศชี้แจงในทุกประเด็นต่อไปนี้ แบบชัดๆ

ข้อ 1) นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศผู้ออกมาสนับสนุน MOU44 นายสุรเกียรติ เสถียรไทย อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศผู้ลงนามใน MOU44 และตัวท่านอธิบดีเอง ทราบหรือไม่ว่า:-

1.1 กฤษฎีกาของกัมพูชาที่ประกาศเส้นไหล่ทวีปผ่านเกาะกูดนั้น ระบุชัดแจ้งว่าอ้างอิงสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ใช่หรือไม่?

1.2 สาเหตุที่กัมพูชาอ้างอิงสนธิสัญญาฯ ก็เพื่อเป็น “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์” ตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ ข้อ 12 ข้อย่อย 1 ใช่หรือไม่?

1.3 แต่ในปี ค.ศ. 1907 ที่ ร.5 ทำสนธิสัญญาฯ นั้น กติกาสากลไม่มีเรื่องไหล่ทวีป ข้อความเกี่ยวกับเกาะกูดและแผนที่สังเขปบรรยายพื้นที่บนบก ไม่เกี่ยวกับพื้นที่ทะเล กัมพูชาจึงบิดเบือนสนธิสัญญาฯ ใช่หรือไม่?

1.4 นอกจากนี้ อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป เป็นคนละฉบับกับ อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ ใช่หรือไม่?

1.5 อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ไม่มีข้อยกเว้นเรื่อง “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์” แม้แต่ข้อเดียว ใช่หรือไม่?

1.6 การที่กัมพูชาอ้างสนธิสัญญาฯ จึงเป็นการปะปนสองอนุสัญญาเข้าด้วยกัน ใช่หรือไม่?

1.7 เส้นไหล่ทวีปที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูด ขัดกับอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป อย่างสิ้นเชิง ใช่หรือไม่?

1.8 ถ้ากัมพูชายอมรับว่าเกาะกูดเป็นของไทยจริง กัมพูชาจะต้องลากเส้นไหล่ทวีปตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป

ข้อ 6 ข้อย่อย 2 ซึ่งจะไม่สามารถเข้ามาแม้แต่ใกล้เกาะกูดได้เลย ใช่หรือไม่?

1.9 กระทรวงต่างประเทศบรรจุเอาเส้นไหล่ทวีปที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูด ทั้งที่รู้ดีอยู่แล้วว่าเส้นนี้ขัดกับ
อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป กลับบรรจุใน MOU44 ซึ่งทำให้ไทยเสี่ยงเรื่องดินแดนและสิทธิประโยชน์ในทะเลโดยไม่จำเป็น ด้วยเหตุผลใด?

ข้อ 2) ไทยเสียเขาพระวิหารเพราะศาลโลกวินิจฉัยว่า กัมพูชาส่งแผนที่ผิดให้กระทรวงฯ ที่แสดงว่าเขาพระวิหารตั้งอยู่ในเขตของกัมพูชา แต่กระทรวงฯ ไม่โต้แย้ง จึงเป็นการยอมรับโดยปริยาย ท่านจำได้หรือไม่?

จากประสบการณ์เขาพระวิหาร การที่กระทรวงฯ ยอมรับเอาเส้นไหล่ทวีปที่ขัดกับอนุสัญญาไหล่ทวีป ไปลงนามร่วมไว้ใน MOU44 จะไม่ทำให้ประชาชนคนไทยกังวลได้อย่างไร?

ผมเองไม่ขัดข้องการเจรจาพัฒนาปิโตรเลียม

แต่ต้องไม่ไปก่อความเสี่ยงต่ออธิปไตยดังที่เป็นอยู่ใน MOU44 จึงเรียกร้องให้ยกเลิก MOU44 โดยพลัน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ช่วยกันแชร์! 'เทพมนตรี' แนะวิธีการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลด้วยการยกเลิกMOU44

นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thepmontri Limpaphayorm หัวข้อ การ

จี้รัฐบาลประท้วงกัมพูชา

"สนธิรัตน์" นำทีมพลังประชารัฐลงพื้นที่ตราด "ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์" ชี้อันตรายมาก แนวสันเขื่อนดินที่กัมพูชาสร้างต่อเติมออกไป หากไม่มีการประท้วงหรือไม่มีข้อคัดค้านใดๆ ก

พปชร. ลงตราด ชวนชาวบ้านในพื้นที่ร่วมคัดค้าน MOU 44

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานร่วมศูนย์นโยบาย และวิชาการ และ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี กรรมการบริหาร พรรคพลังประชารัฐ ได้เดินทางมาเยี่ยมพี่น้องประชาชนในจังหวัดตราด โดยได้รับการประสานงานจากประชาชนในพื้นที่

'มาริษ' เผย 6 ชาติประชุมแก้ปัญหาเมียนมากับเพื่อนบ้าน เป็นไปด้วยดี

นายมาริษ เสงี่ยมพงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงถึงการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างประเทศเมียนมาและประเทศเพื่อนบ้าน 6 ประเทศ (สปป.ลาว จีน อินเดีย บังกลาเทศ เมียนมา และไทย)

'บัวแก้ว' เผยแผ่นดินไหววานูอาตู คนไทยเสียชีวิต 1 เจ็บ 3 เร่งช่วยเหลือชุมชนไทยใกล้ชิด

นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวในวานูอาตูเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 17 ธ.ค. 2567  ตามเวลาท้องถิ่น ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวระดับ 7.3 ห่างจากกรุงพอร์ตวิลา ประมาณ 30 กม. แ