นายกฯ ผนึกพรรคร่วมรัฐบาล เดินหน้าเอ็มโอยู 44 ถามถ้ายกเลิกได้ประโยชน์อะไร ลั่นเกาะกูดไม่อยู่ในข้อตกลง ขอทุกคนสบายใจ เป็นของคนไทย 100% ประโยชน์ประเทศต้องมาก่อน อัดอย่าเอาเรื่องการเมืองมาทำความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสั่นคลอน
4 พ.ย.2567 - เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เรียกแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเข้าหารือ โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย นายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย นายพิชัย ชุนหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศ นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา นายประภัตร โพธสุธน เลขาธิการพรรคชาติไทยพัฒนา(ชทพ.)
นายสุวัน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคชาติพัฒนา นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นาง นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคกล้าธรรม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม และหัวหน้าพรรคประชาชาติ และนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม และเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ เข้าร่วมด้วย
ต่อมาเวลา 15.00 น. น.ส.แพทองธาร แถลงผลการหารือว่า วันนี้มีการประชุมพรรคร่วมฯ ในเรื่องของบันทึกข้อตกลงไทย-กัมพูชา หรือ เอ็มโอยู 44 ได้มีการคุยกันในรายละเอียด วันนี้จะมายืนยันว่าเกาะกูดเป็นของประเทศไทย เป็นมาตั้งนานแล้ว ทางประเทศกัมพูชาก็รับรู้เช่นกัน ทั้งประเทศไทยและกัมพูชารับรู้อยู่แล้วว่าเกาะกูดเป็นของประเทศไทยและตามสนธิสัญญาฝรั่งเศส แน่นอนว่ารัฐบาลนี้จะไม่ยอมเสียพื้นที่ของประเทศไทยแม้แต่ตารางนิ้วเดียวไปให้ใครก็ตาม ซึ่งเรื่องเกาะกูดระหว่างกัมพูชาเองเราไม่เคยมีปัญหา ไม่เคยมีข้อสงสัยด้วย เพราะฉะนั้นอาจจะแค่เกิดความเข้าใจผิดกันของในประเทศไทยเอง ซึ่งมั่นใจได้เลยว่าเกาะกูดเป็นของประเทศไทย ในเรื่องของเอ็มโอยูนั้นยังอยู่ ไม่สามารถยกเลิกได้ ถ้ายกเลลิกนั้นต้องใช้การตกลงระหว่างสองประเทศคือไทยและกัมพูชา ถ้าเรามายกเลิกเองไม่ได้จะถูกฟ้องร้อง เพราะเป็นการตกลงกันระหว่างประเทศ
เมื่อถามว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ในรัศมีทะเลเป็นของเราอย่างไรบ้าง นายกฯ กล่าวว่า เอ็มโอยู 44 ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเกาะกูด และเกาะกูดไม่ได้อยู่ในเอ็มโออยู่แล้ว เรื่องนี้ไม่ได้มีการถกเถียง เพราะเกาะกูดเป็นของไทยไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และหากไปดูการตีเส้นเขาก็ตีเส้น เว้นเกาะกูดไว้ให้เรา ซึ่งการพูดคุยกันในวันนี้ไม่ได้พูดคุยเกี่ยวกับที่ดิน แต่พูดถึงที่ดินในทะเลว่าสัดส่วนใครขีดเส้นอย่างไร เพราะในเอ็มโอยูขีดเส้นไม่เหมือนกัน เนื้อหาในเอ็มโอเป็นข้อตกลงร่วมกันว่าจะมีการเจรจากันระหว่าง 2 ประเทศ ดังนั้นหากจะเกิดอะไรขึ้นจะมีข้อตกลงอะไรเราต้องมีคณะทำงานขึ้นมาพูดคุยกัน ตอนนี้คณะกรรมการของกัมพูชามีอยู่แล้ว แต่ของเราเมื่อเปลี่ยนรัฐบาล ก็ต้องเปลี่ยนคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค (JTC) ไทย-กัมพูชาด้วย และตั้งแต่สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี มีคณะกรรมการนี้เกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างจัดตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวอยู่ ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะนาน เพราะดำเนินการมาประมาณ 1 เดือนแล้ว เมื่อเสร็จแล้วจะได้ศึกษาและพูดคุยกันว่าระหว่าง 2 ประเทศตกลงกันอย่างไร
เมื่อถามว่าการไม่ยกเลิกเอ็มโออยู่ทำให้คนมองว่าเรายอมรับการขีดเส้นของกัมพูชาหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า อันนั้นคือความเข้าใจผิด เราไม่ได้ยอมรับเส้นอะไร เอ็มโอยูดังกล่าวคือการที่เราคิดไม่เหมือนกัน แต่เราต้องแก้ไขปัญหาร่วมกันทั้ง 2 ประเทศ ตั้งแต่ปี 2515 กัมพูชาขีดเส้นมาก่อน ต่อมาปี 2516 ไทยขีดเส้นด้วย แม้จะขีดเหมือนกันแต่ข้อตกลงข้างในไม่เหมือนกัน จึงทำเอ็มโออยู่ขึ้นมา และเปิดการเจรจาให้ทั้ง 2 ประเทศตกลงกันว่าจะเป็นอย่างไร ขอย้ำว่าเกาะกูดไม่เกี่ยวกับการเจรจานี้ ให้คนไทยทุกคนสบายใจได้เลยว่าเราจะไม่เสียเกาะกูดไป และกัมพูชาก็ไม่ได้สนใจเกาะกูดของเราด้วย ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้ เกาะกูดเป็นของไทยเหมือนเดิม
เมื่อถามต่อว่ามีการอ้างสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี มีมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)ยกเลิกเอ็มโอยู นายกฯกล่าวว่า ไม่มี ข้อเท็จจริงเอ็มโอยูปี 2544 ยกเลิกไม่ได้ หากไม่เกิดการตกลงของทั้ง 2 ประเทศ เรื่องนี้ต้องเข้าที่ประชุมรัฐสภา และในปี 2552 ก็ไม่มีเรื่องนี้เข้าในรัฐสภา โดยระหว่างนี้นายกฯได้หันไปด้านข้าง ซึ่งนางนฤมล ในฐานะหัวหน้าพรรคกล้าธรรม ยืนอยู่ โดยนางนฤมลหันมาระบุว่า “ปี 2557 ท่านพล.อ.ประยุทธ์ ยืนยัน” จากนั้นนายกฯ กล่าวต่อว่า ปี 2557 พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันทุกคนเป็นเนื้อเดียวกันว่า มีมติครม. ว่าไม่มีการยกเลิก
เมื่อถามอีกว่ามีเสียงเรียกร้องให้ยกเลิกเอ็มโอยู 44 นายกฯ กล่าวว่า “ต้องถามว่ายกเลิกแล้วได้อะไร เราต้องกลับมาที่เหตุและผล ทุกประเทศคิดไม่เหมือนกันได้ จึงต้องมีเอ็มโอยูว่าถ้าคิดไม่เหมือนกันเราต้องคุยกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศ ซึ่งเรื่องนี้สำคัญมาก การรักษาไว้ซึ่งความสงบระหว่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญ ในเอ็มโอยูดังกล่าวเปิดให้ 2 ประเทศพูดคุยกัน จึงต้องถามว่ายกเลิกแล้วได้อะไร ถ้ายกเลิกฝ่ายเดียวเราโดนฟ้องร้องจากกัมพูชาแน่นอน ซึ่งไม่มีประโยชน์
เมื่อถามว่าการยืนยันวันนี้อาจถูกมองว่ารัฐบาลเดินต่อโดยไม่ฟังเสียงคัดค้าน นายกฯ กล่าวว่า ไม่จริงเลย ที่เรามากันในวันนี้ทุกคนตกลงกันอย่างง่ายดาย และเข้าใจคอนเซปต์เดียวกันว่าอันนี้คือข้อตกลงระหว่างประเทศไม่เกี่ยวกับเสียงคัดค้าน วันนี้ที่ออกมาพูดให้ประชาชนฟัง เพื่อจะอธิบายว่า 1.เอ็มโอยูไม่เกี่ยวกับเกาะกูด ไม่เคยรวมเกาะกูด เกาะกูดเป็นของเรา 2. เอ็มโอยูคือเรื่องระหว่างสองประเทศ หากจะยกเลิกต้องเป็นการตกลงระหว่างประเทศ และ 3. เรายังไม่เสียเปรียบเกี่ยวกับข้อตกลงเกี่ยวกับข้อตกลงเลย ซึ่งนานมาแล้วเป็นการขีดเส้นเอ็มโอยูขึ้นมาเพื่อเปิดโอกาสพื้นที่ให้สองประเทศเจรจาและตกลงร่วมกันในผลประโยชน์แค่นี้
”ฉะนั้นอย่าเอาเรื่องของการเมืองมาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสั่นคลอน เราอยากให้เข้าใจตรงกันตามหลัก“ นายกฯ กล่าว
เมื่อถามย้ำว่ายืนยันว่ารัฐบาลนี้จะเดินหน้าเอ็มโอยูใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า แน่นอนเราจะเดินต่อ ตอนนี้กัมพูชารอเราในเรื่องขอคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค (JTC) ไทย-กัมพูชา ที่จะไปศึกษาและพูดคุย ซึ่งกระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพลังงาน จะมาช่วยกัน เมื่อถามอีกว่ากลัวประเด็นนี้จะบานปลายหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ถ้าทุกคนเข้าใจในหลักการแล้ว ไม่น่าจะบานปลาย เพราะทั้งหมดคือข้อเท็จจริง ไม่มีการคุยอะไรข้างหลัง เพราะที่ตนกล่าวมาคือกรอบเป็นหลักคิด เป็นกฎหมาย เมื่อถามว่าเรื่องนี้จะเป็นเผือกร้อนในมือของนายกฯหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่เลยค่ะ
เมื่อถามต่อว่าข้อกังวลเรื่องพลังงานใต้ทะเลแนวทางของรัฐบาลเป็นอย่างไรนายกฯ กล่าวว่า ต้องคุยกันระหว่างประเทศก่อน และต้องมีการศึกษารายละเอียดว่าจะแบ่งกันอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้ผลประโยชน์ที่จะเกิดกับ 2 ประเทศ ให้ยุติธรรมมากที่สุด เราจึงส่งคณะกรรมการที่รู้รายละเอียดไปศึกษาร่วมกันกับทางกัมพูชาให้ได้คำตอบที่จะสามารถตอบประชาชนได้อย่างชัดเจน เมื่อถามว่าการจัดตั้งคณะกรรมการฝ่ายไทยจะนานหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่น่านาน เพราะมีการเตรียมการจัดตั้งมาสักพักแล้วตั้งแต่เป็นรัฐบาล
เมื่อถามอีกว่าจะใช้ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีกับสมเด็จ ฮุน เซน ประธานวุฒิสภาและอดีตนายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชาในเรื่องนี้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ที่ดีสามารถสร้างคอนเน็คชันที่ดีได้ เหมือนเรามีเพื่อนสนิทเราก็สามารถคุยกันได้ แต่เรื่องของประโยชน์ของประเทศเขาและประเทศเรา เราต้องใช้คณะกรรมการเพื่อไม่ให้มีอคติ ความรู้สึกของฉันของเธอขึ้นมา ในเรื่องของประเทศที่สำคัญเราต้องใช้คณะกรรมการคุยกันเพื่อให้เกิดความรู้จริง รู้ครบ และยุติธรรมด้วย”
เมื่อถามอีกว่ายืนยันรักษาผลประโยชน์ให้กับประเทศไทยอย่างสูงสุดใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า “ดิฉันเป็นคนไทย 100% ประเทศไทยต้องมาก่อนคนไทยต้องมาก่อน รัฐบาลนี้ยืนยันจะรักษาแผ่นดินไทยไว้อย่างเต็มที่ และจะทำให้พี่น้องประชาชนมีความสุขที่สุด นั่นคือสิ่งที่ต้องการ”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กมธ.มั่นคงฯ ขอดูลาดเลาปม MOU44 ให้รอบด้าน
'กมธ.มั่นคง' ขอฟังข้อมูลปม MOU 44 รอบด้าน หลังหลายฝ่ายมีความเห็นต่าง 'โรม' ยันยึดประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก เล็งใช้กลไกสภาเดินหน้าตรวสอบ เหตุเรื่องรื้อรังมานาน
ต้องอ่าน! เทพมนตรีออก 'บทวิเคราะห์ MOU44'
นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา
พลิก!สยามผบช.น. สันติไปปส.น้องเสธ.หิคุมไซเบอร์/ประสบการณ์ใหม่‘อิ๊งค์’
"นายกฯ" นั่งหัวโต๊ะ ก.ตร. ลากยาว 4 ชม. ถกแต่งตั้ง 41 นายพลสีกากีระดับรอง
นายกฯอิ๊งค์ แถลงผลงานรัฐบาลรอบ 100 วัน 12 ธ.ค.นี้
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการแถลงผลงานรัฐบาลในรอบ 100 วันจะเป็นช่วงใด ว่า ประมาณเดือน ธ.ค.
ทร. เตรียมจัดเสวนาเรื่องเส้นเขตแดนทางทะเล ปม MOU 44 หวังสื่อสารให้สังคมเข้าใจ
พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวภายหลังทำพิธีวันสถาปนากองทัพเรือ ครบรอบ 118 ปี เมื่อถามว่า อดีต ผบ.ทร. ได้ฝากถึงกรณี MOU 44
ระดมพลคนคลั่งชาติ ศุกร์ที่ 22 พ.ย.นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล ยื่นแสนชื่อค้าน MOU44
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า ระดมพลคนคลั่งชาติ เราจะปล่อยให้รัฐบาลพูดไม่จริงเรื่องmou44 อีกนานแค่ไหน