สกัดไฟลามทุ่ง! ฮึ่ม ผู้ว่าฯตราดเร่งแจงปมร้อนเกาะกูด

รองปลัดกระทรวงมหาดไทยเตือนผู้ว่าฯตราด,นายอำเภอเกาะกูดทำความเข้าใจกับชาวตราด ปัญหาเขตแดน ก่อนบานปลาย

3 พ.ย.2567 –  ผู้สื่อข่าวรายงาน ความคืบหน้าการเดินทางตรวจราชการที่จังหวัดตราด ของนายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ดูแลงานด้านควรมั่นคง ที่จังหวัดตราด ,อำเภอเกาะช้าง และอำเภอเกาะกูด (ต.เกาะหมาก อ.เกาะกูด ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2567) และได้เข้าประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดตราด รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราดทั้ง 2 คน และนายอำเภอทั้ง 7 อำเภอของจังหวัดตราด ซี่งมีประเด็นที่ติดตามในเรื่องสถานการณ์ชายแดนไทยและกัมพูชาเป็นประเด็นหารือด้วยนั้น 

ในระหว่างการประชุมนายชำนาญวิทย์  กล่าวว่า การประชุมร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาในช่วงสัปดาห์ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดของไทยที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชา ซึ่งตนเองได้เดินทางไปร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย มีการหารือเกี่ยวกับการเปิดจุดผ่านแดนถาวรที่เปิดบริเวณบ้านชำราก ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด ซึ่งเรื่องนี้เรายังไม่สามารถที่จะดำเนินการประชุมได้เนื่องจากทาง ฝั่งกัมพูชาได้เสนอเรื่องนี้มาฝ่ายเดียวโดยที่ยังไม่มีต้นเรื่องในการที่จะนำมาพิจารณา ซึ่งที่ผ่านมามีจังหวัดตราด และจังหวัดโพธิสัตว์ ประเทศกัมพูชา มีการประชุมหารือเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านท่าเส้น แต่ยังมีปัญหาในเรื่องเอ็มโอยู  ซึ่งทางฝั่งกัมพูชามีสิ่งปลูกสร้างล้ำเข้ามาในเขตพื้นที่ไทยซึ่งทางรัฐบาลไทยได้มีการคัดค้านไปแล้ว 

นายชำนาญวิทย์ กล่าวว่า ดังนั้นการเปิดจุดผ่านแดนถาวรที่บ้านท่าเส้นจึงยังไม่สามารถดำเนินการได้ แม้ฝั่งไทยจะได้มีการลงทุนก่อสร้างเส้นทางเข้าไปเชื่อมกับทางกัมพูชาแล้วแต่หากฝั่งกัมพูชายังไม่สามารถแก้ปัญหาสิ่งปลูกสร้างที่ได้ปลูกเข้ามาล้ำในเขตแดนของประเทศไทยเราก็จะไม่มีการดำเนินการเปิดเป็นจุดผ่านแดนถาวรในอนาคตจนกว่าจะมีการดำเนินการตามข้อตกลงให้แล้วเสร็จไป 

“ปัญหาเรื่องนี้ทางจังหวัดตราดจะต้องทำความเข้าใจและสร้างความรับรู้ให้กับพี่น้องประชาชนชาวตราดว่ามีที่มาที่ไปและเหตุผลของการที่รัฐบาลไม่เปิดจุดผ่านแดนถาวรที่บ้านท่าเส้น เพราะอะไร เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงปัญหาและเหตุผลของประเทศ อย่าได้มองแต่ผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะปัญหาเรื่องกรณีเขตแดนอำเภอเกาะกูดที่ปัจจุบันมีการปั่นกระแสผ่านทางสื่อโซเชียลจำนวนมากและสับสนว่าเกาะกูดเป็นของใคร และพื้นที่ทับซ้อนที่เกิดทับซ้อนในทะเลนั้นเป็นอย่างไร และจะมีการแบ่งผลประโยชน์อย่างยุติธรรมอย่างไร โดยเรื่องนี้ไม่ได้มีการหยิบยกพูดคุยกันระหว่างการประชุมร่วมทีทกัมพูชาที่ผ่านมา ผมกังวลว่า หากให้มีการดำเนินการปลุกปั่นกันอยู่อย่างนี้ อาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกหรือทัศนคติเชิงลบของประชาชนชาวไทยให้เกิดขึ้นจนเกิดเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศในที่สุด“นายชำนาญวิทย์ กล่าว 

นายชาญวิทย์ กล่าวว่า ทางผู้ว่าราชการจังหวัดตราด และนายอำเภอเกาะกูดต้องตรวจสอบข้อมูล ว่ามีความจริงมากน้อยแค่ไหน หากปล่อยให้ปั่นกระแสอยู่เช่นนี้ว่า เกาะกูดมันเป็นของไทยหรือเป็นของประเทศใด เดี๋ยวก็วุ่นวาย จนไม่รู้ว่าเรื่องใดจริง เรื่องใดลวง สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ  ต้องเร่งทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนชาวตราดไม่ใช่ให้ฟังกัมพูชาพูดอย่างเดียว หรือฝั่งนักการเมืองหรือองค์กรต่างๆที่ออก ข่าวผ่านสื่อโซเชียลจะปล่อยให้เกิดกระแสอยู่เช่นนี้ มันจะเกิดจะเกิดความรู้สึกไม่ดี และเกิดความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างประเทศลองไปเช็คดูให้ถูกต้อง นายอำเภอเกาะกูดท่านมีหน้าที่ในการไปศึกษาหาข้อมูลมานำเสนอให้ประชาชนชาวเกาะกูดรับทราบและต้องชัดเจนในการทำความเข้าใจ กับสิ่งที่สื่อโซเชียลไปโพสต์นั้นถูกต้องหรือไม่ไปตรวจสอบและทำความเข้าใจในสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย

รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวย้ำอีกว่า วันนี้ท่านจะเห็นหลายกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องของความรักชาติ ปลุกกระแสความคลั่งชาติ  จะเห็นได้จากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีคณะรัฐมนตรีมีมติอนุอนุมัติให้สัญชาติชนกลุ่มน้อย 400,000 กว่าคน ก็มีหลายกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน อันนี้แหละที่จะต้องไปศึกษาว่าอนุมัติอนุมัติอะไรอย่างไร  มีเหตุผลอย่างไ ?เราต้องทำความเข้าใจให้เกิดความชัดเจน ซึ่ง กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้กรมการปกครองไปชี้แจง แล้วว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนที่ไหนและมาอย่างไร ซึ่งก็เหมือนกับเหตุการณ์ที่อำเภอเกาะกูดที่กำลังถูกปลุกและปั่นกระแสโดยอ้างความรักชาติมาเป็นเหตุผล แต่สถานการณ์แบบนี้เปราะบางและอาจจะบานปลายไปส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศชาติได้ 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  กลุ่มอาชีวะปกป้องสถาบัน เตรียมเปิดเวทีสร้างความเข้าใจว่าดินแดนเกาะกูดเป็นของใคร ที่จะในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่หน้าศาลากลางจังหวัดตราด นางสาวสุพิชญ์ณัฏฐา รังเกตน์แก้ว  ตัวแทนกลุ่มอาชีวะปกป้องสถาบันเปิดเผยว่า หลังจากที่กลุ่มอาชีวะปกป้องสถาบันได้ประชาสัมพันธ์ถิจกรรมที่กลุ่มจะแสดงออกไปนั้น มีทั้งผู้สนับสนุนและคัดค้าน เพราะมองว่า เรื่องเกาะกูดเป็นประเด็นอ่อนไหว และอาจจะบานปลาย หรือไปเข้าทางกลุ่มการเมืองกลุ่มเอ็นจีโอที่ไม่หวังดี และใช้สถานการณ์นี้เข้ามาแทรกแซงนั้นอยากให้มองพวกเราว่าเป็นลูกหลานชาวตราดที่ทต้องการออกมาปกป้องแผ่นดินเกิดของเราเท่านั้นไม่ได้มีเจตนาแฝงเป็นอื่น

ขณะที่นายไพรัช สร้อยแสง นายอำเภอเกาะกูด หลังจากได้ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนของชาวตำบลเกาะกูดแล้ว ล่าสุด ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 คำแถลงการณ์ (เพิ่มเติม) ของอำเภอเกาะกูด วันที่ 3 พฤศจิกาขน พ.ศ.2567 โดยระบุว่า อำเภอเกาะกูด ขอขอบคุณพี่น้องประชาชนคนไทย ทุกคนที่มีความรักและความห่วงใยต่อเกาะกูด ขอเชิญชวนพี่น้องคนไทยทุกคนเข้ามาท่องเที่ยวชมความสวยงามตามธรรมชาติ ป้าไม้ น้ำตกทรายที่ขาวสะอาด และทะเลที่สวยงาม และร่วมกันขัดกิจกรรมที่ประโยชน์ มีความสร้างสรรค์การท่องเที่ยวให้กับเกาะกูดต่อไป .

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บูมเศรษฐกิจ 2 ชาติ ! “อนุทิน” เร่งสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน จับมือกัมพูชา กระตุ้นค้าขายชายแดน-ท่องเที่ยว

วันที่ 21 พย. บริเวณสะพานข้ามคลองตะเคียน ด่านผักกาด จุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะผู้บริหาร อาทิ นายอรรษิษฐ์ สัมพัน์รัตน์

กมธ.มั่นคงฯ ขอดูลาดเลาปม MOU44 ให้รอบด้าน

'กมธ.มั่นคง' ขอฟังข้อมูลปม MOU 44 รอบด้าน หลังหลายฝ่ายมีความเห็นต่าง 'โรม' ยันยึดประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก เล็งใช้กลไกสภาเดินหน้าตรวสอบ เหตุเรื่องรื้อรังมานาน

ทร. เตรียมจัดเสวนาเรื่องเส้นเขตแดนทางทะเล ปม MOU 44 หวังสื่อสารให้สังคมเข้าใจ

พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวภายหลังทำพิธีวันสถาปนากองทัพเรือ ครบรอบ 118 ปี เมื่อถามว่า อดีต ผบ.ทร. ได้ฝากถึงกรณี MOU 44

ถึงบางอ้อ ดร.เสรี เผยเหตุ 'กัมพูชา' ยอมตกลง MOU44

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงนาม MOU44 มีหรือจะพูดว่า MOU44 ไม่ดีสำหรับประเทศไทย เขาย่อมพูดว่าเป็นผลดี