'ดุสิตโพล' เปิดดัชนีการเมืองล่าสุด พบผลงาน แพทองธาร พุ่งเด่น ฝ่ายค้านคะแนนตก

3 พ.ย. 2567 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนตุลาคม 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,136 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-30 ตุลาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนตุลาคม 2567 เฉลี่ย 5.01 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2567 ที่ได้ 4.80 คะแนน

ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ผลงานของฝ่ายค้าน เฉลี่ย 5.34 คะแนน (ลดลงจากเดือนกันยายน) ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพล เฉลี่ย 4.58 คะแนน นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 52.81 รองลงมาคือ อนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 26.40 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาท โดดเด่นประจำเดือน คือ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ร้อยละ 37.80 รองลงมา คือ ศิริกัญญา ตันสกุล ร้อยละ 34.36 ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ มาตรการช่วยน้ำท่วม ร้อยละ 40.15 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ ติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 49.76

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลสำรวจล่าสุดดัชนีผลงานของนายกฯ แพทองธารพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นผลจากการทำงานของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการตอบสนองปัญหาของประชาชนอย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางด้วยเงินหมื่น มาตรการบรรเทาภัยน้ำท่วม ลดค่าไฟ หรือการแก้ไขปัญหาเชิงรุกในหลายด้าน ซึ่งทั้งหมดได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้น สวนทางกับคะแนนผลงานของฝ่ายค้านที่ปรับตัวลดลงในรอบ 10 เดือนสะท้อนถึงความไม่แน่นอนในการดำเนินงาน แม้ประชาชนจะชื่นชมการอภิปรายของฝ่ายค้านแต่ก็ยังไม่สามารถดึงความสนใจในวงกว้างได้

อาจารย์วัลลภ ห่างไธสง อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิตอธิบายว่า เดือนตุลาคมของทุกปีมักมีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทยเกิดขึ้นเสมอ ในเดือนตุลาคมปีนี้ ภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางโครงการดิจิทัลวอลเล็ตที่ได้แจกจ่ายให้กับกลุ่มเปราะบางไปแล้วบางส่วน มาตรการการช่วยเหลือเยียวยาให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วมทางภาคเหนือ ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาในสภาวะวิกฤติของชาติได้อย่างทันท่วงที

ส่วนบทบาทของผู้นำฝ่ายค้านก็ยังคงไม่ได้มีความโดดเด่นมากนัก เนื่องจากยังไม่ได้มีการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างเข้มข้นจริงจัง เพราะเป็นรัฐบาลชุดใหม่ที่พึ่งเข้ามา โดยในเดือนนี้สถานการณ์การเมืองได้รับผลกระทบจากคดีใหญ่ที่เป็นกระแสสังคมก็คือ “คดีดิไอคอน” ซึ่งมีการอ้างว่ามีผู้มีอิทธิพลทั้งข้าราชการผู้ใหญ่ และนักการเมืองได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งขณะนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ DSI ก็ได้รับเรื่องนี้ไว้พิจารณาแล้ว เพราะมองว่าน่าจะเป็น “คดีแชร์ลูกโซ่” ประชาชนคนไทยทุกคนคงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า ผลสุดท้ายแล้วคดีนี้จะจบลงอย่างไร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ธนกร' ปลื้มเรตติ้ง 'พีระพันธุ์' พุ่งต่อเนื่อง

'ธนกร' ปลื้ม โพลเผยเรตติ้ง “พีระพันธุ์” พุ่งต่อเนื่อง หลังทุ่มเททำงานจ่อออกกม.ปฏิรูปรื้อลดปลดสร้างด้านพลังงานทั้งระบบ  ชี้ เหตุผลงานรัฐบาลโดดเด่น แก้ปัญหารวดเร็ว ขณะฝ่ายค้านคะแนนลด ต้องปรับปรุง

ดุสิตโพลชี้ คนไทยเกาะติดเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐ หวังสื่อไทยรายงานเป็นกลาง

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2024” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,247 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 22-25 ตุลาคม 2567

ดุสิตโพล ชี้ ประชาชนหวังเห็น ผบ.ตร.คนใหม่เคลียร์ปัญหาความขัดแย้งในองค์กร

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ความคาดหวังต่อการทำงานของ ผบ.ตร.คนใหม่” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,244 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 8-11 ตุลาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่าปัญหาขององค์กรตำรวจ ณ วันนี้

ดุสิตโพล เผยดัชนีการเมืองไทยขยับขึ้น 'อิ๊งค์' บทบาทเด่น

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกันยายน 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,183 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2567

'ดุสิตโพล' เผยคนไทยเกาะติดการเมืองเพิ่มขึ้น กว่า 63% ไม่เชื่อมั่นรัฐบาลเศรษฐา

ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “สถานการณ์การเมืองไทย ณ วันนี้”

'ดุสิตโพล' เผยคนไทยยอมรับยาเสพติดอยู่ใกล้ตัว เหตุ 'ซื้อง่าย-ขายคล่อง'

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ยาเสพติดกับสังคมไทย” ระหว่างวันที่ 23-26 กรกฎาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,128 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยพบเห็นคนใกล้ตัวใช้หรือซื้อยาเสพติด ร้อยละ 47.70