ยุบพรรค’ กับ ‘พรรคร่วมแตก’ อะไรมาก่อนกัน

19 ต.ค.2567 - นายเทพไท เสนพงศ์อดีตสส. นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า  กระแสข่าวที่ กกต.รับคำร้องของบุคคลนิรนาม นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล อดีตแกนนำกลุ่มพิราบชาว 2006 เป็นผู้ยื่นคำร้อง กรณีของนายทักษิณ ชินวัตร เชิญแกนนำ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเดิมไปร่วมประชุมกับนายทักษิณที่บ้านจันทร์ส่องหล้า เพื่อพิจารณาเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรี หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลง

ซึ่งนายทักษิณไม่ใช่สมาชิกพรรค กระทำการครอบงำ ชี้นำ และ 6 พรรคการเมืองยินยอมให้นายทักษิณ ครอบงำ ชี้นำมีมูล

ผมเห็นว่าการที่ กกต.รับคำร้องและพิจารณาว่าคำร้องมีมูล น่าจะมาจากองค์ประกอบของคำร้อง ที่ได้ปรากฏภาพมีแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค เดินทางเข้าไปบ้านจันทร์ส่องหล้า เพื่อพบกับนายทักษิณ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกพรรค แต่ในรายละเอียดของการครอบงำพรรค จะต้องนำสืบต่อไปว่า มีหลักฐานอะไรบ้างที่บ่งบอก หรือชี้ชัดว่านายทักษิณได้สั่งการครอบงำพรรคการเมืองทั้ง 6 พรรคจริง เช่นคลิปเสียง คลิปภาพวิดีโอ พยานบุคคล เพื่อนำมายืนยันว่า นายทักษิณเป็นบุคคลภายนอกมาชี้นำ และครอบงำพรรคการเมือง ซึ่งถ้าปรากฏหลักฐานชัดเช่นนี้ โอกาสที่พรรคการเมืองทั้ง 6 พรรคถูกยุบก็มีสูง

การที่กกต. ตั้งคณะกรรมการสอบสวนคำร้องยุบพรรคเพื่อไทย ก็เป็นขบวนการของกกต. ที่จะต้องเร่งหาข้อสรุปให้ได้ข้อยุติ เพราะในการครอบงำพรรคเพื่อไทยของนายทักษิณ ได้ถูกร้องโดยนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำร้อง และกกต.มีมติว่า คำร้องมีมูล ส่งต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพื่อจะให้ข้อหาการครอบงำพรรค และยุบพรรคเดินไปพร้อมกัน

แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการพิจารณายุบพรรค ต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน เมื่อถึงตอนนั้นก็ไม่แน่ใจว่า คดียุบพรรคเพื่อไทยกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของรัฐบาล อะไรจะมาถึงก่อนกัน ระหว่างนางสาวแพทองธาร ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งจากคำร้องยุบพรรค กับพ้นตำแหน่งจากอุบัติเหตุทางการเมือง หรือความขัดแย้งของพรรคร่วมรัฐบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอาแล้ว 'อิ๊งค์' มีสิทธิ์หลุดเก้าอี้นายกฯ เซ่นตั้ง 'เลี้ยบ' นั่งรองประธานที่ปรึกษาของนายกฯ

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊กว่า “รัดแน่นกว่าเดิม”

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 43)

ก่อนจะเกิดรัฐธรรมนูฉบับที่ 4 หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 เรามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

'วิสุทธิ์' วอน สว. 80-90 เสียง หนุนร่างแก้รธน. ตัดอำนาจวุฒิสภาให้ประเทศเป็นปชต.

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์กรณีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมของพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่น

'วรชัย' พูดเต็มปาก! 'ชวน' ไม่ควรว่าทักษิณ ถ้ายังกวาดบ้านตัวเองไม่สะอาด

นายวรชัย เหมะ อดีตสส.สมุทรปราการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ทำนองว่า ตัวเองเป็นนักการเมืองรุ่นเก่าที่ไม่โกง